Тёмный

สอนการปักกลด การธุดงค์​ในป่า กฎ13ข้อ ของการธุดงค์ ด้วยประสบการณ์จริง พระอาจารย์ต้น​พระสายกรรมฐาน 

ชร รถรับจ้าง Channel
Подписаться 2,3 тыс.
Просмотров 4,7 тыс.
50% 1

เครดิตวีดีโอ-ยูทูปช่องทิดฟลุ๊ค​ สุกี้​
ผมขออนุญาตเจ้าของวีดีโอด้วยนะครับ​ ผมเห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาเผยแพร่ที่ช่องผมด้วยเพราะผมก็เป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ต้นเหมือนกันครับ​ ขออนุโมทนาบุญด้วยกันนะครับ
พระอาจารย์​ต้น สอนการปักกลด ธุดงค์​กลางป่า กฎ13ข้อ ของการธุดงค์ ด้วยประสบการณ์จริง พระสายกรรมฐาน
การถือธุดงค์ เป็นประเพณีของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ธุดงค์ หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ (ด้านล่าง) ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก
การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด
การเดินธุดงค์ ออกพรรษาหน้าแล้งสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีโอกาสก็ให้พระภิกษุสามเณรออกเดินธุดงค์ หาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อผ่อนคลายความเครียดถ้าอยู่แต่วัดอย่างเดียว บางทีมันอยากจะสึก
การเดินธุดงค์นั้น ยังเป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจไม่ให้ติดในที่อยู่ที่อาศัยความสะดวกสบาย ถ้าอยู่ใกล้วัดใกล้ที่นอน ฉันเสร็จแล้วมันจะหงายท้องเร็ว
การไปเดินธุดงค์นี้มีประโยชน์มากถ้าเราตั้งใจปฏิบัติให้เคร่งครัดในศีลทุกสิกขาบทและในธุดงควัตร เพราะการไปอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ตามป่าตามเขานั้นศีลจะเป็นที่พึ่งของเราได้
การเดินธุดงค์นั้นมันจะมีทุกข์มาก เราจะได้ฝึกทำใจให้นิ่ง เมื่อเจอสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจเช่น เราต้องไปนอน ตามพื้นดิน ตามโคนไม้ ตามป่าช้า ตามป่าเขาทุรกันดาร มีการอยู่การฉันอย่างอด ๆ อยาก บางทีมด ปลวก สัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจ
การเดินต้องเจอทั้งแดด ทั้งฝน ทั้งเท้า พองทั้งหิวน้ำ เราต้องผอม ต้องตัวดำ ความสุขทุกอย่างเราต้องละหมด ผิวพรรณก็ไม่ต้องกลัวมันดำ ร่างกายก็ไม่ต้องกลัวมันผอม ให้มันขาวที่จิตที่ใจ ให้มันอ้วนที่จิตที่ใจ มันจะได้ฉันบ้าง ไม่ได้ฉันบ้าง เราก็ต้องยอม อย่างมากก็ตายเท่านั้น
****************************************
ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
1. ธุตังควัตรมี 13 ข้อ ได้แก่
1) ปังสุกุลิกังคะ วัตรถือการทรงผ้าบังสุกุล
2) เตจีวริกังคะ วัตถือการทรงผ้า 3 ผืน
3) ปิณฑปาติกังคะ วัตรถือการบิณฑบาต
4) สปทานจาริกังคะ วัตรถือการบิณฑบาตตามลำดับประตูเรือน
5) เอกาสนิกังคะ วัตรถือการฉันอาหารคราบเดียว(ฉันเอกา)
6) ปัตตปิณฑิกังคะ วัตรถือการฉันอาหารในบาตร
7) ขลุปัจฉาภัตติกังคะ วัตรถือการไม่ฉันข้าวเมื่อภายหลัง(จากการห้ามภัต)
8) อรัญญิกังคะ วัตรถือการอยู่ในป่า
9) รุกขมูลิกังคะ วัตรถือการอยู่ที่โคนไม้
10) อัพโภกาสิกังคะ วัตรถือการอยู่กลางแจ้ง (ที่โล่ง ไม่มีสิ่งมุงบัง)
11) โสสานิกังคะ วัตรถือการอยู่ในป่าช้า
12) ยถาสันถติกังคะ วัตรถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดแต่งไว้ให้
13) เนสัชชิกังคะ วัตรถือการไม่นอน(เอนหลังหลับ)

Опубликовано:

 

7 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 23   
Далее
ชีวิตพระป่า
21:48
Просмотров 88 тыс.
ธุดงควัตร13
14:52
Просмотров 4,8 тыс.
บันทึกพระธุดงค์
54:55
Просмотров 30 тыс.