Тёмный

ฎีกา InTrend EP.23 ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่งกับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่ 

COJ CHANNEL
Подписаться 58 тыс.
Просмотров 10 тыс.
50% 1

ฎีกา InTrend ep.23 ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่ลาออกไปไม่ให้ทำธุรกิจแข่งกับนายจ้างเดิมจะใช้บังคับได้หรือไม่
Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
ในการทำงานหลายลักษณะที่ลูกจ้างอาจได้รู้เห็นข้อมูลหรือเรียนรู้ข้อมูลทางการค้าจากนายจ้าง นายจ้างอาจให้พนักงานนั้นทำข้อตกลงที่จะไม่ประกอบอาชีพแข่งขันกับธุรกิจของนายจ้าง ข้อตกลงลักษณะนี้อาจมองได้หลายแง่มุม ทางหนึ่งย่อมเป็นการจำกัดสิทธิของลูกจ้าง และในอีกทางหนึ่งอาจจำเป็นต่อการรักษาผลประโยชน์ของนายจ้างด้วย ในตอนนี้จึงจะเป็นนำปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงนี้มาพิจารณาว่าจะมีผลบังคับได้หรือไม่เพียงใด
เก่งกับกบเป็นพนักงานของบริษัทพิมพ์ดี จำกัด โดยเข้าไปทำงานที่บริษัทดังกล่าวตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี บริษัทพิมพ์ดี จำกัด มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในธุรกิจการทำหนังสือที่ระลึกในโอกาสพิเศษและหนังสือรุ่นของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เก่งทำหน้าที่เป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ ส่วนกบเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด ระหว่างการทำงาน บริษัทพิมพ์ดี จำกัด ได้ส่งทั้งเก่งและกบไปฝึกอบรมเพิ่มทักษะหลาย ๆ หลักสูตรตามภาระหน้าที่ของแต่ละคน ทั้งสองคนทำงานอยู่บริษัทพิมพ์ดี จำกัด เป็นเวลาประมาณห้าปี
บริษัทพิมพ์ดี จำกัด ทราบข่าวว่าเก่งและกบตั้งใจจะลาออกจากบริษัท ผู้บังคับบัญชาของทั้งสองคนจึงได้เรียกไปพบและให้ลงชื่อใน “บันทึกข้อตกลงการทำงานและการอบรมการทำงาน” ซึ่งมีใจความว่าแต่ละคนตกลงที่จะไม่ไปทำงานในบริษัทของคู่แข่งหรือทำกิจการที่เป็นการแข่งขันกับบริษัทพิมพ์ดี จำกัด โดยตรงเป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่พ้นสภาพความเป็นพนักงานของบริษัท
ต่อมาทั้งเก่งและกบได้ยื่นใบลาออกและได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทใหม่ชื่อบริษัทพิมพ์เก่ง จำกัด โดยมุ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือสวยงานที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ คล้ายกับที่บริษัทพิมพ์ดี จำกัด ทำอยู่ โดยเก่งกับกบมีชื่อเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัทพิมพ์ดี จำกัด ทราบเรื่องการตั้งบริษัทใหม่นั้นเนื่องจากมีลูกค้าบางคนแจ้งให้ทราบว่ากบติดต่อเสนอทำงานให้ในราคาถูกกว่าบริษัทพิมพ์ดี จำกัด โดยมีการออกแบบดีไซน์สวยงามไม่แพ้กันเนื่องจากใช้ทีมออกแบบชุดเดียวกัน
บริษัทพิมพ์ดี จำกัด จึงได้ฟ้องเก่งกับกบเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดบันทึกข้อตกลงห้ามแข่งขัน เก่งกับกบต่อสู้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ เนื่องจากเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ไปห้ามมิให้ประกอบอาชีพที่ตนถนัด
ตามปกติหากทำสัญญาอย่างไรไว้ก็ต้องบังคับไปตามข้อตกลงในสัญญานั้น แต่อาจมีบางกรณีที่เป็นสัญญาที่ให้เปรียบคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุที่คู่สัญญาที่ได้เปรียบนั้นมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าอีกฝ่ายมากจนทำให้อีกฝ่ายนั้นแทบไม่มีทางเลือกนอกเหนือจากยอมรับว่าจะทำสัญญาตามเงื่อนไขดังกล่าว หรือมิฉะนั้นก็ต้องปฏิเสธไม่เข้าทำสัญญานั้นเสียเลย อาจมีผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวกลายเป็น “ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม” ที่ศาลอาจกำหนดให้บังคับได้เพียงเท่าที่พอสมควรและเป็นธรรม
สำหรับในกรณีที่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะของการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน หรือการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพซึ่งไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นข้อตกลงที่ทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ กฎหมายกำหนดให้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
กรณีที่จะถือว่าข้อตกลงใดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นอาจจะต้องดูจากพฤติการณ์ของแต่ละกรณีประกอบกันไปด้วย เพราะสภาพของคู่สัญญาและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกรณีอาจมีความแตกต่างกัน แต่สำหรับกรณีของเก่งกับกบนี้ ในระหว่างทำงาน บริษัทพิมพ์ดี จำกัด ได้ส่งไปฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะซึ่งต้องใช้เงินพอสมควร เปรียบเสมือนการลงทุนของบริษัทด้วย หากฝึกอบรมแล้วกลับนำความรู้และทักษะดังกล่าวไปใช้ทำประโยชน์ให้กับคู่แข่งย่อมทำให้บริษัทพิมพ์ดี จำกัด เสียหาย
หน้าที่อย่างเช่นกบในกรณีนี้รับผิดชอบด้านการตลาด ทำให้รู้จักกับลูกค้าของบริษัทพิมพ์ดี จำกัด เป็นอย่างดี ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าก็ถือเป็นข้อมูลทางธุรกิจที่มีค่าสำหรับธุรกิจทั้งหลายเช่นกัน เพราะการที่บริษัทจะประกอบธุรกิจสร้างรายได้ได้ก็ต้องอาศัยลูกค้าเหล่านี้ หากธุรกิจถูกดึงลูกค้าไปหมดโดยการฉวยโอกาสอาศัยข้อมูลจากที่รู้มาในระหว่างการทำงานให้แก่นายจ้างก็ทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างไม่น้อยเช่นกัน
ในส่วนของเก่งกับกบนั้น การที่ทั้งสองคนประกอบอาชีพและมีความชำนาญในงานที่ตนเองรับผิดชอบนั้นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทั้งสองคนทำมาหาเลี้ยงชีพได้ หากกำหนดให้ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานอื่นได้เลยย่อมจะสร้างความเสียหายและความลำบากแก่ลูกจ้างอย่างมาก เพราะโดยสภาพเมื่อลูกจ้างมีความชำนาญในงานลักษณะใดมาแต่เดิม การไปประกอบอาชีพใหม่ก็มักมีความเกี่ยวพันกับงานที่เคยทำมา ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเดิมได้มาก
ด้วยเหตุที่แต่ละฝ่ายย่อมจะมีเหตุผลและความจำเป็นของตนเอง กฎหมายจึงได้กำหนดให้ข้อตกลงทำนองนี้เป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับได้ เพียงแต่ต้องไม่สร้างภาระให้แก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ซึ่งเมื่อพิจารณาจากกรณีของเก่งกับกบ ข้อตกลงกำหนดห้ามไม่ให้ทั้งสองคนทำการที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจบริษัทพิมพ์ดี จำกัด เป็นเวลาสองปี จึงพอถือได้ว่าแม้จะสร้างภาระ แต่เวลาที่จำกัดเพียงสองปีแล้วหลังจากนั้นทั้งสองคนสามารถทำการแข่งขันกับนายจ้างเดิมได้ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่พอสมควรกับการทำงานลักษณะนี้ เมื่อเก่งกับกบไม่ทำตามข้อตกลง จึงทำให้ทั้งสองคนต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทพิมพ์ดี จำกัด
การทำข้อตกลงที่ห้ามไม่ให้บุคคลหนึ่งอย่างเช่นลูกจ้างต้องถูกจำกัดโอกาสในการประกอบอาชีพนั้นเป็นข้อตกลงที่แม้จะทำได้ แต่ก็ต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการสร้างภาระที่ไม่มากเกินสมควรไปด้วย เพราะหากถือว่าเป็นการสร้างภาระเกินสมควรแล้ว ข้อตกลงนั้นอาจใช้บังคับไม่ได้ทั้งหมดด้วยเหตุที่ถือว่าเป็น “ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2561)

Опубликовано:

 

7 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 7   
@hotel.lj9052
@hotel.lj9052 3 года назад
ดี ที่สุด คะ เสียงชัด เข้าใจ
@nuttapongboonron9788
@nuttapongboonron9788 3 года назад
ถ้าเราไปทำงานกับนายจ้างคนใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียว แต่เราไม่ได้เอาข้อมูลความลับทางการค้าของนายจ้างเก่าทั้งฐานลูกค้าหรืออะไรก็ตามแต่มาใช้ประโยชน์กับนายจ้างคนใหม่ แบบนี้เราในฐานะลูกจ้างจะทำผิดเงื่อนไขของสัญญาไหมคะ แล้วนายจ้างเก่าสามารถเรียกเงินค่าความเสียหายได้ไหมคะ
@suttisaksottipayapunt8871
@suttisaksottipayapunt8871 3 года назад
เอาจริงๆ ต้องถามกลับว่าคุณทำได้ไม๊ ถึงคุณทำได้นายจ้างใหม่คุณเวลาสัมภาษณ์ก็เล็งเห็นประโยชน์จากที่เก่าคุณอยู่แล้ว มันไม่สามารถเหลียกเลี่ยงได้ครับ
@tooktanamthip
@tooktanamthip 2 года назад
ดูยังไงก็ไม่เป็นธรรม แย่อ่ะ ไม่ให้ทำงานในสายเดิมที่เรียนมา แล้วจะเอาอะไรกินอ่ะ ยิ่งคนที่เขามีภาระในชีวิตเยอะๆ แค่ 1-2 เดือนก็แย่แล้ว บังคับ 1-2 ปี มันเยอะเกินไป เหมือนตัดอนาคตลูกจ้าง
@Noinhong
@Noinhong 2 года назад
สิ่งที่ไม่ถูกในกรณีนี้คือแย่งลูกค้าบริษัทเดิมตัวเองในช่วงสองปีแรกครับ ลำพังประกอบอาชีพเดิมแล้วหาลูกค้าเองยังไงก็ไม่โดนฟ้องครับ
@godlymaster1259
@godlymaster1259 3 года назад
COJ MOMENT
@user-ht1mt6wy2j
@user-ht1mt6wy2j 2 года назад
แล้วถ้า คุณแม่มีกิจการที่คล้ายคลึง กับนายจ้างเดิมละครับแล้วเราเป็นบุตร บางครั้งก็ได้ดูแลแทนท่านบ้าง ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาจะมีความผิดไหมครับ หรือผิดมากน้อยแค่ไหน หรอครับ
Далее
Самое неинтересное видео
00:32
Просмотров 1,2 млн