Тёмный

การเลือกชนิดและขนาดของสายไฟฟ้า 

กฤษณะ แอร์เซอร์วิส
Просмотров 266
50% 1

สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
/ @basicskillsfortechnician
แนวข้อสอบช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 • แนวข้อสอบช่างไฟฟ้าในอา...
การเลือกชนิดและขนาดของสายไฟฟ้า
ในการพิจารณาเลือกสายไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้นมีหลายข้อที่ต้องพิจารณา ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพความเชื่อถือได้และความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อกําหนดที่จะต้องพิจารณาในการเลือกสา
- พิกัดแรงดัน (Voltage Rating)
- พิกัดกระแส (Current Rating)
- สายควบ (Multiple Conductors)
- แรงดันตก(Voltage Drop)
1. พิกัดแรงดัน (Voltage Rating) สายไฟฟ้าที่จะใช้ต้องสามารถทนแรงดันใช้งานได้ตาม มอก.11-2531 ได้กําหนดแรงดันใช้งานเอาไว้ 2ระดับคือ 300โวลท์ และ750โวลท์ ดังนั้นในการเลือกชนิดของสายไฟฟ้าจึงต้องคํานึงถึงพิกัดแรงดันให้เหมาะสมด้วย
2. พิกัดกระแส (Current Rating) คือ ความสามารถของสายไฟฟ้าในการจะนำกระแสไฟฟ้าปริมาณหนึ่งอย่างต่อเนื่องในขณะใช้งาน โดยไม่ทำให้อุณหภูมิสุดท้ายมีค่าเกินอุณหภูมิที่กําหนดไว้
พิกัดกระแสของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนจะขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
2.1 ขนาดสายไฟฟ้า สายไฟฟ้าที่มีพื้นที่หน้าตัดขนาดใหญ่ก็จะมีค่าพิกัดกระแสสูงกว่าสายไฟฟ้าที่มีพื้นที่หน้าตัดขนาดเล็กกว่า
2.2 ชนิดของฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้า การที่สายไฟฟ้ามีฉนวนที่มีคุณภาพดีย่อมที่จะทำให้สายไฟฟ้าชนิดนั้นมีค่าพิกัดกระแสสูงขึ้น
2.3 อุณหภูมิโดยรอบ เนื่องจากค่าความต้านทานของตัวนําจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ดังนั้นถ้าอุณหภูมิบริเวณรอบๆของสายไฟฟ้าที่ใช้มีค่าสูงขึ้น ก็จะส่งผลให้ค่าพิกัดของกระแสลดลงจากค่าปกติ
2.4 ลักษณะการติดตั้ง เนื่องจากการติดตั้งสายไฟฟ้าสามารถทําได้หลายวิธี เช่น เดินลอย เดินในท่อร้อยสาย หรือเดินฝังในดิน การติดตั้งแต่ละแบบก็จะมีการถ่ายเทอากาศไม่เหมือนกันได้แก่ สายไฟฟ้าติดตั้งในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ก็จะมีค่าพิกัดกระแสสูงกว่ากรณีที่ติดตั้งในบริเวณอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
3. สายควบ (Multiple Conductors) ในวงจรที่มีการใช้ไฟฟ้ามากๆ นั้น พิกัดกระแสของสายไฟฟ้าเส้นเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงจําเป็นต้องใช้สายหลายเส้นต่อขนานกันซึ่งเรียกว่า สายควบ สายไฟฟ้าที่เดินควบกันปลายทั้งสองด้านของเฟสเดียวกันต้องต่อเข้าด้วยกัน
ข้อกําหนดสําหรับการใช้สายควบ มีดังนี้
- ใช้กับตัวนำที่มีขนาดตั้งแต่ 50ตารางมิลลิเมตร ขึ้นไป
- สายไฟฟ้าที่จะเดินควบกันได้จะต้องเป็นสายไฟฟ้าชนิดเดียวกัน
- สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีความยาวเท่ากัน
- ลักษณะการเดินสายไฟฟ้าเหมือนกัน
4. แรงดันตก (Voltage Drop) คือ ความแตกต่างระหว่างขนาดแรงดันไฟฟ้าที่จุดแหล่งจ่ายต้นทางและจุดรับไฟฟ้า เกิดจากการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสายไฟฟ้าที่มีค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance) ของสายไฟฟ้าเอง
แรงดันตกเป็นปัญหาที่สำคัญ เมื่อมีการใช้สายไฟฟ้าที่มีความยาวมากๆ ซึ่งมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟสว่างไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถจุดหลอดได้ กรณีที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ สตาร์ทเตอร์(Starter) ช่วยจุดหลอด มอเตอร์ไม่มีแรงหมุน หรือไหม้ เป็นต้น - แรงดันตกจากสายประธานจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า (Load) มีค่าไม่เกิน 5%
- แรงดันตกในสายป้อน (Feeder) มีค่าไม่เกิน 2%
- แรงดันตกในวงจรย่อย (Branch Circuit) มีค่าไม่เกิน 3%
ในการเลือกชนิดและขนาดของสายไฟฟ้าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สายไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไปภายในอาคารเป็นชนิดตัวนำทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพีวีซี ที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ มอก. 11-2531 ในการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคารส่วนใหญ่จะใช้ตามข้อกําหนดการใช้สายตามตาราง

Опубликовано:

 

16 окт 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 2   
@thatthepchokboriboon4971
@thatthepchokboriboon4971 Год назад
สมัคร เป็นสมาชิกช่องทำอย่างไรครับ
@BASICSKILLSFORTECHNICIAN
@BASICSKILLSFORTECHNICIAN Год назад
ถ้าเป็นระบบiosให้สมัครผ่านเว็บเบราว์เซอร์ครับ
Далее