Тёмный

ตกปลานิลคลองธรรมชาติ กินไม่พักปั้นเหยื่อไม่ทัน!!!! LGFT 

Let's go Fishing Thailand
Подписаться 141 тыс.
Просмотров 27 тыс.
50% 1

สนใจสั่งซื้อเหยื่อ LINE @LGFT
/ letsgofishingthailando...
โทร 0949244664
..............ร่วมสนับสนุนรายการได้ที่..........................
เลขบัญชี 6102104631 ธนภัทร เสาร์สูงยาง ธนาคาร กสิกรไทย
**** Paypal : paypal.me/LetG...
ติดต่อรายการได้ที่
****email : letsgofishingthailand@gmail.com
พิกัด maps.app.goo.g...
ขอให้สนุกกับการตกปลา...
ขอบคุณที่รับชม กดติดตามด้วยนะคับจะทำคลิปให้ชมบ่อยๆ
#ตกปลาหน้าดิน#ตกปลาสวาย#ตกปลานิล#ตกปลายี่สก#วิธีตกปลาสวาย
ปลาสวาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon hypophthalmus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร
พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยถือเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่กรมประมงของไทยผสมเทียมประสบความสำเร็จเป็นชนิดแรกด้วย[2] ปลาในธรรมชาติมีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติมักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลนำเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อนํ้าภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) ส่วนในสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวถึงที่มาของชื่อปลานี้ว่า นิล มาจากตัวอักษรคันจิตัวหนึ่งในพระนามอะกิฮิโตะ คือตัว 仁 ตัวอักษรนี้ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีอ่านสองแบบคือฮิโตะหรือนิน[2]
และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับจากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ปลายี่สก หรือ ปลายี่สกทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ลักษณะ
เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หิน หรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ ลำตัวปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ฝูงละ 30-40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม
ที่อยู่
พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหังในรัฐปะหังของมาเลเซียอีกด้วย
ชื่อเรียกอื่น
ปลายี่สกมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาเอิน" หรือ "ปลาเอินตาแดง" ในภาษาอีสาน "ปลายี่สกทอง", "ปลาอีสก" หรือ "ปลากะสก" ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า "ปลาเสือ" เป็นต้น
ปลายี่สกเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย จึงถูกจับเพื่อนำมาบริโภคและซื้อขายกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ด้วยการผสมเทียมได้สำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

Опубликовано:

 

15 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 70   
Далее
@HolyBaam ультанул в конце 🧨
00:34
Просмотров 162 тыс.