Тёмный

การแสดงดนตรีชาติพันธุ์ ลาหู่บาเกียว 

Ong-art Inthaniwet
Подписаться 548
Просмотров 1,8 тыс.
50% 1

การแสดงดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่บาเกียว ที่จะนำมาแสดงในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งนี้ มีแนวคิดที่จะนำเสนอถึง การแสดงความขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และธรรมชาติที่ดลบันาดลให้ฝนตก น้ำดีมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากท่าเต้นที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ โดยมีแม่ครูคอยสอนและฝึกซ้อมให้กับหญิงสาวชาวลาหู่บาเกียวในหมู่บ้านจวบจนปัจจุบัน ซึ่งท่าเต้นรำของหญิงสาวลาหู่บาเกียวเหล่านี้มีลักษณะท่าเต้นที่ร่วมสมัยโดเด่นเป็นอัตลักษณ์เฉพาะสอดคล้องกับจังหวะดนตรีจะคึได้อย่างลงตัว การแสดงครั้งนี้จะสร้างความเข้าใจต่อวัฒนธรรมความเชื่อ ให้กับเยาวชน ผู้สนใจทั่วไปที่จะรับทราบถึง วิถีขนบธรรมเนียมประเพณี และลีลา จังหวะการแสดงของลาหู่บาเกียว ที่มีต่อความเชื่อความศรัทธาในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว
ความเป็นมาของคณะนักดนตรี และนักแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่บาเกียว ชุดนี้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 โดย นางนารี จะแล แม่ครูผู้ฝึกสอนการเต้นทางวัฒนธรรมของชุมชน ที่มีแนวคิดต้องการที่จะรวบรวมพี่น้องชาวลาหู่บาเกียว ในตำบลวาวี เพื่อร่วมกันประกอบกิจกรรมการแสดง และต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมของลาหู่บาเกียว ให้สืบต่อไปยังกลุ่มเยาวชน จึงได้เชิญผู้อาวุโสและผู้มีความสามารถด้านการเต้นรำเข้ามาช่วยคิดท่าเต้น โดยอ้างอิงจากท่าเต้นที่เคยได้เห็นในอดีตมาเป็นแบบอย่าง คณะลาหู่บาเกียว มีสถานที่ฝึกซ้อม เป็นศูนย์กลางประสานงานติดต่อและฝึกซ้อมอยู่ที่ บ้านห้วยมะซาง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ปัจจุบันคณะวงดนตรีและนักแสดงลาหู่บาเกียว ได้รับการเชิญชวนและทาบทามให้อออกแสดงในศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย และใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง
ลาหู่ เป็นชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมหลายด้านทั้งภาษาพูด การแต่งกาย วัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรม ซึ่งในด้านดนตรีนั้นก็สามารถเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นกัน กล่าวคือ ในด้านของการนำเครื่องดนตรีมาใช้ บทเพลง ความเชื่อที่มีต่อเครื่องดนตรี ซึ่งความต่างเหล่านี้เกิดจากความเชื่อในการนับถือศาสนาที่เปลี่ยนหรือต่างกันไป เช่น ความเชื่อในการนำดนตรีเข้ามาประกอบพิธีกรรม ประเพณี ในกลุ่มชาวลาหู่ที่นับถือแนวจิตวิญญาณทางธรรมชาติ หรือสายผีบรรพบุรุษ ก็จะมีการนำเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีกรรม ส่วนในกลุ่มลาหู่ดำซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ก็จะมีการนำเอาดนตรีมาใช้ในเฉพาะงานรื่นเริงปีใหม่เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่ทั้งนี้ประเพณีที่เหมือนกันในทุกกลุ่มลาหู่ คือ ประเพณีการเต้นจะคึ หรืองานประเพณีปีใหม่ลาหู่ จะจัดขึ้นในช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีนของทุกปี ชาวลาหู่ทุกบ้านจะออกมายังลานกิจกรรมของหมู่บ้าน มีการตกแต่งเสาธงอย่างสวยงาม มีการนำเครื่องดนตรีออกมาบรรเลงเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน จึงทำให้ดนตรีในกลุ่มที่ใช้ในงานรื่นเริงของลาหู่มิได้ขาดหายไปจากสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ความเชื่อในประเพณีจะเต้นจะคึ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า งานกินวอ หรือเรียกตามภาษาลาหู่ว่า “เคาะจ่าเว” ซึ่งถือเป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของลาหู่ มีพิธีกรรมสำคัญแบ่งออกเป็นช่วงกลางวัน และกลางคืน โดยช่วงกลางวันจะเป็นพิธีกรรมประเพณีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว การไหว้รดน้ำดำหัว ขอพรผู้อาวุโส หรือผู้ที่ได้รับการนับถือในหมู่บ้าน การทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณของตนเองเพื่อต้อนรับวันใหม่ของปีใหม่ที่จะมาถึง ญาติพี่น้องที่ออกจากหมู่บ้านไปทำงานที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่จะกลับมาพร้อมหน้าพร้อมตากันเพื่อประกอบพิธีดังกล่าว ส่วนภาคกลางคืนนั้น จะเป็นงานสนุกสนานรื่นเริงเต้นรำของคนในชุมชน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่จะออกมาเต้นรำร่วมกัน ณ ลานกิจกรรมของหมู่บ้านอย่างเปิดเผย กิจกรรมส่วนนี้จะเป็นพื้นที่แสดงความสามารถของนักดนตรีหน้าใหม่ หรือหนุ่มน้อยที่อยากจะโชว์ความสามารถในการเต้นรำ และการเชื้อเชิญหญิงสาวที่ตนเองหมายปองไว้ได้มีโอกาสพูดคุย และชวนเต้นรำด้วยกัน ซึ่งจะอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ในชุมชนอย่างถูกต้องตามประเพณี (องอาจ อินทนิเวศ, 2567)

Опубликовано:

 

11 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии    
Далее
Что думаете?
00:54
Просмотров 790 тыс.