Тёмный

ใช้ยาฆ่าหญ้า ป้ายขั้วทุเรียนจริงเพื่อเร่งสุกหรือ?? 

ฅนเกษตร
Подписаться 292 тыс.
Просмотров 8 тыс.
50% 1

วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่อง สารที่ใช้ป้ายขั้วทุเรียน ให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริงว่ามันคือสารอะไร และจะมีอันตรายกับผู้บริโภคหรือไม่ ?
โดยธรรมชาติแล้วการสุกของทุเรียนนั้น จะไม่สุกทั้งพูหรือว่าสุกไม่สม่ำเสมอทั้งลูกแม้ว่าจะเป็นผลเดียวกันก็ตาม ลักษณะเช่นนี้เป็นปัญหาในการบริโภคและการส่งออก อีกทังกระบวนการสุกยังใช้เวลา นานอีกด้วย กรณีทุเรียนพันธุ์หมอนทองอาจใช้เวลานานถึง 9-13 วัน ขึ้นอยู่กับความแก่ของผล เมื่อใช้เวลานานการสูญเสีย
ดังนันการบ่มจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เร่งให้ให้ทุเรียนสุก..เพราะทุเรียนหรือผลไม่อื่นๆเราจะไม้เก็บสุก จะเก็บผลดิบที่แก่แล้ว...ไปบ่ม...การบ่มนั้นเราใช้กับผลไม้ต่างๆ มาตั้งแต่โบราณการณ์ เช่นกล้วย มะม่วง..เพราะถ้าเราเก็บสุก...ก็จะเป็นผลต่อการขนส่งทำให้ทุเรียนช้ำและเน่าเสียหาย อีกทั้งยังส่งผลต่อการส่งออกที่ใช้เวลานานกว่าจะส่งทุเรียนไปยังประเทศเป้าหมาย...และกว่าจะถึงมือผู้บริโภคโดยตรง...ซึ่งจะส่งผลให้ทุเรียนหรือผลผไม้ของเราเน่าเสีย...และที่สำคัญจะผลเสียต่อการส่งออกที่ต้องแบกรับภาระการเน่าเสียของทุเรียนเป็นจำนวนมหาศาล
ดังนั้นจึงมีการป้ายหรือการบ่มเพื่อเป็นการเร่งให้ให้ทุเรียนสุกและยังทำให้ทุเรียนสุกสม่ำเสมอทั้งลูก โดยจะใมชใช้เวลาในการการบ่ม 4-6 วันและยังช่วยลดการสูญเสียลงถึงกว่า 10%
การบ่มผลไม้ให้สุกสม่ำเสมอ นิยมใช้ เอทีฟอน (ethephon) ซึ่งเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่ปลดปล่อยเอทิลีนมีพิษค่อนข้างต่ำและสลายตัวได้ง่าย
แล้วเจ้ายาป้ายทุเรียมันคืออะไรกัน...มาดูกันเลยครับ...ยาที่เขาใช้ป้ายขั้วทุเรียนที่ใช้กันทั่วไปมันก็คือ สาร "เอทิฟอน" ซึ่งเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่ปลดปล่อยเอทิลีนมีพิษค่อนข้างต่ำและสลายตัวได้ง่าย...โดยหลักการก็มีอยู่ว่า ไอ้เจ้า "เอทิฟอน"เนี่ย เมื่อละลายน้ำหรือเข้าไปในเซลล์แล้วจะแตกตัวกลายเป็น "เอทิลีน"...ดังนั้นเมื่อนำ "เอทิฟอน" มาทาที่ขั้วผลไม้ หรือจุ่มผล....จึงเกิดการแตกตัวปล่อยแก๊ส "เอทิลีน" ออกมา....ซึ่งเป็นตัวทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น
ขออ้างอิงจากการศึกษาล่าสุดในปี พ.ศ. 2559 ของ ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล และคณะ จากศูนย์ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้ดำเนินการศึกษาปริมาณสารเอทีฟอน ตกค้างในผลทุเรียนบ่ม....พบว่าการบ่มทุเรียนด้วยสารละลายเอทีฟอนในสภาพจำลองการจำหน่ายในประเทศมีสารตกค้างที่เปลือกมากกว่าการบ่มในสภาพจำลองการส่งออกทางเรือซึ่งใช้...จากการทดลิงของดร.พีรพงษ์ สรุปพอได้ว่า... "เอทีฟอน" เป็นสารสังเคราะห์มีพิษครับ...แต่พิษน้อยมาก..คือคุณกินทุเรียนเข้าไปในปริมาณที่มากๆ ถึงจะเกิดอันตราย...มากขนาดไหนนั้น...ซึ่งเท่ากับคุณต้องกินทุเรียน ประมาณ 1,452 กก. โดยเฉลี่ยทุเรียน 1 ลูกมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโล นี่คือชั่งทั้งเปลือกนั้นหมายความว่าคุณต้องกินทุเรียน 400-500 ลูก ถึงจะเป็นพิษ
สรุปก็คือสารที่ใช้ป้ายทุเรียนคือสารอิทิฟอน...ไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้า และ สารเคมีมาชุบ หรือป้ายขั้ว ทุเรียนแน่อน...และ "เอทิลีน" ที่ปลดปล่อยออกมาคือฮอร์โมนพืชอย่างหนึ่ง ซึ่งพืชสามารถสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ..ซึ่งปกติมีในผลไม้อยู่แล้ว
ไม่เป็นพิษต่อคน
ดังนั้นแล้วคนซื้อทุเรียนบริโภคทุเรียนจงทำความเข้าใจ
1. ไม่มีชาวสวนทุเรียนคนไหนที่ใช้ยาฆ่าหญ้ามาป้ายขั้วทุเรียนแน่นอน
2. สารที่ใช้ป้ายขั้วคือสาร อิทิฟอน ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงไม่ต้องตื่นกลัว จากการเจอคลิปในโซเชียลต่างๆ ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
เพจ : Thai Durian Association - TDA สมาคมทุเรียนไทย
นิตยสารเคหเกษตร ฉบับที่ 192 ปี 2560
สารเอทีฟอนตกค้างในทุเรียนบ่ม “อันตรายจริงหรือ”
****************************
ติดต่อฅนเกษตร : / konkaset89
ติดต่อทีมงาน Production : / korkai.studio9

Опубликовано:

 

17 окт 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 20   
@peerapongsangwanangkul8644
@peerapongsangwanangkul8644 3 года назад
ขอบคุณที่นำข้อมูลผมมาทำสื่อให้เข้าใจง่ายครับ แต่ปรับข้อมูลเพิ่มอีกนิดครับ เนื้อทุเรียน 1 กก.ไม่รวมเมล็ด ต้องมาจากผลขนาด 3 กก. 1 ผล ครับ เพราะงั้นจำนวนผลทุเรียนที่กินจนเกิดพิษจะมากกว่าที่แสดงนั่นอีก 3 เท่าครับ ผมนำไปแชร์ต่อให้บนเฟสบุคและไลน์ผมให้ครับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร 3 года назад
ขอคุณมากๆครับสำหรับข้อมูลดีๆ..ขอก็ขอขอบคุณที่แชร์ข้อมูลครับ
@chamaipornkunpatee7743
@chamaipornkunpatee7743 Год назад
เอาเหล้าป้ายขั่วจะเป็นอันตรายมั้ยคะ เพราะทุเรียนกับเหล้าไม่เข้ากัน ซื้อมาแล้วไม่สุกแม่ค้าบอกเอาเหล้าป้าย เราก็ป้ายแล้วมาย้อนคิดดูกลัวจะเป็นอันตรายค่ะ😢
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร Год назад
ไม่มีข้อมูลเลยครับ
@user-bh7ev7ln4
@user-bh7ev7ln4 5 месяцев назад
6:28
@mattevers632
@mattevers632 2 года назад
เห็นที่ร้าน ขายต้นไม้ เขาแต้มปูนขาว ลองใช้ปูนขาว ดูมั้ย
@ปลาทูทองปลาทูทอง
ใช่ครับไม่มีใครเขาใช้ยาฆ่าหญ้ามาป้ายหรอกครับพวกนั้นฟังเขามาเอาม่เล่าให้คนอื่นฟัง
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร 5 месяцев назад
ไม่มีหรอกครับยาฆ่าหญ้า
@kornpetchploentham2928
@kornpetchploentham2928 3 года назад
ตัดทุเรียนแก่ขายสุขใจทั้งคนสวนคนซื้อคนขาย.
@bowa9372
@bowa9372 3 года назад
สารอันตรายไม่ควรใช้ไม่ว่าจะเป็นสารอะไร ผมเห็นเอาทุเรียนจุ่มลงไป ผมไม่กินทุเรียนอีก
@สารภีปิยพงศ์ไพศาล
ขอบคุณค่ะ
@kornpetchploentham2928
@kornpetchploentham2928 3 года назад
จริงเหรอ
@chillchiikeneji
@chillchiikeneji 2 года назад
กินเยอะ 1,452 กก. ตายก่อนจะเจอพิษ เบาหวานเอย ความดันเอย บลาๆๆๆ
@suraponharindech4489
@suraponharindech4489 2 года назад
แชร์มั่ว นี่แหละครับ ตัวดี ทำเป็นผู้รู้
@user-bh7ev7ln4
@user-bh7ev7ln4 5 месяцев назад
3:14
@jintanasuphaphrom8873
@jintanasuphaphrom8873 3 года назад
มิน่าละเราถามหลายๆเพจว่ายาป้ายคืออะไรไม่มีใครตอบเลย
@armmu4033
@armmu4033 3 года назад
ซื้อทุเรียนแก่มาแล้วปาดทิ้งได้ไหมคับ
@ฅนเกษตร
@ฅนเกษตร 3 года назад
ไม่ทราบว่าคืออะไรครับ?
Далее
Fake watermelon by Secret Vlog
00:16
Просмотров 4,6 млн