Тёмный

รัวสามลา & ตระนิมิต 

chaiyampawan
Подписаться 19 тыс.
Просмотров 1,6 тыс.
50% 1

ดร.ธีรเดช กลิ่นจันทร์ เป็น พระอิศวร รวมด้วยนักแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
1.รัวสามลา
คำว่า ลา ในภาษาสังคีต หมายถึง จบ
รัวสามลา จึงหมายถึง รัว 3 จบหรือ กราบ 3 ครั้งแทนการกล่าวคาถา “ธมฺมสวนกาโล อยมฺภทนฺตา” เพลงรัวสามลาเป็นเพลงที่มีมานานเช่นเดียวกับเพลงหน้าพาทย์อื่นๆ ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่งเพลง ด้วยเหตุผลที่เพลงรัวสามลามีความหมายเกี่ยวกับ การกล่าวถึงการเชิญชุมนุมของผู้มีอิทธิฤทธิ์ การแสดงฤทธิ์เดช การชุบศร หรือ อาวุธสำคัญ
จึงมีการเรียกเพลงรัวสามลา อีกชื่อหนึ่งว่า “รัวสำเร็จ”
เพลงรัวสามลา เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง หน้าทับรัว
ใช้ในพิธีการหรือในขนบปฏิบัติของพระพุทธศาสนา
เพลงรัวสามลาจะเป็นเพลงที่บรรเลงต่อจากเพลงเสมอข้ามสมุทร ในชุดโหมโรงกลางวัน และ บรรเลงต่อท้ายเพลงตระหญ้าปากคอกในชุดโหมโรงเย็น
ใช้ในพิธีไหว้ครูโขนละคร ในการอ่านโองการไหว้ครูครอบโขนละคร ปรากฏในตำราไหว้ครูของครูอาคม สายาคม ได้เรียกเพลงกระบองกันเพื่อเชิญครูฝ่ายยักษ์ หรืออสูร และยังเรียกเพลงรัวสามลาต่อจากเพลงกระบองกัน ในความหมายเชิญครูอสูรที่มีอิทธิฤทธิ์ ส่วนในตำราไหว้ครูของท่านอื่นๆ ไม่ปรากฏว่ามีการเรียกเพลงรัวสามลา หากแต่มีการใช้เพลงที่แตกต่างกันในการเชิญครูยักษ์ เช่น นายเกษ ( พระราม ) ครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขนละครในสมัยรัชกาลที่ 4 ใช้เพลงคุกพาทย์ ม.ร.ว.จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ ใช้เพลงเสมอมาร พระยานัฎกานุรักษ์ ใช้เพลงกราวนอก ส่วนนายธีรยุทธ ยวงศรี นายทองสุก ทองหลิม และนายธงไชย โพธยารมย์ ใช้เพลงกราวนอก เป็นต้น
ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ เพลงรัวสามลาใช้ในการแสดงโขนละครประกอบกิริยาและอารมณ์ของตัวละครพระ ยักษ์และลิง ที่กำลังสำแดงเดชหรือแสดงอารมณ์โกรธ ดุดันน่าเกรงขาม เช่น พระรามแผลงศรเพื่อหาที่สร้างเมืองใหม่ให้กับหนุมาน สอนที่แผลงนั้นได้ไปปักลงที่อรัญมรรคา หนุมานได้เหาะตามศรไป พอถึงจึงสำแดงเดชโดยใช้ห่างกวาดไปทั่วจนเป็นเขตเมืองโขนตอนนี้อยู่ในชุดหนุมานครองเมือง
ใช้ในการเทศน์มหาชาติมีการใช้เพลงรัวสามลาเป็นเพลงประจํากัณฑ์จุลพน
2.ตระนิมิต
“ตระ” มาจากคํากริยาในภาษาบาลีว่า “ตร” และในภาษาสันสกฤตว่า “ตรฺ” หมายถึง ข้ามพ้น ชนะอุปสรรค ดังนั้นความหมายของ “เพลงตระ” จึงหมายถึง ทํานองเพลงที่มี
ลักษณะเฉพาะ อันแสดงถึงการข้ามพ้นอุปสรรคและความยากลําบากซึ่งเป็นทํานองที่แสดงให้เห็นถึงความสงบ สุภาพ อ่อนน้อมและตั้งใจมั่น ลักษณะของจังหวะหน้าทับเรียกเฉพาะว่า “หน้าทับตระ” ประกอบด้วยไม้เดินและไม้
ลาที่เรียกว่า “4 ไม้ลา” กล่าวคือ เพลงตระแต่ละเพลงประกอบด้วยไม้เดิน 4 ไม้และต่อด้วยไม้ลา
จังหวะหน้าทับมีความยาวเป็น 4 ประโยคเสมอ ต่อท้ายด้วยเพลงรัวลาเดียว แสดงให้เห็นแบบแผนการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงและการรําหน้าพาทย์ชั้นสูง เสมือนบอกให้ทราบว่ามีการเปลี่ยนเหตุการณ์หรือยุติขั้นตอนนั้นลงและแสดงความสําเร็จที่ใกล้จะสัมฤทธิ์ผลถึงสุดยอด
ตามแบบแผนดั้งเดิม การรําเพลงตระนิมิตจะรําต่อจากเนื้อร้องที่บอกเรื่องราว และเมื่อรําตามเนื้อร้องจบแล้ว จึงจะรําเพลงตระนิมิตและต่อท้ายด้วยเพลงรัว รูปกายที่แปลงแล้วจะออกมาปรากฏตัว หรือถ้าเป็นตอนที่ชุบคนตายให้ฟื้นช่วงท้ายของเพลงรัว ตัวละครที่นอน(ตาย)อยู่นั่น จะเคลื่อนไหวตัวเพื่อสื่อให้รู้ว่าได้ฟื้นคืนชีพขึ้นแล้ว
การรําเพลงตระนิมิต เป็นการรําที่ใช้ในโอกาสต่างๆกันได้แก่ ใช้ในการแปลงกาย ใช้แสดงอิทธิฤทธิ์ ในการชุบคนที่ตายให้ฟื้น หรือ ต้องการทําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ใช้ในการเนรมิตร่างตนเองให้ใหญ่หรือเล็กลงจากร่างเดิม เช่น หนุมานเนรมิตกายให้ใหญ่เท่าขุนเขาสรรพยา
เพื่อค้นหาสรรพยามารักษาพระลักษมณ์ หรือ
วิรุญจําบังเนรมิตร่างให้เล็กเท่าไรเข้าแอบซ่อนในฟองนํ้า
เมื่อคราวหนีหนุมาน และ อาจนําไปใช้ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความสําเร็จในกิจกรรมต่างๆ เช่น
กุมภกรรณลับหอกโมกขศักดิ์ ไมยราพหุงสรรพยา เป็นต้น
ตามประเพณีโบราณมีการกําหนดใช้เพลงต่างกันในการแปลงตัว กล่าวคือ
หากตัวโขนเป็นมนุษย์ วานร หรือเทพ ใช้เพลงหน้าพาทย์ตระนิมิต
หากเป็นตัวนาง จะใช้เพลงหน้าพาทย์ชํานาญ
หากเป็นอสูร ยักษ์ ใช้เพลงหน้าพาทย์กระบองกัน

Опубликовано:

 

21 ноя 2021

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии    
Далее
КУШАТЬ ХОЧЕШЬ? #дистори
00:15
Просмотров 215 тыс.
Will A Basketball Boat Hold My Weight?
00:30
Просмотров 29 млн