Тёмный

ประเทศไทย ใช้หัวปลั๊กประเทศเดียวในโลก (TypeO) ใช้ร่วมกับใครก็ไม่ได้ มาดูกันว่าเพราะอะไร ? 

ปลั๊กไทยดอทคอม
Подписаться 7 тыс.
Просмотров 9 тыс.
50% 1

หลายคนทราบแล้ว และหลายคนอาจยังไม่ทราบ ว่าประเทศไทยมีมาตรฐานหัวปลั๊กไฟแบบ มอก. 166-2549 (Type O) ที่เราใช้คนเดียวบนโลก มารู้ไปพร้อมกันว่า อะไรคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราจำเป็นต้องใช้เต้ารับแบบเดียวบนโลก ไปกับมหาชะนี กูรูด้านปลั๊กไฟ และปลั๊กพ่วง สนใจสอบถามปัญหา และสั่งซื้อสินค้า ปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง ติดต่อเราได้ทุกช่องทางที่ www.plugthai.c... และฝากติดตามช่องของเราด้วยนะครับ จะหาสาระความรู้ดี ๆ มาให้อย่างสม่ำเสมอ

Опубликовано:

 

5 окт 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 21   
@banchbchsss7731
@banchbchsss7731 Год назад
แรกเริ่มเดิมทีเราใช้ไฟฟ้าแรงดัน 110V ปลั๊กไฟเลยใช้เป็นขาแบน แบบอเมริกา/ญี่ปุ่น ที่เป็นต้นฉบับไฟระบบ 110V แต่เมื่อราว 60+ ปีก่อน เราเปลี่ยนระบบไฟฟ้าจากแรงดัน 110V เป็น 220V ภาครัฐออกมาช่วยประชาชนดัดแปลงเครื่องใช้ไฟฟ้า 110V ให้ใช้งานกับแรงดัน 220V ได้ โดยที่ยังคงใช้ปลั๊กขาแบนเหมือนเดิม เมื่อเปลี่ยนระบบไฟฟ้าเป็น 220V ปลั๊กขากลมจากยุโรปเริ่มเข้ามา ทำให้ผู้ผลิตปลั๊กตัวเมีย ต้องทำปลั๊กที่รองรับทั้งขากลมและขาแบนมาจนถึงทุกวันนี้ และปลั๊ก มอก. 2549 ของไทย ก็เกิดจากการรวมเอาข้อดีของปลั๊กหลายๆแบบเข้ามาไว้ในตัวเดียว -ขากลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.8 มม. เสียบแน่นไม่หลวม จากปลั๊กเยอรมัน -ฉนวนครึ่งขา ป้องกันอุบัติเหตุ จากปลั๊ก Type C -ตำแหน่งของขา 3 ขา อ้างอิงจากปลั๊ก อเมริกา เพื่อให้รองรับกับปลั๊กตัวเมียในประเทศ
@ball_tee
@ball_tee 17 дней назад
ขอบคุณครับผม เพราะแรงไม่ยอมเปลี่ยนปลั๊ก จึงรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
@pongchukon
@pongchukon 9 дней назад
ขากลมขาแบน สามขาสี่ขาผมไม่ปัญหา แต่เกลียดที่หัวจับมันกลมมากเลยครับ ทำให้ต้องหันหน้าปลั้กดูทุกทีว่าถูกด้านใหม กลัวจะเสียบผิด แถมใหญ่โตกินพื้นที่ปลั้กตัวเมีย เบียดที่ชาร์จมือถือ ชอบหัว Type B สุดเพราะหัวเป็นสามเหลี่ยม จับคือรู้เลยว่าหันด้านถูกรึเปล่า แถมหัวเล็กไม่กินที่ สรุปคือโครตไม่ชอบ แต่กล้ำกลืนฝืนทน
@DangerWrap
@DangerWrap 10 месяцев назад
ส่วนตัวผมว่าบ้านเราไม่จริงจังเรื่องการไปใช้ขากลมแบบเยอรมันกัน ดันอลุ่มอล่วยขาแบนกันนานเกิดนไป จนตอนนี้จะเปลี่ยนไปใช้ขากลมล้วน เลยต้องออกแบบแบบ Backward Compatibility ก็เลยได้ปลั๊กหน้าตาประหลาดแบบนี้ ตอนนี้ผมอยากให้เต้ารับบังคับขากลมด้วย จะได่ไม่มีปัญหาปลั๊กกลมหลมซักที เพราะกลมสองขาเล็กก็เสียบของเยอรมันได้ ทางที่ดี ควรเอาปลั๊กสามขากลมนี่ไปเสนอบางประเทศที่ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐาน จะได้ไม่ต้องมีปลั๊กแบบใหม่อีก
@commentcomment2994
@commentcomment2994 10 месяцев назад
ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีคับ ใช้กันมาได้เป็นสิบๆปี เกิดจะต้องจำเป็นอะไรมาเปลี่ยนเอาตอนนี้ เหมือนหาเรื่องจะขายตัวแปลงมากกว่า ส่วนตัวผมไม่ชอบขากลมแบบมีกราวด์เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันหนา เกะกะ โดยเฉพาะเวลาเอาไปเสียบคู่กับอะแดปเตอร์บางตัวที่กินที่เยอะ ขากลมแบบใหม่ไม่มีทางยัดเข้าไปเสียบร่วมได้ ต้องพ่วงปลั๊กออกมาเสียบแยกต่างหาก เปลืองกว่าเดิมเยอะเลย
@sfalpha
@sfalpha 3 месяца назад
เอาจริงไม่มีการเปลี่ยน แต่ไม่เคยมีการตั้งมาตรฐานเต้าเสียบออกมา ใช้กันสองแบบเป็น Hybrid มาตลอด จนมีการออกมาตรฐานเมื่อประมาณปี 2533 มั้ง แล้วปรับปรุงอีกทีปี 2549 เพราะว่าปัญหาความปลอดภัยจากการใช้งานเต้าเสียบที่ไม่เหมาะสม เปลี่ยนไปใช้แบบ US เลยก็ไม่ได้ เพราะขาแบนใช้กับ 230V ไม่ได้ ขากลมแบบเยอรมันก็ไม่ได้ เพราะ Ground ใช้งานกับเต้ารับ Hybrid ไม่ได้ เลยต้องออกมาตรฐานใหม่ อย่างเป็นทางการมีไทยประเทศเดียวที่ใช้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ ใช้กันหมด ทั้ง ไทย ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา รวมถึง Mexico ด้วย
@pongthepdokyaem8153
@pongthepdokyaem8153 10 месяцев назад
พอเอาปลั๊ก 2 ขามาเสียบ ผมว่ามันก็จะยังคงหลวมโยกได้อยู่ดี มันไม่มีตัวช่วยประคองเหมือน Type F ของยุโรป
@theeraphatsunthornwit6266
@theeraphatsunthornwit6266 17 дней назад
คือเหมือนคีย์บอร์ดน่ะติดกระดุมเม็ดแรกผิดมันก็แก้ยากแลเวถ้าตอนแรกทุกประเทศตกลงกันดีๆมันก็คงจะดี
@วินนาคทรงแก้ว-ญ2ณ
ไทย ชอบไม่เหมือนใครในโลก อยู่แล้ว
@iyakan-lc5cl
@iyakan-lc5cl 6 месяцев назад
แบบขากลมมันชอบหลวมและช๊อตง่าย แบบขาแบบเกาะยึดแน่นกว่า
@sfalpha
@sfalpha 3 месяца назад
ถ้าเต้ารับ และ เสียบ ได้มาตรฐานแบบไหนก็แน่น ปัญหาที่ไม่น่นคือเต้ารับห่วย เพราะถ้าผ่าน มอก. ต้องทดสอบเสียบถอด 1000 ครั้ง ทั้งขากลมและขาแบน ถ้าหลวม ไม่ผ่าน
@สิริชัยแสงกิจอมร
มาถึงก็หักขาดินทิ้ง😂
@nopphajohn
@nopphajohn Год назад
ทำไมสินค้าที่เสี่ยงต่อการไฟดูดมากที่สุดเช่นตู้เย็นถึงไม่บังคับให้เป็นปลั๊ก 3 ขา
@banchbchsss7731
@banchbchsss7731 Год назад
ปรกติเครื่องใช้ไฟฟ้าจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุมมีข้อกำหนดความปลอดภัยต่างกัน และ สมอ. จัดให้ตู้เย็นเป็นผลิตภัณฑ์อยู่ใน 2 กลุ่ม ทำให้ใช้ปลั๊ก 2(แถมสายกราวด์แยกต่างหาก) หรือ 3 ขาก็ได้แล้วแต่ผู้ผลิตจะทำออกมา
@nopphajohn
@nopphajohn Год назад
@@banchbchsss7731 นี่แหละครับที่สงสัยเพราะตู้เย็นต้องใช้มือสัมผัสวันละหลายรอบ แต่ไม่บังคับปลั๊ก 3 ขา ส่วนทีวีแทบไม่ต้องสัมผัสดันบังคับปลั๊ก 3 ขา
@the1stoftime
@the1stoftime 11 месяцев назад
ตู้เย็นมินิบาร์เราได้ปลั๊ก type o แต่ตู้ใหญ่ญี่ปุ่น เป็นขาแบน
@chkkmppm
@chkkmppm 11 месяцев назад
ตอนนี้โดนบังคับแล้ว ของเก่าที่ผลิตแล้วไม่บังคับเปลี่ยน
@jimmysan11
@jimmysan11 Год назад
ทำไมการไฟฟ้าไม่อนุมัติเต้ารับคู่ยี่ห้อช้างที่มีกราวนด์อยู่ด้านบน เหมือนรางเต้ารับที่มีขายทั่วไปผ่านเกณฑ์ทั้งที่ เมื่อใช้เต้ารับแบบพานาฯกับปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบมาตรฐานการไฟฟ้าที่เป็นปลั๊กงอ90องศา แล้วจะไม่สามารถเสียบใช้งานได้พร้อมกัน
@sfalpha
@sfalpha 3 месяца назад
ใช้ได้ครับ เอา มอก. ไปยันได้เลย ยกเว้นถ้าเป็นแบบ Universal รุ่นเก่า ที่รับปลั๊กจีนและ UK ด้วย อันนั้นไม่ได้
@patsava
@patsava Месяц назад
มันมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานจะนำปลั๊กมาเสียบคล่อมระหว่าง 2 เต้ารับครับ ขานึงอยู่เต้าซ้าย อีกขานึงอยู่เต้าขวา ถ้าจะให้ปลอดภัย มันต้องห่างกันอีกหน่อย เพื่อไม่ให้เสียบคล่อมได้
Далее
Мои РОДИТЕЛИ - БОТАНЫ !
31:36
Просмотров 555 тыс.