Тёмный
No video :(

สุนทรียะแห่งศิลปะ : ศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ดูไม่ยาก 

Aesthetics of life
Подписаться 1,6 тыс.
Просмотров 6 тыс.
50% 1

ศิลปะนามธรรม (Abstract Art) : ผลงานศิลปะที่ดูแล้วไม่รู้เรื่อง ดูยาก?
โดยทฤษฎีทางศิลปะได้บอกไว้ว่า รูปแบบของงานศิลปะในโลกใบนี้ ถูกแบ่งออกเป็น3ประเภท ก็คือ แบบเหมือนจริง แบบกึ่งเหมือนจริง และแบบไม่เหมือนจริง ทั้ง 3 รูปแบบล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินออกมาทั้งสิ้น
คุณค่าของผลงานที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น ตัวบ่งชี้คุณค่าของงานศิลปะเหล่านี้อยู่ตรงไหน ใช้อะไรมากะเกณฑ์คุณค่าของผลงาน
คำตอบแบบสรุปง่ายๆ เรียกว่าแบบกำปั้นทุบดิน ในเรื่องของคุณค่าตรงนี้ ของผลงานศิลปะก็คือ ให้ยึดตัวเราเองเองเป็นหลักก่อน หากเราชอบผลงานชิ้นไหน ผลงานชิ้นนั้นก็จะมีคุณค่า สำหรับเราเสมอ หากไม่ชอบก็ไม่ใช่ แต่คนอื่นๆจะเห็นคุณค่าเหมือนกับเราหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องของเขา หลายคนบอกผมว่า ไปดูงานรูปแบบนามธรรม ส่วนใหญ่สวยดี แต่ดูไม่รู้เรื่อง
“..พยายามดูแล้ว ดูอย่างไรก็ยังไม่เข้าใจ...ไม่รู้เรื่องอยู่ดี..”
คำพูดนี้คือภาพสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่สำคัญของวงการศิลปะในบ้านเรา เมื่อคนดูไม่เข้าใจก็จะไม่สามารถมองเห็นถึงคุณค่า และสุดท้ายมองผลงานศิลปะที่ดูไม่รู้เรื่อง ที่อยู่ตรงหน้า ก็ไม่ต่างกับขยะชิ้นหนึ่งในสายตาผู้ชม คนนั้น
ศิลปินตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแทบเป็นแทบตาย แต่ปรากฏว่าคนดูไม่รู้เรื่อง รับไม่ได้ เข้าไม่ถึงความหมายของผลงานชิ้นนั้น ไม่เข้าใจว่าศิลปินสื่ออะไรออกมา เมื่อคนดูไม่เข้าใจก็เปรียบเสมือนคนดูไม่มี.. เมื่อการสื่อสารระหว่างผู้สร้างกับผู้เสพไม่มาบรรจบกัน วงจรศิลปะจึงไม่สมบูรณ์
การรับรู้คุณค่ามองเห็นความงามและความเข้าใจทางศิลปะนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ปูมหลังการศึกษาเรียนรู้ทางศิลปะ ประสบการณ์ทางสุนทรียะของชีวิต สภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ อารมณ์ความรู้สึก แม้กระทั่งสุขภาพร่างกายและจิตใจที่กำลังเสพศิลปะอยู่ในขณะนั้น ก็ส่งผลต่อความงาม
การมองเห็นคุณค่าของศิลปะอย่างแท้จริงได้นั้น ต้องใช้เวลาในการเสริมสร้างความเข้าใจและรสนิยมทางด้านศิลปะ ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการพัฒนาการ
ผลงานศิลปะที่ดูไม่รู้เรื่องว่าเป็นรูปอะไร เรียกว่าศิลปะนามธรรม หรือ Abstract Art มีความหมายซ่อนอยู่ภายใน หรืออาจจะไม่มีความหมายอะไรเลยก็ได้ ศิลปินใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นหลักในการแสดงออก โดยนำทัศนธาตุทางศิลปะมาเสนอด้วยรูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์ ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ตามแต่บุคลิกภาพและรสนิยมของศิลปินแต่ละคน
ผลงานศิลปะนามธรรมที่ดูไม่รู้เรื่องนั้น ที่จริงแล้วก็เป็นการพัฒนามาจากความเหมือนจริงตามธรรมชาตินั่นแหละครับ ศิลปินนำมาลดทอนรายละเอียดบางสิ่งบางอย่างออกไป อาจจะเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้ามา หรือเพิ่มความคิดความรู้สึกส่วนตนเข้าไปด้วย ขอยกตัวอย่างเช่น ศิลปินวาดภาพทิวทัศน์ทะเลขึ้นมาภาพหนึ่ง ศิลปินต้องการเสนอความสดชื่นแจ่มใสของทิวทัศน์ทะเลยามเช้า ท้องฟ้าโปร่งสว่างสดใส สิ่งที่ศิลปินต้องการนำเสนออย่างแท้จริง ไม่ใช่ภาพทิวทัศน์เหมือนจริงของทะเลตอนเช้า แต่เป็นความสดชื่นของบรรยากาศยามเช้าที่ชายทะเล ภาพทิวทัศน์ทะเลยามเช้าเป็นเพียงทางผ่านไปสู่ความรู้สึกสดชื่นแจ่มใสเท่านั้น ศิลปินอาจจะลดรายละเอียดต่างๆที่เหมือนจริงลง และเพิ่มส่วนที่ต้องการเข้าไป ลงไปให้แปลกไปจากความเป็นจริงก็ได้ ที่สำคัญ เขาสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการออกมาในผลงาน ให้ผู้ชมรับรู้ได้หรือไม่
การดูผลงานนามธรรม หรือ Abstract Art นั้น หากตั้งใจจริงๆที่จะสัมผัสรับรู้อรรถรสของศิลปะนามธรรมให้เข้าใจนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลย ลองตั้งใจดูงานนามธรรมสักชิ้นหนึ่ง อย่าเพิ่งเข้าไปใกล้นัก ยืนห่างออกมาจากภาพสักสามสี่เมตร ดูภาพแบบรวมๆ ทำใจให้ว่าง จดจ่อกับผลงานชิ้นนั้น ขณะเดียวกันก็จินตนาการท่องไปในผลงานที่สัมผัสรับรู้ได้ทางทัศนธาตุ ที่ปรากฏออกมาในผลงาน จะจินตนาการออกมาเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นไร
หากเป็นอย่างนี้ได้ ก็เท่ากับว่า ดูภาพศิลปะนามธรรมสำเร็จไปแล้วขั้นหนึ่ง
ทีนี้ก็ลองขยับเข้าไปใกล้ๆ อ่านชื่อภาพหรือคำอธิบาย อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับที่จินตนาการไว้ก็ไม่เสียหายอะไร ทำความเข้าใจในชื่อภาพหรือความหมายของภาพว่าสอดคล้องกับภาพที่อยู่ตรงหน้าอย่างไรบ้าง วิเคราะห์ดูว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกับจินตนาการของเรามากน้อยเพียงไร ความสนุกของการดูงานศิลปะนามธรรม จะเริ่มจากตรงนี้
ถ้าหากว่าดูแล้วยังงงๆอยู่ หากมีโอกาสพบปะพูดคุยกับศิลปินผู้สร้างงาน ถามศิลปินว่าต้องการแสดงอะไรออกมาในภาพ มีจุดมุ่งหมายอย่างไร อาจจะทำให้มีความเข้าใจและมองเห็นคุณค่าของผลงานชิ้นนั้นดีขึ้นได้ ที่สำคัญต้องเปิดใจให้กว้าง อย่านำความรู้สึกที่เคยชินกับความเข้าใจเดิม ๆ หรือความมีอคติมาปิดกั้นการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกของศิลปะ
หากจะเปรียบเทียบการดูภาพศิลปะนามธรรม กับการฟังเสียงนกร้อง คงทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ทุกคนสามารถรับรู้ได้ถึงความไพเราะในเสียงร้องของนก แต่หากถามว่า นกร้องออกมามีความหมายว่าอะไร คงไม่มีใครตอบได้ แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่สามารถรับรู้ได้ว่า เสียงร้องของนก ไพเราะน่าฟัง“..เพราะดีแต่ฟังไม่รู้เรื่อง กับ สวยดีแต่ดูไม่รู้เรื่อง..” ก็คงไม่แตกต่างกันนะครับ เท่านี้ก็นับได้ว่า เข้าถึงศิลปะแบบนามธรรมระดับหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้วยเจตจำนงในความมุ่งมั่นของศิลปิน กระบวนการในการนำเสนอความคิด ที่ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานออกมาประจันหน้าผู้ชมอยู่นั้น ผู้ดูจะให้คุณค่าหรือจะตีความต่อออกไปอย่างไร จะง่ายต่อการเข้าใจหรือซับซ้อนเพียงใดก็ย่อมได้ทั้งสิ้น เพราะคุณค่าของงานศิลปะนั้น อยู่กับศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน หลังจากนั้นเป็นเรื่องของผู้ดู ผู้เสพที่จะว่ากันต่อไป…
.....
"สุนทรียะแห่งศิลปะ" สนับสนุนโดย สาขาวิขาจิตรกรรมไทย ภาควิชาศิลปะประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เรียบเรียงบท-บรรยาย โดย ผศ.ฉัตรชัย ศิริพันธุ์
ผลิตสื่อโดย Aesthetics of life
30 มีนาคม 2566

Опубликовано:

 

6 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 12   
Далее