Тёмный
No video :(

แมวคราง ทำให้หม้อหุงข้าวสั่น? 

Kookaitools
Подписаться 30 тыс.
Просмотров 2,5 тыс.
50% 1

ทำไมเสียงครางของแมวตัวนี้ทำให้หม้อหุงข้าวที่สั่นได้?
วัตถุทุกชนิดมีค่า/ย่านความสั่นภายในตัว (natural frequency)
ถ้าหากว่ามีแหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความสั่นเดียวกันเป๊ะ มาอยู่ใกล้ๆ ก็จะเหนี่ยวนำให้วัตถุนั้นๆ สั่นตามได้
เสียงครางครืดๆ ของแมวมีคลื่นความถี่ราวๆ 50-120Hz
ออโตเมติกหม้อหุงข้าว(แกนกลมๆ ตรงกลาง) ตัวนี้ก็มีความถี่ย่านเดียวกัน
เมื่อแมวครางถึงคลื่นความถี่ที่เหมาะสม และดังพอ ก็จะเหนี่ยวนำให้หม้อหุงข้าวสั่นตาม (โดยไม่ต้องสัมผัสเลย)
และสังเกตได้ว่าความแรงของการสั่นของหม้อหุงข้าวเพิ่มขึ้นตามความดังของเสียงคราง (increase in amplitude)
นี่คือปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Resonance หรือการสั่นพ้อง
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรามากครับ มีอยู่ทุกที่ เห็นทุกวัน
-คอนโซล/แฟริ่งรถ ที่จะสั่นแก๊กๆๆๆ เมื่อถึงรอบเครื่องรอบหนึ่ง แต่ถ้ารอบสูงหรือต่ำกว่านั้น จะไม่สั่น-นิ่งสนิท
-ห้อยพระห้อยหินที่กระจกมองหลัง แต่จะพบว่ามันสั่นหรือแกว่งรุนแรงเป็นพิเศษเมื่อวิ่งผ่านเนิน/หลุมบางจุด
-เวลารถบางรุ่นวิ่งผ่านหน้าบ้านแล้วทำให้กระจกในบ้านสั่น
-เปิดปั๊มน้ำแล้วทำให้ขวดซอสบางอันสั่นจนเห็นของเหลวภายในกระเพื่อม
-เคยเห็นวิดีโอที่นักร้องกรีดเสียงแล้วทำให้แก้วไวน์แตก
-สะพานและตึกสูง(หรือสิ่งก่อสร้างใดก็ตาม) ต้องมีการคำนวน resonance ไม่ให้ไปเจอกับความสั่นใดที่มีในธรรมชาติ
-เวลาเครื่องบินบินผ่านในระดับต่ำ ทำให้วัตถุบางอย่างในบ้านสั่นจนเดินได้ แต่บางอย่างไม่สั่น
-ตู้ไมโครเวฟ จะมีจุด "ร้อน" จุด "เย็น" นั่นเกิดจากช่วงคลื่นความสั่นที่มีผล/ไม่มีผล ภายใน
ความรู้เหล่านี้ใช้ในการออกแบบสิ่งรอบตัวเราให้ดีขึ้นปลอดภัยขึ้น
-ในตึกระฟ้าอาคารสูง หรือสะพาน จะมีการใส่ตัวถ่วงหรือตัวหน่วงความถี่ เพื่อไม่ให้ความถี่ธรรมชาติ (ลมแรง แผ่นดินไหว) มาสั่นทำลายโครงสร้าง
-กระจกที่ใช้ในอาคารอยู่ใกล้สนามบิน รางรถไฟ หรืออุโมงค์ ไม่ให้สั่นจนแตก
-ลูกยางหรือแคร่เครื่องยนต์/มอเตอร์ เพื่อไม่ให้ความสั่นของเครื่องไปทำลายวัตถุรอบข้าง
เหตการณ์สมมติ
มือจับและราวทางเดินที่มีโลหะแผ่น(สเตนเลส)ตรงกลาง สั่นกระพือ เมื่อมีรถบรรทุกวิ่งผ่าน
ถ้าสั่นน้อยก็เกิดเสียงน้อย ถ้าสั่นมาก(รถเร่งเครื่อง) คนเดินก็ตกใจ
สั่นมากๆ เข้า รอยเชื่อมก็ฉีกขาด ซ่อมหลายรอบ เจ้าของสถานที่ก็ด่าว่าฝีมือเชื่อมไม่ดี ช่างก็ไม่เข้าใจว่าทำอะไรผิด
เลยแนะนำให้เอาก้อนเหลืองแผ่นกลมๆ ก้อนหนึ่งแปะเข้าไปตรงกลางของแผ่นสเตนเลส
ทำหน้าที่ย้ายมวล แล้วเปลี่ยนจุดคลื่นความถี่ตามธรรมชาติ
แค่นี้ก็ไม่สั่นเพราะรถบรรทุกแล้ว (แต่คงจะไปสั่นที่ย่านความถี่อื่นแทน แต่เนื่องจากไม่มีตัวกำเนิดความถี่ย่านนั้นวิ่งผ่าน จึงไม่สั่น)
คนที่บ้านอยู่ใกล้สนามบิน เวลาเครื่องบินผ่านก็จะกระจกสั่นทั้งบ้าน บานเกล็ดแตกก็มี
ลองเอาดินน้ำมันไปแปะกระจก ก็จะพบว่ามันช่วยซับและย้ายจุดคลื่นความสั่น = ไม่แตกแล้ว
เป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจและเห็นตัวอย่างเลขเอามาเขียนอะไรสั้นๆ ให้อ่านกันครับ

Опубликовано:

 

7 дек 2021

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 7   
@kookaitools1131
@kookaitools1131 2 года назад
ทำไมเสียงครางของแมวตัวนี้ทำให้หม้อหุงข้าวที่สั่นได้? วัตถุทุกชนิดมีค่า/ย่านความสั่นภายในตัว (natural frequency) ถ้าหากว่ามีแหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความสั่นเดียวกันเป๊ะ มาอยู่ใกล้ๆ ก็จะเหนี่ยวนำให้วัตถุนั้นๆ สั่นตามได้ เสียงครางครืดๆ ของแมวมีคลื่นความถี่ราวๆ 50-120Hz ออโตเมติกหม้อหุงข้าว(แกนกลมๆ ตรงกลาง) ตัวนี้ก็มีความถี่ย่านเดียวกัน เมื่อแมวครางถึงคลื่นความถี่ที่เหมาะสม และดังพอ ก็จะเหนี่ยวนำให้หม้อหุงข้าวสั่นตาม (โดยไม่ต้องสัมผัสเลย) และสังเกตได้ว่าความแรงของการสั่นของหม้อหุงข้าวเพิ่มขึ้นตามความดังของเสียงคราง (increase in amplitude) นี่คือปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Resonance หรือการสั่นพ้อง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรามากครับ มีอยู่ทุกที่ เห็นทุกวัน -คอนโซล/แฟริ่งรถ ที่จะสั่นแก๊กๆๆๆ เมื่อถึงรอบเครื่องรอบหนึ่ง แต่ถ้ารอบสูงหรือต่ำกว่านั้น จะไม่สั่น-นิ่งสนิท -ห้อยพระห้อยหินที่กระจกมองหลัง แต่จะพบว่ามันสั่นหรือแกว่งรุนแรงเป็นพิเศษเมื่อวิ่งผ่านเนิน/หลุมบางจุด -เวลารถบางรุ่นวิ่งผ่านหน้าบ้านแล้วทำให้กระจกในบ้านสั่น -เปิดปั๊มน้ำแล้วทำให้ขวดซอสบางอันสั่นจนเห็นของเหลวภายในกระเพื่อม -เคยเห็นวิดีโอที่นักร้องกรีดเสียงแล้วทำให้แก้วไวน์แตก -สะพานและตึกสูง(หรือสิ่งก่อสร้างใดก็ตาม) ต้องมีการคำนวน resonance ไม่ให้ไปเจอกับความสั่นใดที่มีในธรรมชาติ -เวลาเครื่องบินบินผ่านในระดับต่ำ ทำให้วัตถุบางอย่างในบ้านสั่นจนเดินได้ แต่บางอย่างไม่สั่น -ตู้ไมโครเวฟ จะมีจุด "ร้อน" จุด "เย็น" นั่นเกิดจากช่วงคลื่นความสั่นที่มีผล/ไม่มีผล ภายใน ความรู้เหล่านี้ใช้ในการออกแบบสิ่งรอบตัวเราให้ดีขึ้นปลอดภัยขึ้น -ในตึกระฟ้าอาคารสูง หรือสะพาน จะมีการใส่ตัวถ่วงหรือตัวหน่วงความถี่ เพื่อไม่ให้ความถี่ธรรมชาติ (ลมแรง แผ่นดินไหว) มาสั่นทำลายโครงสร้าง -กระจกที่ใช้ในอาคารอยู่ใกล้สนามบิน รางรถไฟ หรืออุโมงค์ ไม่ให้สั่นจนแตก -ลูกยางหรือแคร่เครื่องยนต์/มอเตอร์ เพื่อไม่ให้ความสั่นของเครื่องไปทำลายวัตถุรอบข้าง เหตการณ์สมมติ มือจับและราวทางเดินที่มีโลหะแผ่น(สเตนเลส)ตรงกลาง สั่นกระพือ เมื่อมีรถบรรทุกวิ่งผ่าน ถ้าสั่นน้อยก็เกิดเสียงน้อย ถ้าสั่นมาก(รถเร่งเครื่อง) คนเดินก็ตกใจ สั่นมากๆ เข้า รอยเชื่อมก็ฉีกขาด ซ่อมหลายรอบ เจ้าของสถานที่ก็ด่าว่าฝีมือเชื่อมไม่ดี ช่างก็ไม่เข้าใจว่าทำอะไรผิด เลยแนะนำให้เอาก้อนเหลืองแผ่นกลมๆ ก้อนหนึ่งแปะเข้าไปตรงกลางของแผ่นสเตนเลส ทำหน้าที่ย้ายมวล แล้วเปลี่ยนจุดคลื่นความถี่ตามธรรมชาติ แค่นี้ก็ไม่สั่นเพราะรถบรรทุกแล้ว (แต่คงจะไปสั่นที่ย่านความถี่อื่นแทน แต่เนื่องจากไม่มีตัวกำเนิดความถี่ย่านนั้นวิ่งผ่าน จึงไม่สั่น) คนที่บ้านอยู่ใกล้สนามบิน เวลาเครื่องบินผ่านก็จะกระจกสั่นทั้งบ้าน บานเกล็ดแตกก็มี ลองเอาดินน้ำมันไปแปะกระจก ก็จะพบว่ามันช่วยซับและย้ายจุดคลื่นความสั่น = ไม่แตกแล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจและเห็นตัวอย่างเลขเอามาเขียนอะไรสั้นๆ ให้อ่านกันครับ
@user-vr9jj3op4m
@user-vr9jj3op4m 2 года назад
ความรู้ล้วนครับ
@user-el8sc8wk6l
@user-el8sc8wk6l 2 года назад
แมวสวยมาก
@egch1yearago21
@egch1yearago21 2 года назад
ล้ำมาก พี่กุ๊กไก่ ทำคลิปอะไรมา ผมดูหมดแหละ ได้อะไรจากคลิปพี่หลายอย่างจริงๆ
@sakwattana
@sakwattana 2 года назад
resonance
@sarayutkhoos3571
@sarayutkhoos3571 2 года назад
แอดควรเอาส่วนบทความมาไว้ตรงคอมเม้นท์แล้วปักหมุดจะดีกว่าครับ คนน่าจะเห็นและได้อ่านกันเยอะกว่า 😉
@windstruck7477
@windstruck7477 2 года назад
ครางเหมือนเสือเลยครับ
Далее
Mansan oshdi😅
00:22
Просмотров 2,8 млн
skibidi toilet 77 (part 1)
03:51
Просмотров 8 млн
แมวจรทั้ง 6 สาขา
2:18
Mansan oshdi😅
00:22
Просмотров 2,8 млн