Тёмный

พระหูยาน เนื้อชินเงิน ทำไมเจอปรอทพรายเงิน แล้ว "ตีเก๊" ได้เลย | EP207 

4 มีนา
Подписаться 86 тыс.
Просмотров 11 тыс.
50% 1

ใช่ครับ!!! พระหูยาน เนื้อชินเงิน เจอปรอท ตีเก๊ได้เลย
พระเพิ่มปั๊มเสร็จ ลืมล้างคราบน้ำมันออก เลยต้องออกทางคราบปรอทจากกรุ แล้วก็เหมือนเดิม เขียนตำราครอบทับเลย จนเจ้ากรมพระทองเหลืองบางคนก็ยังบอกว่าองค์พระจากกรุจะมีปรอทขาว คือ… พระหล่อผ่านความร้อนทั้งหมด ไม่ว่าอย่างไรไม่มีทางเหลือปรอทให้เห็น
พระหูยาน เนื้อชินเงิน
สิ่งที่ไม่ควรจะมีและไม่ควรจะเป็นในพระหูยาน เนื้อชินเงิน
เนื้อพระไม่แห้ง เนื้อพระยังเป็นเนื้อพระ เนื้อยังดูเงาๆ เพราะไม่มีผิวคลุม สนิมปูดของเงินไม่มี แต่ถ้าสนใจจะลองเล่นเป็นดีบุก ไขตะกั่วนมก็ไม่มีไม่ได้ ถ้าเจอพระกลุ่มนี้ต้องเลี่ยง ส่วนตะกั่วดำ ตะกั่วใหม่เป็นพิษ ใช้ติดตัวไม่ดีแน่ๆ พระหูยานเก๊บางคนใช้ตะกั่วดำมาผสมดีบุกแล้วเขียนตำราครอบ เนื้อพระจะเป็นสีเงินอมดำ ไข ๘๐๐ ปี ไม่ต้องหาครับ เนื้อพระยังตึงๆ ฉ่ำๆ ไม่มีการคลุมผิว มีแต่คราบบางๆ แต่งไว้ในร่อง การเปลี่ยนสภาพไม่มี มีแต่สารก่อมะเร็ง ถ้าคนที่สร้างเอง สอนเอง ขายเอง เซ็นต์เอง เสียดายน่าจะเอามะเร็งไว้ใช้เอง ใครกำลังคิดว่าแล้วตะกั่วนมเป็นพิษด้วยมั๊ย ปริมาณที่ใช้ การอยู่คืออยู่ในกรุ อยู่ในดิน การผ่านเวลาคือ ๘๐๐ ปีแล้ว ภูมิปัญญาโบราณไม่ธรรมดานะครับ แต่พระภูมิปัญญาสากลนิยมองค์ครูบางคนน่าเป็นห่วงกว่าเยอะ และที่หนักที่สุด หนักกว่าสารตะกั่วคือ สารปรอทครับ ที่ชอบเรียกให้เท่ๆ ว่าพรายเงิน
พระหูยาน เป็นที่สุดแห่งพระยอดขุนพลเนื้อชินแห่งยุคลพบุรี สำหรับ ๔ มีนา เพราะถ้าพูดถึง ๕ เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน พระหูยานมีความสุดยอดมากในแง่ของการสร้าง เพราะถึงจะเป็นพระเนื้อชินเหมือนกัน แต่พระหูยานส่วนมากที่พบ ต้องบอกว่าสำหรับ ๔ มีนานะครับเป็น ชินเงิน คือมีส่วนผสมของแร่เงินมาก มีแร่ตะกั่วและแร่แฝงน้อยกว่าหรือแทบจะไม่มีเลย เมื่อเทียบกับพระยอดขุนพลเนื้อชินองค์อื่นๆ ทำให้ไม่ค่อยพบชินตะกั่ว หรือชินสนิมแดงก็ตาม จึงประเมินได้ว่ามีการคัดแร่ แยกโลหะและเลือกส่วนผสมมวลสารที่นำมาใช้ในการสร้างเป็นองค์พระอย่างดี ผู้สร้างและพิธีการสร้างน่าจะไม่ใช่ธรรมดา
พระหูยานเป็นพระเครื่องศิลปะลพบุรี จนถึงวันนี้ก็ผ่านอายุมาประมาณ ๘๐๐ ปี พุทธศิลป์เป็นรูปองค์พระประทับในท่าปางมารวิชัย ยอดเกตุเป็นมวยรวบ ใบหน้าใหญ่ มีรายละเอียดของตา จมูก ปาก ช่วงแก้มใหญ่ ใบหูกว้าง และติ่งหูยาวใหญ่จนเป็นเอกลักษณ์ตามชื่อของพระหูยาน ช่วงไหล่กว้าง เอวคอด ลำตัวมีรายละเอียดของริ้วจีวรและสังฆาฏิจรดสะดือ แขนขวาทอดยาว มือข้างขวาประทับบนหัวเข่าเห็นเป็นมือและนิ้วยาวเรียว แขนซ้ายโค้งเข้า มือข้างซ้ายประทับบนหน้าตัก ขาเรียวเล็กทั้ง ๒ ข้างซ้อนกันเป็นท่าสมาธิราบขวาทับซ้าย ประทับบนฐานกลีบบัวเล็บช้าง ฐานตัดตรง ขอบพระตัดชิดกับองค์พระ ด้านหลังเรียบแต่โค้งเป็นแอ่งเล็กน้อย ด้านในเห็นเป็นร่องตารางบางๆ ให้พอเห็นได้ พิมพ์พระหูยานเท่าที่ ๔ มีนาพบ มีหลายพิมพ์ หลายหน้า พุทธศิลป์คล้ายๆกัน คิดว่าน่าจะมีการสร้างในยุคนั้นหลายวาระพอสมควร มีพบหลายขนาดอยู่ องค์เล็กๆ แบบเลี่ยมเป็นจี้ห้อยคอสบายๆ ก็มี
พระหูยานองค์นี้เป็นพระเนื้อชินเงิน มีส่วนผสมหลักคือแร่เงิน ส่วนผสมรองคือตะกั่วนม แร่แฝงไม่มีหรือมีน้อยจนไม่ส่งผล ดังนั้นเราจะดูออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากแร่เงิน และไขที่เกิดจากตะกั่วนมหรือตะกั่วขาวเท่านั้น สำหรับพี่ๆ เพื่อนๆ ที่เพิ่งเริ่มศึกษาหรือสะสม ดูความเป็นแร่เงินและออกไซด์ของเงินนะครับไม่เอาดีบุก และที่สำคัญตะกั่วต้องเป็นตะกั่วขาวหรือตะกั่วนมเท่านั้น พระเนื้อชินเงินรายละเอียดมักจะคมช้ด องค์พระจะบางกว่าเนื้อชินตะกั่ว พระเนื้อชินอายุ ๘๐๐ ปีถ้าเจอตะกั่วดำเมื่อไหร่ ไม่ทันยุคแน่นอนครับ ส่วนจะกรุเก่า กรุใหม่ หรือกรุนิยม สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนสภาพ ๘๐๐ ปีเท่านั้น ปิดหู ดูพระครับ
พระหูยาน เนื้อชินเงิน ทำไมเจอปรอทพรายเงิน แล้วตีเก๊ได้เลย
ธรรมชาติโดยรวมต้องหลากหลาย เนื้อพระต้องแห้ง เหี่ยว กร่อน มีทั้งผด ทั้งไข ทั้งออกไซด์คลุมผิวดูนวลตา มีชั้นผิว ถ้าส่องแล้วตึงมันเงาแบบไม่มีชั้นผิว คัดทิ้งไว้ก่อนครับ ยิ่งพระศิลปะลพบุรี ธรรมชาติอายุ ๘๐๐ ปี ความหลากหลายต้องสูงมาก แค่ในร่องแขนฝั่งเดียวยังต้องมีธรรมชาติหลายลักษณะสะสมตัว ถ้าเราเห็นพระหูยานองค์ไหน เนื้อพระในจุดที่อยู่สูง เรียบๆ ตึงๆ เงาๆ ไม่มีคราบเลย แต่ในร่องมีคราบโปะแต่งไว้ แบบนี้ก็ผิดธรรมชาติ ถือว่าธรรมชาติไม่สอดคล้อง แล้วก็เรื่องกรุเก่า กรุใหม่ พระสร้างในยุคเดียวกัน แค่แตกกรุคนละเวลา องค์ไหนแตกก่อน องค์ไหนแตกทีหลัง เราไม่รู้หรอกครับ
ทำไมเจอปรอทพรายเงิน แล้วตีเก๊ได้เลย

Опубликовано:

 

18 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 50   
Далее
КОСПЛЕЙ НА СЭНДИ ИЗ СПАНЧБОБА
00:57