Тёмный
No video :(

สอนอ่านผลไขมันในเลือด เมื่อไหร่ต้องรักษา  

Doctor Tany
Подписаться 645 тыс.
Просмотров 303 тыс.
50% 1

ต้องการลงลึกเข้าใจถึงหลักฐานทางวิชาการควรไปอ่านสิ่งนี้ครับ ความยาว 239 หน้า ผมย่อยมาให้ในคลิปแล้วนะครับ
www.nhlbi.nih....
คำนวณโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ในระยะเวลา 10 ปี (ASCVD risk) ตามนี้ครับ
tools.acc.org/...
สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Опубликовано:

 

5 сен 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 784   
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад
สอนวิเคราะห์ไขมันในเลือด เมื่อไหร่ต้องรักษา #ไขมันในเลือดสูง #Statinมีประโยชน์#ยาลดไขมันไม่ฆ่าคุณ เวลาเจาะเลือดตรวจไขมันจะมี 1. Total Cholesterol โดยทั่วไปควรน้อยกว่า 200 2. LDL Cholesterol หรือ LDL-C ควรจะเป็นเท่าไหร่ เพราะในแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของท่านมีมากน้อยแค่ไหน 3. Triglyceride หรือ TG ส่วนใหญ่ต้องการให้อยู่น้อยกว่า 150 4. HDL ผู้ชายควรเกิน 40 ขึ้นไป ส่วนผู้หญิงควรเกิน 50 ขึ้นไป เหตุผลที่เราต้องรักษา LDL-C หลักๆเพื่อป้องกันการเกิด ASCVD หรือ Atherosclerotic Cardiovascular Disease ( Athero = หลอดเลือด sclerosis = แข็ง หลอดเลือดที่มีความยืดหยุ่นต่ำ เกิดจากมีไขมันไปพอกบริเวณผนังเส้นเลือดมากๆแล้วแคลเซียมไปเกาะ หลังจากนั้นทำให้เกิดการอุดตันและเลือดไปเลี้ยงบริเวณต่างๆไม่เพียงพอ) ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад
4. กลุ่มที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่เคยแตกในอดีต หรือ มีไขมันเกาะหนาจนป่องออกมา เรียกว่า Aortic Aneurysm หรือ AA ถ้าเป็นที่ท้องจะเรียกว่า Abdominal Aortic Aneurysm หรือ AAA ถ้าเป็นในช่องทรวงอกจะเรียกว่า Thoracic Aortic Aneurysm ขึ้นอยู่กับว่าเป็นตำแหน่งไหน 5. หลอดเลือดสำคัญที่คอ (สามารถดูตำแหน่งเส้นเลือดนี้ได้ในนาทีที่ 5:42 เป็นต้นไป) จากจุดกึ่งกลางคอด้านหน้าลากชนคาง ลากไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เพราะมีทั้ง 2 ข้าง ลากไปจุดกึ่งกลางคอชนกราม เราจะคลำชีพจรได้ ตรงนั้นจะเรียกว่า Carotid Artery ถ้ามีอะไรไปพอกอยู่ข้างในจะถือว่าเป็นโรคหลอดเลือดส่วนปลายที่มีความสำคัญ หากตีบเกิน 70% จะต้องได้รับการรักษา อาจต้องใส่ stent หรือ ผ่าตัด หาก LDL เราสูงเราก็ต้องป้องกัน หรือ เกิดไปแล้วก็ยิ่งต้องทำการรักษา เพราะถ้าเราอิดออดต่อไป อาจเกิดซ้ำได้จนอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าเรารักษา LDL ได้แล้ว เราก็จะทำการรักษา Non LDL-Cholesterol ต่อไป ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад
==Primary prevention (การป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค)== จะแบ่งตามปัจจัยเสี่ยง 1. หากมีความดันสูง หรือ Hypertension คือความดันตั้งแต่ 140/90 เป็นต้นไป 2. สูบบุหรี่ 3. ผู้ชายอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป และ ผู้หญิงอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป 4. โรคอ้วน หรือ Obesity 5. โรคไต หรือ Chromic kidney disease (CKD) stage 3 ขึ้นไป ปกติจะแบ่งตามระยะการทำงานของไต คือ eGFR ต่ำกว่า 60 เป็นต้นไป ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด 6. เบาหวาน หรือ Diabetes (DM) ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานแบบคุมด้วยอาหาร หรือ ยา ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ 7. เป็นโรคเกิดการอักเสบทั่วร่างกายบ่อยๆ หรือ Chromic inflammation เช่น รูมาตอยด์ SLE (โรคพุ่มพวง) HIV/AIDS มีประวัติครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดโดยเฉพาะอายุน้อย(ผู้ชายอายุน้อยกว่า 55 ปี และ ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65) หรือเป็นกันหลายคน ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ตอนที่4
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад
หากมี LDL-C มากกว่า 190 โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 7 ข้อด้านบน ยิ่งต้องทำการป้องกัน มักจะต้องกินยา เพราะไม่สามารถคุมด้วยอาหารได้ หากต้องการควบคุมด้วยอาหารควรจะตรวจซ้ำภายใน 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง ถ้ายังไม่ลงแนะนำว่าควรจะใช้ยา เพราะจะเสี่ยงมาก และถ้า LDL-C สูงมากๆอาจจะเสี่ยงเป็นโรค Familial hypercholerterolemia (FH) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้คอเรสเตอรอลสูงมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น large LDL แต่ก็เสี่ยงในการเป็นโรค ASCVD สูงมากๆ ซึ่งกลุ่มนี้ควรใช้ยากลุ่ม statin ทันที หากท่านมี LDL-C ต่ำกว่า 190 - ถ้าอายุ 20-39 ส่วนใหญ่ยังไม่ต้องใช้ยา ให้ใช้วิธีคุมอาหารออกกำลังกาย ก็อาจจะลงไปได้เอง แต่ควรจะต้องตรวจซ้ำ ไม่ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงมากๆ ควรจะต้องตรวจไขมันซ้ำอยู่เรื่อยๆว่าถ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น คราวนี้ตรวจเป็น 160 คราวหน้า 3 เดือน เป็น 180 อีก 3 เดือนเป็น 200 กว่า แบบนี้อาจจะต้องกินยาแล้ว - หากอายุ 40-75 ปี ต้องมาประเมินซ้ำอีกครั้ง เพราะวิธีการคำนวณความเสี่ยงจะใช้กับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นส่วนใหญ่ จะมีการประเมิน ASCVD risk ที่ 10 ปี (สามารถประเมินความเสี่ยงได้ในลิงค์ใต้คลิป) 1. Low (ต่ำมากๆ) คือน้อยกว่า 5% ใน 10 ปี ควรต้องตรวจติดตามแต่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา 2. Borderline risk (เสี่ยง) อยู่ระหว่าง 5% - 7.4% อาจมีความจำเป็นต้องรักษา 3. Intermediate risk (เสี่ยงค่อนข้างสูง)อยู่ระหว่าง 7.5%-19.9% อาจมีความจำเป็นต้องรักษา ตอนที่5
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад
ในกลุ่มที่ 2 และ 3 จะเป็นกลุ่มกลางๆที่มีความเสี่ยง (อยู่ระหว่าง 5%-19.9%) มีความจำเป็นที่จะต้องรักษา จะเรียกว่า Risk enhancement factor เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ASCVD เพิ่มขึ้น เพราะเราอาจเลือกที่จะใช้ยาหรือไม่ใช้ยาก็ได้ หากมีเยอะๆเราควรจะให้ยาเร็วขึ้นเท่านั้น โดยจะแบ่งตามปัจจัยเสี่ยง 7 ข้อด้านบนว่ามีกี่ข้อ - 0-1 ข้อ อาจยังไม่ต้องให้ยา แต่ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังแล้วมาตรวจซ้ำ หากยังไม่ดีขึ้นควรต้องใช้ยา เราควรจะให้ LDL-C ของเราไม่เกิน 160 - 2 ขึ้นไป จะต้องให้ยา statin เราต้องการให้ LDL-C ของเราต่ำกว่า 130 ตอนที่6
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад
นอกจากนี้ยังต้องมี Metabolic Syndrome หรือ เรียกว่า Syndrome X คือ หากมีเกิน 3 ข้อ จะถือว่าเป็น Metabolic Syndrome ทันที ได้แก่ - ความดันสูง - เส้นรอบเอว ในผู้ชายเกิน 35-40 และผู้หญิงเกิน 30-35 โดยให้เราวัดตำแหน่งสะดือไม่แขม่ว หรือ ยื่นพุง หายใจตามปกติ - ค่า HDL ต่ำ ผู้ชายต่ำกว่า 40 ผู้หญิงต่ำกว่า 50 - คนที่มีน้ำตาลสูง อาจไม่ถึงกับเป็นเบาหวาน โดยที่ A1C อยู่ที่ 5.7 - 6.4 หรือถ้าเป็นเบาหวานก็จะชัดเจน - Triglyceride เกิน 150 - คนที่หมดประจำเดือนต่ำกว่าอายุ 40 ปี - หากมีครรภ์เป็นพิษ หรือ Pre-Eclampsia - LDL-C อยู่ที่ 160-189 มีแนวโน้มใช้ statin เร็วขึ้น - การตรวจพิเศษ เช่น HSCRP หรือ High Sensitivity C-Reactive Protein มีค่าตั้งแต่ 2 mg/dl ขึ้นไป การตรวจ Lipoprotein(a) เกิน 50 ขึ้นไปก็เสี่ยง การตรวจ Ankle Brachial หรือ ABI เป็นการตรวจวัดความดันที่แขน ขา(ข้อเท้า) ว่ามีความแตกต่างกันเท่าไหร่ หากต่ำกว่า 0.9 ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูง - Coronary Artery Calcium Scoring หรือ CAC จะดูเฉพาะกลุ่ม​Metabolic Syndrome เท่านั้น ตอนที่7
@Munlovely
@Munlovely Год назад
บอกตรงๆว่าปลื้มกับคุณหมอท่านนี้มากๆค่ะ ติดตามฟังท่านเสมอทำให้มีความรู้สามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ดี ดูคุณหมอหลายๆท่านที่ทำคลิปอยู่ใน RU-vid แล้ว (ความเห็นส่วนตัวนะคะ) ชอบอาจารย์หมอท่านนี้มากที่สุดสมกับที่มีหัวใจเป็นคนไทย ถึงแม้ว่าท่านจะอยู่ต่างแดนแต่ก็ให้ความรู้กับคนไทยได้ดีมากๆ ขอปรบมือให้เลยค่ะ
@maejaaacer677
@maejaaacer677 Год назад
เห็นด้วยค่ะ ปลื้มอาจารย์หมอมาก
@prapaipiggott9185
@prapaipiggott9185 Год назад
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
@smithbengoorian7081
@smithbengoorian7081 Год назад
บางท่านก็จัดสัมนาเป็นหลัก เนื้อหาน้อยครับ กว่าจะได้เรื่องก็เกือบหมดเวลา
@teresa19632506
@teresa19632506 11 месяцев назад
ถูกต้องค่ะ 100% ส่วนใหญ่แฝงขายของ เท่าที่ฟังมาตั้งแต่ 4k sub คุณหมอไม่เคยคอยบอกให้กดไลค์กดแชร์กด sub etc. แต่สำหรับเราฟังแล้วทำเองค่ะ ทั้งแชร์คือฟังแล้วรู้สึกมีแต่ความรู้ล้วนๆ เลยอยากให้ทุกคนที่รู้จักได้ดู. โดยเฉพาะเรื่องอาหารเสริม หลายคนคงไตร่ตรองดีมากขึ้นก่อนคิดจะซื้อกิน 🙏🙏
@teresa19632506
@teresa19632506 11 месяцев назад
​@@smithbengoorian7081ช่องนี้เนื้อล้วนๆ สาระล้วนๆ เลยค่ะ
@mukealeeja.4429
@mukealeeja.4429 Год назад
We are proud กับคุณหมอ แทนนี่ อย่างมากๆค่ะที่เปนหมอไทยและเปนคนอยู่เมกาได้เก่งและมีความรู้ที่ดี ที่สุดดีต่อคนไทยทั้งประเทศ ขอบคุณมากค่ะ ขอส่งพรให้คุหมอแทนนี่ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดๆไป ❤
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
คลิปใหม่วันนี้ เข้มข้นที่สุด เพราะเป็นเรื่องของไขมันในเลือด วิเคราะห์ และอธิบายโดย นพ.ธนีย์ ธนียวัน M.D. 1. ยาลดไขมันถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยชีวิตผู้คนมากมายทั่วโลกที่มีปัญหาเรื่องไขมัน 2. หลายคนต้องมาทานยาลดไขมันเพราะอะไร? ก็เพราะท่านบริโภคเกินพอดี หรือบริโภคผิดหลัก จนไขมันทะลุเพดาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องทานยาลดไขมัน ก็ต้องทาน ยาลดไขมันไม่ได้ฆ่าคุณ 3. ท่านที่จำเป็นต้องทานยา Statin ซึ่งมีหลายตัว ยานี้มีผลดี ผลเสียอย่างไร และเมื่อเกิดผลข้างเคียงท่านต้องทำอย่างไร ฟังข้อแนะนำจากอาจารย์หมอนะคะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 года назад
@ FragranzaTrippa ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆข้อมูล ⚘💙⚘
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
@@boomsong5729 เช่นกันค่ะคุณมนต์ ขอเรียนถามค่ะ เคยเป็นเมมเบอร์ช่องคุณหมอมาก่อนไหมคะ หรือไม่เคยเป็นเลยคะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 года назад
@@FragranzaTrippa เรียนคุณ FragranzaTrippa ค่ะ ยังไม่เคยเป็นเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ 💙
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
@@boomsong5729 ยินดีค่ะ...
@phorntkn3220
@phorntkn3220 2 года назад
ไม่มีความรู้เรื่องหมอเลย แต่คุณหมออธิบายได้ละเอียดมาก เข้าใจว่า ควรรับยาหรือปรับเปลี่ยนอาหาร กับ ความเสี่ยง ที่จะเกิด ต่อไป / ป้า 65 ปี ความดันปกติ น้ำตาลเปี่ยม 99 cholesterol 239 HDL 64 LDL 157 ก็มีความคิด จะไม่รับยา เลย แต่ดูแลเรื่อง อาหาร แต่ฟังคุณหมอ คงต้อง อีก 2 เดือน ตรวจอีกครั้ง เพื่อพิจารณา ว่า LDL จะลดไหม ไม่งั้นคงต้องรับยา / ขอบคุณที่ สละเวลา อธิบาย ได้ชัดเจนมาก ขอบคุณ ๆๆๆๆ 🤩🤩🤩💗💗💗
@amorn0191
@amorn0191 2 года назад
ขอบคุณมากครับได้ฟังแล้ววางไม่ลงเลยได้สาระความรู้ครบรอบด้านและละเอียดดีเข้าใจได้ง่าย รอฟังข้อกาหนดและการใช้ statin คลิปต่อไปครับ..เพราะตอนนี้ทานอยู่ จาก LDL-C 197 ไม่มีปัจัยเสี่ยงอะไรแต่คุณหมอให้ใช้ยาเพราะอายุเข้าเลข 4 ตอนนี้ LDL-C ล่าสุด 85 ใช้ยาร่วมกับการคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่มีข้อกังวลเล็กน้อยกับการใช้ยารอฟังครับ..
@PanupongPengphasuk
@PanupongPengphasuk 4 месяца назад
ผมอายุ 32 LDLสูงถึง201 เเต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ควบคุมอาหาร 4 เดือนถัดมาตรวจอีกครั้งลดลง 170 หมอที่ตรวจเเนะนำให้ควบคุมอาหารเเละออกกำลังกายต่อไป ปล.หมอที่ตรวจเเนะนำให้ผมมาหาความรู้ในช่องทางออนไลน์เอาเอง เพราะ เป็นความรู้ทั่วไปหาง่าย เเต่ผมว่าไม่ง่ายเลยที่จะมีหมอดีๆเเนะนำเเบบคุณหมอ ผมขอขอบคุณมากๆครับที่เเชร์ความรู้นี้ครับ
@Richy6585
@Richy6585 2 месяца назад
ลด LDL เก่งมากเลยค่ะ นี่ลดไม่ได้เลย ขนาดออกกำลังกายและควบคุมอาหารบ้าง แต่ไปตรวจค่าLDLไม่ลดลงเลย 200+ ปัจจุบันเลยต้องกินยา
@J-1WQ
@J-1WQ Месяц назад
เรา 33 LDL 164 หมอจะให้กินยา เราเลยขอไปคุมอาหารก่อน ครั้งหน้าค่อยว่ากัน หมอนัด 3 เดือน
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
🙎‍♂เห็นอาจารย์เขียนเครื่องหมาย Rx ซึ่งหมายถึง ยา ไปลองหาข้อมูลดูว่า Rx คืออะไร เพราะเห็นบ่อยมาก มันคือ สัญลักษณ์ซึ่งจะปรากฎบนใบสั่งยาจากแพทย์ ที่เขียนให้กับเภสัชกร ซึ่งหมายความว่าให้เภสัชกรไปจัดยาตามที่แพทย์สั่งนั่นเอง โดยในสมัยโบราณ ยาจะได้จากการปรุงผสมขึ้นเองด้วยมือ ตัวอาร์ที่ลากลงมายาวๆแล้วขีดขวาง “R/” หรือ "Rx" อ่านว่า อาร์ เอ็กซ์ เป็นคำย่อที่มาจาก “recipere” อ่านว่า รีซิเป ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลว่า จงเอา หรือ to take แปลว่า จงเตรียมยา หรือ จงปรุงยาตามที่ระบุไว้ ซึ่งเวลาที่แพทย์เขียนใบสั่งยา จะขึ้นต้นด้วย Rx แล้วตามมาด้วยส่วนผสมต่างๆของยา
@OppoOppo-pw8in
@OppoOppo-pw8in 2 года назад
อาจารย์ครับ สมัยเด็กๆเรียนคณิตศาสตร์ อักษร X ส่วนใหญ่จะถูกสมมุติให้แทนในสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร หรืออย่างในหนัง X men คือมนุษย์พิเศษที่เราไม่รู้ว่าคืออะไรกันแน่ ......อันนี้เดาเล่นสนุกๆนะครับ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn 2 года назад
@@OppoOppo-pw8in ทางการแพทย์ และ ด้านอื่นๆ ตัวนี้ใช้ เป็นจำนวนนับ ตัวเลข ด้วยค่ะ 😀😃 ขึ้นกับ เราคุ้นชิน กับอะไร หรืออยู่วงการไหนมากกว่า ตัวเดียวกัน อาจพูดกันคนละเรื่องเลยก็ได้ค่ะ ขนาดวงการแพทย์คนละสายงาน ใช้ตัวอักษรย่อ ยังหมายถึงโรคไม่เหมือนกันเลยค่ะ ก็มีค่ะ คุยกันทีกว่า จะคุยกันรู้เรื่อง 🤣 🤣( บางอย่างไม่ทางการ ไว้สื่อสาร เฉพาะกลุ่มวิชาชีพก็มี ) 😀😃😄😁
@user-ql7nd6bh6h
@user-ql7nd6bh6h Год назад
ขอบคุณที่ทุ่มเทเพื่อสุขภาพคนไทย แม้อยู่ต่างแดน อาจารย์หมอเป็นคนจิตใจดีมากๆ ขอให้บุญกุศลหนุนนำให้สุขกาย สุขใจ นะคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
อาจารย์สอน _วิเคราะห์ไขมัน_ มาแค่ 2 วัน มียอดวิวเกือบ💥26,000 ครั้ง💥แล้วค่ะ สุดยอดค่ะ👍👍👍 อาจารย์สอนเก่งมากๆ สมศักดิ์ศรีอาจารย์แพทย์จริงๆค่ะ คลิปนี้ค่อยๆสร้างความเข้าใจเรื่องไขมันในเลือด และยาลดไขมันที่บริษัทยาตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ที่มีปัญหา หลายๆคนเริ่มเข้าใจแล้วว่า ยาลดไขมันมีประโยชน์สำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
ก่อนโพสต์เกือบ 26,000 ครั้ง หลังโพสต์แป๊บเดียวเกิน 26,000 ครั้งแล้วค่ะ!
@user-ew3gz9eg7m
@user-ew3gz9eg7m Год назад
ขอบคุณที่สละเวลาเพื่อให้ความรู้ ทุกคนควรฟังได้ประโยชน์ดีมาก เป็นความรู้ที่ดีต่อการ ดููแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน ขอบคุณ คุณหมอมาก ๆ ค่ะ
@boomsong5729
@boomsong5729 2 года назад
สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ ไม่ว่า FC จะถามเรื่องใด คุณหมอก็ใส่ใจ พากเพียร หางานวิจัย พร้อมถ่ายทอดความรู้ วันนี้ข้อมูลอัดแน่นมาก ไม่มีช่องว่างให้ถามเลยค่ะ ถ้าให้อ่านงานวิจัยเอง คงยากมาก คุณหมอย่อยให้เข้าใจ ( ฟังหลายรอบค่ะ ) ในเวลาครึ่งช.ม.กว่า ไม่ต้องสงสัยเลยค่ะว่าเหตุใด ยอดซับสไครบ์พุ่งเร็วมากๆ คุณหมอคงเหนื่อยมาก เป็นกำลังใจให้นะคะ พักผ่อนมากๆ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มึสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขนะคะ
@Euang-Mali
@Euang-Mali 2 года назад
😊🙏💖 เห็นด้วยเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
😘😘😘😘😘ขอบคุณเช่นกันค่ะ
@supinyak.7174
@supinyak.7174 2 года назад
ขอบคุณมากๆๆคะ คุณหมอ ขอฟังซ้ำหลายๆรอบเพื่อความเข้าใจ และเราไม่ได้รับคำอธิบายจากหมอ เรา แต่เราก็โชคดี ที่มีความรู้ความเข้าใจ จากคุณหมอ มาแนะนำให้ความรู้แก่เรา ขอบคุณคุณหมอ ขอบคุณยูทูป ที่ทำให้เราได้เข้าถึงข้อมูลจากคุณหมอที่น่ารักและห่วงใย คนที่เจอโรคภัย ขอบคุณมากๆๆนะคะคุณหมอ 🙏😍
@AL86898
@AL86898 2 года назад
การป้องกันก่อนเกิดโรค และใครควรไปตรวจ ข้อ1ความดันสูง ข้อ2 มีโรคอ้วนคนอ้วน ข้อ3 เป็นโรคไต ข้อ4 มีเบาหวาน ข้อ5สูบบุหรี่ ข้อ6มีโรคที่เกิดการอักเสบบ่อยๆ โรครูมาตอย เก๊าข้อ7 ในครอบครัวมีคนเป็น ข้อ8 หญิงมีครรภ์เป็นพิษข้อ 9 ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ40 และข้อ10 คนเป็นโรคพุ่มพวง 💥จัดว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง และหัวใจ ได้ดังนั้นควร LDLไม่130ในคนอายุมากส่วนอายุ40-75มีความเสี่ยงที่อายุเวลาภายใน10ปีความเสี่ยงสูง20%แล้วและมีความเสี่ยงมากๆหลายข้อให้รักษาด้วยยากลุ่มสแตนตินคุณหมอจะมาพูดอีกครั้งการ กินยากลุ่มสแตนตินต้องที่มีคุณภาพสูงตามจำนวนมิลลิกรัม40-80 ต่อวันตามหมอสั่งและถ้าคนเกิน190 ต้องรักษาเพิ่มยาถ้าLDLไม่ลดลงและถ้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงส่วนถ้าคุมอาหารไม่ต้องตรวจเลือดซ้ำออกกำลังกายคุมอาหารอายุน้อยๆไขมันจะลดไปเองคนที่อยู่ในกลุ่มไม่ต้องทานยาส่วนคนอายุ75ปีขึ้นไม่ต้องรักษาด้วยการกินยาไขมันแต่ต้องติดตามดูอาการและตรวจเมื่อสงสัยว่าจะมีไขมันเพิ่มมากขึ้นทุก1เดือน3เดือนด้วยขอบคุณคุณหมอค่ะ👍🙏❤
@emiriiof2866
@emiriiof2866 Год назад
ขอบคุณค่ะ
@AL86898
@AL86898 Год назад
@@emiriiof2866 ยินดีค่ะ😊
@krongkaewarunsiri8866
@krongkaewarunsiri8866 2 года назад
ขอบพระคุณค่ะ ถ้าสมัยเรียนยายได้พบคุณหมอเป็นอาจารย์แล้วอธิบายได้ขนาดน้ีรับรองว่าเกียรตินิยมแน่ๆค่ะพูดจริงๆนะคะไม่ได้ยกยอเกิ่นจริงค่ะขนาดแก่ๆแบบนี้ตั้งใจฟังเข้าใจได้ดีเยี่ยมค่ะถึงแม้จะเป็นศัพท์ ทางแพทย์ก็ทำไมมันเข้าใจได้ดีมากชัดเจนเพราะเคยหาคำตอบแบบฟันธงแบบนี้ว่าใช้หรือไม่ใช้ยาไม่เคยเคลียร์เลยฟังมาหลาย ช่องมากเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเองเลยสนใจเป็นพิเศษ อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณหมอคุณครูค่ะ🙏❤️🤟
@paraneeplanantakuntorn
@paraneeplanantakuntorn Год назад
คุณหมอคะ คลิปนี้และอีกหลายคลิปในซีรีส์ไขมันและการรักษา เราย้อนหลังมาหาดูจาก playlist แล้วพบว่ามันมีประโยชน์สำหรับเราและทุกๆคน อย่างยิ่ง สามารถเข้ามาทบทวนกันได้ ทุกครั้งที่ได้ผลตรวจสุขภาพมา คลิปนี้คุณหมออธิบายดีมากที่สุดทำให้เข้าใจ concept การรักษา เข้าใจว่าพฤติกรรมที่ผ่านมาเราทำให้เกิดความเสี่ยงอะไรกับร่างกายบ้าง ไม่ควรตื่นตูมกับเรื่องอะไร ควรเชื่อมั่นกับการรักษาภายใต้หลักการประเมินความเสี่ยง เราประทับใจมากจริงๆและขอกราบขอบพระคุณน้ำใจคุณหมออีกครั้งที่เมตตายอมเหนื่อย ทำคลิป the best of all time อธิบายสาระหลักการผู้ฟังได้รู้ข้อเท็จจริง
@infinland6471
@infinland6471 22 дня назад
เป็นประโยชน์มากๆค่ะ ปลื้มคุณหมอมากๆด้วยอีกคนค่ะ คุณหมอมีเมตตาจริงๆ เผื่อแผ่ความรู้ให้สมาชิกได้ฟังข้อมูลดีๆ ขอบพระคุณมากๆค่ะ❤
@samonpornsuttibak7470
@samonpornsuttibak7470 2 года назад
ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ฟังเข้าใจ อธิบายได้เข้าใจดีมากค่ะ เป็น 40 นาทีที่ตั้งใจฟังมากค่ะ เพราะอยู่ในครอบครัวที่มีปัจจัยเสี่ยง และพี่ชายก็พึ่งเกิดเหตุการณ์เส้นเลือดในสมองแตก อยู่ระหว่างการรักษาค่ะ อนุโมทนาบุญกับคุณหมอด้วยค่ะ
@FL19352
@FL19352 Год назад
ขอบพระคุณมากที่มีเรื่องราวสาระดีๆ ที่มีประโยชน์ มาเล่าให้ฟังเสมอ ทั้งทางวิชาการ สุขภาพทั่วๆไป และเรื่องรอบๆ ตัว เหตุการณ์ทันโลก และ ทันโรค 🙏🥰คุณหมอมีนำ้ใจจิตใจเมตตา เผื่อแผ่สังคมอย่างต่อเนื่องเสมอ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
วันนี้ยอดผู้ติดตามช่อง RU-vid ของ Doctor Tany เพิ่มเป็น ✴3.07 แสนคน✴แล้วค่ะ เป็นช่องที่นำเสนอความรู้ด้านสุขภาพ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ติดตามแล้วชีวิตจะมีความสุขค่ะ 💐💐💐💐💐💐💐💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐💐💐💐💐
@boomsong5729
@boomsong5729 2 года назад
@ FragranzaTrippa ขอบคุณมากนะคะ ⚘💙⚘ @ Doctor Tany ยินดีกับคุณหมอด้วยนะคะ 🌻🧡🌻 หลับฝันดี ราตรืสวัสดิ์ค่ะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
@@boomsong5729 ขอบคุณค่า...
@kotchakornharindech2906
@kotchakornharindech2906 2 года назад
ได้รับความรู้มากมายเลยคะ ไม่ใช่หมอ แต่ฟังแล้วพอเข้าใจ เพราะคุณหมออธิบายละเอียด ขอบคุณคุณหมอมากคะ
@KruGung
@KruGung 9 месяцев назад
ขอบคุณ​มากค่ะ​ คุณ​หมออธิบายได้ดีค่ะ​เราอยู่ในกลุ่มอายุระดับกลางที่ต้องตรวจเป็นระยะแล้วค่ะเข้าใจง่ายถึงจะมีศัพท์​ทางแพทย์พอเข้าใจได้​เพราะคุณ​หมอแปลความหมายให้ทั้งหมดฟังแล้วมีประโยชน์​มากๆค่ะ🙏👍
@pairinito8977
@pairinito8977 Год назад
คลิปนี้ดีมากเลยค่ะ ได้ลายระเอียด ที่คุณหมอเขียนออกมาให้เลย แบบนี้จะได้จำได้ ความจำยิ่งไม่ค่อยจะดีด้วย ขอบคุณมากคะคุณหมอ ทำแบบคลิปนี้บ่อยๆนะคะ
@piroadsam446
@piroadsam446 Год назад
เป็นหมอที่ให้คุณประโยชน์ต่อคนไทยได้มากจริงๆๆไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง..ไม่ขายยา..ขายของบอก..มบอความรู้แบบเนื้อๆๆไม่เยิ้นเย้อ..สุดยอดคุณหมอจริงๆๆกราบงามๆๆคะ
@touringthailand9267
@touringthailand9267 Год назад
ข้อมูลมีประโยชน์กับปชช. มากๆ เราคลอฯ 200 มา 4 ปี ฟังแล้วก็โอเค ใครกล้าเถียงอจ. แพทย์อเมริกา #ทุกครั้งจะอ้างอิงผลงานวิจัยเสมอ #เถียงกันด้วยผลงานวิจัย เท่านั้น
@natratrittisang9987
@natratrittisang9987 11 месяцев назад
ในโลกนี้.ข้าพเจ้าพบแล้ว.เทพบุตรในคราบมนุษยชน..น้อมอนุโมทนาในพระธรรมทานนี้..ทานนี้สูงสุดแห่งกุศล.
@jedimuron
@jedimuron Год назад
ขอบคุณมากๆเลยครับอาจารย์ ขอเป็นกำลังใจในการทำคลิปให้ความรู้ครั้งนี้นะครับ เข้าใจง่ายและละเอียดดีครับ นำไปใช้ได้จริงเลยครับ
@user-vp2uu1gs6c
@user-vp2uu1gs6c Год назад
ฟังคุณหมอพูดเหมือนได้เรียนแพทย์ ได้ความรู้มาก อธิบายได้ดีมากครับ
@maneeann
@maneeann 2 года назад
ขอบคุณค่ะอาจารย์แทน วันนี้เรียนสนุกเลยค่ะ 📖 อาจารย์พูดเป็นขั้นตอน อธิบายฟังเข้าใจง่ายค่ะ 👨‍🦰🩺 พูดถึง... 🔘 LDL-C ว่าจะรักษาอย่างไร และเมื่อใด เพื่อป้องกันการเกิด ASCVD (Atherosclerotic Cardiovascular Disease) โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย 🔘 Prevention การป้องกัน ซึ่งมี 2 อย่าง คือ : Primary prevention คือการป้องกันโรคก่อนที่จะเริ่มมีอาการ หรือป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรค : Secondary prevention ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรค ตั้งแต่คนไข้ยังไม่แสดงอาการ เพื่อที่จะได้แก้ไขตั้งแต่ระยะแรก 🔘 เป้าหมาย และแนวทางการรักษาภาวะ LDL-C สูง : ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต : การรักษาด้วยยา Statin 🔘 การติดตามผล ปล. ดิฉันได้ทำ 📝 Short note ไว้ดูส่วนตัวแล้ว จะติดตามต่อวันพรุ่งนี้ค่ะ 🥱 วันที่ 24 สิงหานี้ ที่ทำงานจะมีการตรวจร่างกายประจำปีบุคลากร รอดูผลไขมันของตัวเองค่ะ
@thisisnathathai
@thisisnathathai 2 года назад
👍♥️♥️
@user-jt3mn6vp2p
@user-jt3mn6vp2p 2 года назад
ข้อมูลดีมากให้ความรู้ละเอียด ขอบคุณค่ะ
@catsasiporn2411
@catsasiporn2411 Год назад
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ มีประโยชน์จริงๆ ค่ะ คุณหมออธิบายเข้าใจง่ายมาก สามารถนำมาใช้ดูสุขภาพได้จริงๆ ว่าควรตัดสินใจทำอย่างไรต่อไป เป็นคำปรึกษา การให้ความรู้ ที่เราไม่รู้ว่าจะไปหาแบบนี้ได้ที่ไหน ขอบพระคุณมากจริงๆ ค่ะ
@jjbewithyou
@jjbewithyou 11 месяцев назад
ขอบคุณ อ. หมอ มากค่ะ คลิปนี้คนไม่มีความรู้ก็เข้าใจได้ ขออนุญาตส่งต่อให้บุคคลที่เรารักต่อไปนะคะ❤
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa 2 года назад
วันนี้อาจารย์ตอบคำถามในคลิปไขมันในเลือดเยอะพอสมควร ขออนุญาตส่ง Cannoli ของหวานของอิตาลี ที่เป็นแผ่นบางกรอบ ม้วนเป็นทรงกระบอก ใส่ไส้ครีมชีสหวานๆและผลไม้เชื่อม เพื่อเพิ่มพลังงานค่ะ จากนั้นค่อยไปออกกำลังกายเอาออกนะคะอาจารย์😁😅
@user-pt8dc1ry1m
@user-pt8dc1ry1m 2 года назад
ขอบพระคุณอาจารย์ที่เสียสละเวลาทำให้ได้ความรู้และการป้องกันรักษาขอให้อจ.เจริญและมีแต่ความสุขตลอดไปคะ
@janejichu6464
@janejichu6464 7 месяцев назад
ตอนนี้ LDL สูงค่ะ หนูฟังหมอทุกเช้าเลยตอนนี้😊
@ployyy.2107
@ployyy.2107 2 года назад
สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลความรู้มากๆค่ะ ตอนนี้พยายามคุมอาหารอยู่ค่ะ LDLสูงนิดนึง130-140อายุจะเข้าเลขสี่แล้วค่ะคุณหมอนัดตรวจทุกสามเดือนค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะที่แบ่งปันความรู้...🥰🥰🥰
@somethingforlife
@somethingforlife Год назад
ขอบคุณคุณหมอที่สุดเลยค่ะ ที่ทุ่มเทเอาเวลามาลงคลิปให้พวกเราได้เข้าใจ ตอนนี้ LDL สูง จะเอาความรู้ที่คุณหมอ share เพื่อป้องกันรักษาตัวเอง
@thaikujira
@thaikujira Год назад
สอนได้ละเอียดมากเลยครับ ผมจะฟังหลายๆรอบเลยครับ ขอบคุณมากครับที่สละเวลามาทำวีดิโอยูทูป สุดยอดแห่งความรู้ เป็นความรู้ที่เนื้อๆและจำเป็นต้องรู้สำหรับแพทย์ครับ ผมเป็นหมอไอซียูไม่ค่อยมีเวลาทบทวนความรู้พวกนี้ครับ ขอบคุณมากครับ ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ การชะลอวัยแบบอีกช่องยูทูปก็ควรทำแต่ถ้าหลอดเลือดหรือระบบขนส่งในร่างกายเสียก็ไร้ประโยชน์ครับ ร่างกายขาดOxygen Energy nutrition deliveryที่มีประสิทธิภาพถึงแม้ ใช้oxygen consumption มีประสิทธิภาพแบบคนหนุ่มสาวครับ
@DrTany
@DrTany Год назад
เรื่องการชะลอวัยไม่ใช่สิ่งที่ผิดครับ ที่ไม่ถูกคือ "วิธี" ที่ใช้ต่างหากครับ กลุ่มอาหารเสริมชนิดต่างๆนั้นไม่มี Proven benefit in human study ครับ มีแต่ในเซลล์และสัตว์ทดลองซึ่งมันจะเกิดในคนได้หรือไม่ก็ไม่มีใครตอบได้ นอกจากนี้ยาบางอย่างไม่ควรใช้ครับ เช่น sirolimus ยาตัวนี้ผมเรียกได้ว่าเชี่ยวชาญในการใช้มากพอดู และผมรู้ว่ามันสามารถสร้างปัญหาอะไรได้บ้าง ดังนั้นไม่ควรใช้ถ้าไม่ได้มีเหตุผลจำเป็นครับ และเรื่องการชะลอวัยด้วยการกระตุ้น autophagy ยิ่งไม่สมควรเป็นเหตุผลนั้นครับ
@huangphuchii5879
@huangphuchii5879 2 года назад
เพิ่งไปตรวจร่างกายมาเลยค่ะ Cholesterol 236, HDL 79, LDL 145, TG 144 >> คุณหมอบอกว่าไขมันมันแปลไปมาได้ไม่น่าห่วง เลยกำลังสงสัยเลยค่ะว่า การวิเคราะห์มันต้องยังไง คลิปนี้มาพอดีเลยคุณหมอ ขอบคุณความรู้ๆดีๆคร้า
@kwonjihee3535
@kwonjihee3535 10 месяцев назад
สวัสดี​ดีครับหมอผมไป​ตรวจเลือด​มา​ ไขมันรวม​ 248 ไตรกลีเซอไรด์​ 112​ HDL.29​ LDL 196 ครับ
@DrTany
@DrTany 10 месяцев назад
ฟังตามคลิปครับ
@chutaratchanwigoon2469
@chutaratchanwigoon2469 10 месяцев назад
ได้ติดตามคุณหมอท่าน มานาน เลื่ิอมใส ความรู้ และใส่ใจได้ดีมากๆๆค่ะ
@adisornnik7627
@adisornnik7627 Год назад
ได้ความรู้มากครับ ผอมแต่คอเลสเตอรอลรวมสูงทั้ง HDLก็สูง กับ LDL ก็สูง คอเลสเตอรอล 212 ไตรกลีเซอไรด์ 96 HDL 53 LDL 140
@youwinchanel8623
@youwinchanel8623 Год назад
ตรวจสุขภาพ วท. 24/4/66 😅😅 Cholesterol 193 < 200 mg/dl LDL-Cholesterol 114 < 100 mg/dl Triglyceride 76 < 150 mg/dl HDL-Cholesterol 64 > 40 mg/dl ❤
@poonjariya
@poonjariya Год назад
กลับมาฟังซ้ำค่ะ เพิ่มความเข้าใจ ได้คำตอบให้ตัวเองว่า LDL เราต้องกดให้ต่ำกว่า70 ให้ได้ จาก 165 ตั้งเป้าหมาย ขอบคุณค่ะ หมอบอกให้คุม หวาน มัน เค็ม
@user-fb9er2xw5c
@user-fb9er2xw5c Год назад
ไม่ได้เรียนหมอแต่ชอบฟังชอบศึกษาตามที่หม สอน อย่างมีความสุขพร้อมนำผลเลือดตนเ งมาศึกษาเพราะจะเก็บข้อมูลการตรวจเลือดร่างกายตนเองไว้ในแฟ้มงานส่วนตัวไว้ทั้งหมด
@FL19352
@FL19352 2 года назад
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ได้รับความรู้มากๆ แม้ว่าไม่ได้มีความรู้ทางการแพทย์ ฟังแล้วสนุกดีด้วยเพราะเสียงคุณหมอฟังแล้วไม่น่าเบื่อเลยค่ะ 🙏 อย่างน้อยก็จำบางอย่างได้บ้าง เพื่อเข้าใจเวลาไปตรวจสุขภาพตัวเองค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงมีความสุขทุกวันค่ะ
@nokyoun6179
@nokyoun6179 2 года назад
ได้ความรู้มากๆเป็นประโยชน์ ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปี พบ ไขมัน 267 หมอให้รอตรวจซ้ำอีก 3 เดือน ความดัน 140 อายุ 56 ปี ไม่มีโรคประจำตัว
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 2 года назад
สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอวันนี้มาให้ความรู้ดีดีมีประโยชน์มากๆคะ เหมือนได้เรียนหนังสือคะ.😊👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹💕
@giftt1908
@giftt1908 Год назад
อยากให้คุณหมอพูดถึงการออกกำลังกายเพื่อลดLDLและเพิ่มHDLในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง เช่น ต้องคุมให้มีค่า HR เท่าไหร่ในระหว่างออกกำลังกาย HDL และ LDL มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการออกกำลัง อะไรประมาณนี้ค่ะ ถ้าคุณหมอได้เคยอธิบายไปแล้วต้องขออภัยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ ดีใจกับคนไทยที่มีอ.หมอเก่งๆมาคอยให้ความรู้นะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ 🙏🙏🙏
@DrTany
@DrTany Год назад
ออกทุกวัน แบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว เดินขึ้นบันได และต้องเหนื่อยตลอดเวลาที่ออก (เหนื่อยแบบที่ไม่สามารถพูดคุยได้ไหว) ไม่ใช่แค่เดินแกว่งแขน เล่นโยคะ หรือชี่กงนะครับ
@giftt1908
@giftt1908 Год назад
@@DrTany ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับข้อมูล มีประโยชน์มากค่ะคุณหมอ 🙏🙏🙏
@user-fo9ld6oe4b
@user-fo9ld6oe4b Год назад
ขอบคุณมากนะคะ หมอให้สแตนตินมากินก่อนนอนวันละ1เม็ด ยังไม่ได้เริ่มกินมาเป็นอาทิตย์ละค่ะ เพราะคิดว่าเราไม่มีอาการอะไร แต่พอมาฟังคุณหมออธิบายเข้าข่ายจะเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง คืนนี้ต้องเริ่มกินเม็ดแรกแล้วค่ะ ้ฟังแล้วเริ่มกลัวเลย
@user-wm7my5xu5s
@user-wm7my5xu5s 2 года назад
ขอความอนุเคราะห์คุณหมอในคลิปต่อๆไป ขอคุณหมอลงเรื่องเกี่ยวกับการรักษาโรครูมาตอยด์ ด้วยนะคะขอบพระคุณค่ะ
@kanyarossomboonpoonphol6420
ขอบคุณคุณหมอนะคะ อธิบายเข้าใจดีมากคะ จะได้นำไปใช้กับตัวเอง และดูแลสุขภาพได้อยางถูกต้อง เป็นประโยชน์มากๆๆ คะ
@noochjourney1080
@noochjourney1080 Год назад
ขอบคุณคุณหมอนะคะ ตัวเองตัดสินใจ พบคุณหมอหัวใจและหลอดเลือด และทานยา Statin แล้วค่ะ ตัวเองตรวจร่างกายประจำปีมาตลอด และตรวจเพิ่มหลายรายการ LDL สูง ล่าสุดวันเสาร์ ที่ผ่านมา คือ 256 ดูผลย้อนหลัง 10 ปี คือ LDL สูงขึ้นเกิน 200 มาตลอดเลยค่ะ เริ่มจากไม่อยากกินยา กลัวผลข้างเคียง สงสัยว่าตัวเองก็ทานอาหารระวัง ฟังคลิป หลายท่านบอกเรื่อง pattern A, B แล้วตัวเอง คือ HDL > 60, TG 50-60 เลยคิดว่า เรามี pattern A แน่ๆ เรื่อง LDL สูงคงไม่เป็นไรหรอก เลยไม่กินยา พอหลังๆ ปี สองปีที่ผ่านมา มีเดินๆ เจ็บขาด้านข้างเข่า ทั้งที่น้ำหนักไม่ได้เกินเกณฑ์ บางทีเป็นบ่อย บางทีก็ไม่เป็น เรียกว่า เข้าพบคุณหมอกระดูกและข้อ เกิน 5 ครั้ง คุณหมอบอกว่า เข่าเสื่อม เริ่มเสื่อม (คุณหมอเล่าขำๆ ว่า อายุเกิน 40 ก็มาครึ่งทาง ข้อก็เสื่อมได้) พบคุณหมอเข่า หลายครั้ง คุณหมอ มีวัดองศากระดูกด้วย บอกการเหยียดยืด ก็เลยทำๆ) ตัวเอง อยากหายเจ็บขา ปลายๆ เท้า ว่าจะไปตรวจ ABI ช่วงสิ้นเดือนอีก แต่พอฟัง คลิปคุณหมอ ไล่ๆ ทุกคลิป คือ มีประโยชน์มาก (รู้สึกว่า ตัวเองเสี่ยงชีวิต ldl 256 และเกิน 200 กว่ามาตลอดหลายปี ด้วยความคิดที่ผิดๆ มาตลอด) บางทีชาๆ ก็ไปหา vitamin calcium มาทาน คุณหมอ ให้ Xarator 10mg 1 เม็ดทุกวัน เริ่มทานมาสองวัน นัดเจาะเลือด อีก 2 เดือนค่ะ ขอบคุณคุณหมอ ที่ช่วยให้ความรู้จริงๆ ตอนนี้ ไปอ่านเรื่อง Familial Hypercholesterolemia, Pheripheral Arterial Disease พอคุณหมอบอก risk อันมากมาย ฟังแล้ว นี่คือเรา take risk มาตั้งนานนับปี เพราะความโง่เขลา อิดออด เข้าใจผิด รับฟังข้อมูลที่ทำให้เราคิดเอาเอง ว่าไม่เป็นไร โดยไม่ศึกษาอย่างแท้จริง ขอบคุณนะคะ you’ve changed my life เปลี่ยนความคิด ให้เราศึกษาอะไรให้ละเอียด ถ่องแท้ ดูหลายด้าน
@DrTany
@DrTany Год назад
เป็นกำลังใจให้นะครับ แข็งแรงไวๆสุขภาพดีครับ
@user-cl4rb7un2s
@user-cl4rb7un2s Год назад
สุดยอดจริง ดีใจที่หมอมจัดคลิปให้ความรุ้ ไม่มีหมอคนไหนในรพมาพูดละเอียด ดีมากๆค่า เข้าใจหมด ให้ ปยมากๆ ขอชมเชยคลิปนี้ ดีจริงๆ
@narepatsawadisavee740
@narepatsawadisavee740 Год назад
ขอให้คุณหมอเป็นหมอที่เป็นพระโพธิสัตว์กับเพื่อนมนุษย์มีบุญในวิชาชีพติดตัว เป็นบุญอัศจรรย์ที่ติดตัวข้ามชาติค่ะ
@arinatomy
@arinatomy 2 года назад
อาจารย์สรุป management of hyperlipidemia ในครึ่งชั่วโมงได้ สุดยอดมากๆเลยค่ะ ได้ทบทวนความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปด้วย
@maneeann
@maneeann 2 года назад
+1 😊
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 10 месяцев назад
รบกวนคุณหมอแนะนำผล CBC ครับ Haemoglobin type: EA Haemoglobin A: 72.3 Haemoglobin A2: 0.0 Haemoglobin E: 27.7 Haemoglobin F: 0.0 Haemoglobin: 12.8 Haematocrit : 38.4 MCV: 77.1 MCH: 25.7 Osmotic fragility test : positive Haemoglobin type interpretation: Hb E Trait WBC 6,500/ ul Eosinophil 6% (absolute count =390) RDW 14.2% Platelet 274,000 Iron 131.07 ug/dl Total iron binding capacity 303.07 ug/dl Transferrin Saturation 43.25% Ferritin 47.2 ng/mL เหมือนเลือดจะจางเพิ่มขึ้นน่ะครับคุณหมอ พอจะมีคำแนะนำไหมครับว่าต้องทำอย่างไรต่อครับ ไม่พบเลือดออกในอุจจาระหรือมีอาการทางระบบทางเดินอาหารใดๆครับ หมอจับแล้วเหมือนม้ามโตมาชืดขอบซี่โครงซ้าย แต่ดูจากผล U/S บอกปกติ ขอบคุณคุณหมอมากๆครับ
@DrTany
@DrTany 10 месяцев назад
ดูแล้วมันไม่ต้องทำอะไรนะครับ ธาตุเหล็กปกติ ส่วน HbE trait นี่ก็ไม่อันตรายอะไรครับ
@siriratfairley1375
@siriratfairley1375 Год назад
อธิบาย​ละเอียด​ เข้าใจง่าย ขอบคุณ​มาก​ค่ะ​
@tanavutveratar857
@tanavutveratar857 Год назад
หมอแทนครับ ผมอยากทราบความไว ของการเปลี่ยนแปลงการกินอาหาร กับปริมาณไขมันในเลือดครับ เช่น จากเดิมค่าไขมันในเลือดปกติ มีงานฉลอง กินเนื้อมัน ขนมหวาน แอลกอฮอล์ มากๆ ค่าไขมันในเลือดจะสูงทันทีเลยไหมครับ และหากหลังจากนั้นกลับมาทานปกติ ไม่หวาน ไม่มัน ไม่มีแอลกอฮอล์ นานเท่าไรค่าไขมันในเลือดถึงลงมาเป็นค่าปกติครับ
@DrTany
@DrTany Год назад
มันก็ไม่ทันทีหรอกครับ แต่ถ้าเราทำอะไรเป็นประจำมันก็จะส่งผลในเวลาเป็นสัปดาห์ครับ
@chaliajamjan9793
@chaliajamjan9793 Год назад
หลานที่บ้านอายุ 19 ปี เป็น ไขมันเยอะแล้วค่ะ เกือบจะต้องกินยาค่ะ
@pornpenpetsuksiri9665
@pornpenpetsuksiri9665 Год назад
ขอบคุณคุหมอมาเลยค่ะ เข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมากค่ะ เป็นบุญที่ได้ฟังความรู้นี้ ขอให้คุณหมอมีแต่ความสุข สวัสดิ์ในกาลทุกเมื่อค่ะ
@phanphan7138
@phanphan7138 Год назад
ใครฟังแล้วเข้าใจช่วยสรุปให้ฟังสั้นๆหน่อยครับ ฟังนานๆแล้วงง(60up)
@AvecBella
@AvecBella 2 года назад
Very thorough, easy listening, and clearly explained ka Doctor Tany! Thank you so much for the today’s talk! This clip is valuable and beneficial to Many. The impact of knowledge on patient education improves compliance and outcomes. The more clearly a disease is understood, the more likely the individual will be comfortable with their care and stick to the treatment plan. The fact that you committed time answering questions free from bias, you are closing the gaps in care between patient-physician. That’s admirable. Waiting for Part II on Statin tomorrow. How in depth will you be? PK/PD at cellular level? I’m excited. The Geek in me can hardly wait! 🤓📝 ♥️❤️❤️
@DrTany
@DrTany 2 года назад
Not down to PK/PD as I’ll have to explain every statin which may be too much ;) But it’ll be deep enough.
@AvecBella
@AvecBella 2 года назад
@@DrTany Beggars can’t be choosers! 😝
@DrTany
@DrTany 2 года назад
@@AvecBella I have a question for you... why do you think noses run and feet smell? Ain't the opposite should be true?
@AvecBella
@AvecBella 2 года назад
@@DrTany I don’t know what to think…🧐. Do you know Why?
@soontareesoontaree6725
@soontareesoontaree6725 Год назад
สวัสดีค่ะคุณหมอ ย้อนกลับมาฟังเรื่อง คลอเรสเตอรอล- แอล ดี แอล อีกครั้ง ก็เข้าใจแล้วค่ะว่าค่าไขมันสูงเท่าไรจึงควรใช้ยา แต่ที่สงสัยกับคำตอบในคอมเม้นต์ คือ "น้ำมูกไหล และเท้าได้กลิ่น" สิ่งที่ตรงข้ามมักเป็นความจริง หมายความว่าอย่างไรคะ 😇😇😇
@suwannamongkoladisai3118
@suwannamongkoladisai3118 2 года назад
เรียนสนุกมากค่า เรียนกับหมอเก่งระดับโลกมันเป็นอย่างนี้นี่เอง❤❤❤
@ypbkk
@ypbkk 2 года назад
อยากขอให้คุณหมอพูดถึงเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ จนกระทั่งเสียชีวิต เนื้องจากลูกสาวเพิ่งเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าวซึ่งทางนิติเวชฯ ระบุสาเหตุจากการผ่าพิสูจน์ ซึ่งสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยที่ลูกไม่เคยบอกว่าเจ็บหัวใจ เลย ถ้าคุณหมอพอมีเวลา ขอทราบเป็นวิทยาทาน ขอบพระคุณค่ะ
@smatinie2324
@smatinie2324 2 года назад
ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ 😥
@usaneeyawangkuntod
@usaneeyawangkuntod 2 года назад
ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ ขอโทษที่ถามนะคะ ไม่ทราบว่าลูกสาวของคุณเสียไปตอนอายุเท่าไหร่คะ
@ypbkk
@ypbkk 2 года назад
@@usaneeyawangkuntod อายุ 24 ปี พอดีค่ะ
@ypbkk
@ypbkk 2 года назад
@@smatinie2324 ขอบคุณค่ะ
@ypbkk
@ypbkk 2 года назад
@@usaneeyawangkuntod ขอบคุณค่ะ
@chutaratchanwigoon2469
@chutaratchanwigoon2469 10 месяцев назад
ขอบพระคุณมากๆค่ะ ได้ข้อมูลชัดเจน ( ปัจจุบันอายุ 72)
@oonphant3777
@oonphant3777 2 года назад
สวัสดี ค่ะ อาจารย์หมอ ถูกใจคลิปนี้มากเลยค่ะ ตรงกับสุขภาพตัวเองเลยล่ะ ทั้งๆที่น้ำหนัก อยู่ระหว่าง 46 ถึง 48 แต่ไขมันสูงตลอด โดยเฉพาะ ldl..เกินมาเยอะเลยค่ะ แต่ก็ยังโชคดีไตรกลีเซอไรด์ แค่ 77..(เคยกินยา statin 7 ปี จนถึงขอคุณหมอหยุดยา หันกลับมาดูแลตัวเองและออกกำลังกาย แต่ก็ยังสูงอยู่เหมือนเดิม แต่ไตรกลีเซอไรด์ไม่เคยสูงเลย 😀 )ถึงอย่างไรก็จะพยายามลด ldl ให้ได้ค่ะ..🙏🙏🙏🥰😘
@AL86898
@AL86898 2 года назад
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน ลายมือภ.อสวยฟังอย่างตั้งใจ เลยเข้าใจดีมาก ค่ะ กินยาอยู่กลุ่มสแตนติน40มิลลิกรัม เจาะเลือดครั้งแรกลืมว่าเท่าไหร่ ไตรกีเซอร์ไรค์ไม่สูง ไม่มีเบาหวาน ไม่มีความดัน ค่ะ ไม่อ้วน ไม่มีคนในครอบครัวเป็น อ้อมีในครอบครัวเป็นเก๊าค่ะ พี่ชายแท้ๆอายุหกสิบกว่าเค้าเป็นเก๊าก่อนแล้วมาหลอดเลือดฝอยแตกมีอาการปากเปรี้ยว ภรรยาเค้าอยู่ด้วยพาส่งร.พทันเข้าฉุกเฉิน ตอนนี้หายใหม่ๆพูดไม่ชัด กินยาอยู่อาการดีขึ้นกินยาตลอดค่ะ ตัวเองไม่เป็นเก๊า คุณแม่เป็นค่ะ💥 ถามว่า เราต้องมีประมาณไขมันเท่าไรLDL ในกลุ่มกลางค่ะ40-75💥และถ้ากินยาซ้ำไปสองครั้งในวันเดียวเป็นอะไรไหมคะ ขอบคุณคุณหมอค่ะ👍🙏❤
@DrTany
@DrTany 2 года назад
ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงอย่างที่บอกครับ ควรต่ำกว่า 130 ส่วนยาไม่ควรกินซ้ำครับ
@AL86898
@AL86898 2 года назад
@@DrTany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน🙏❤
@pitsawansukmek178
@pitsawansukmek178 Год назад
คุณหมอ หล่อ เก่ง ใจดีมีจิตอาสา🥰🥰🥰
@luxanawadeeboonyasirinun6378
@luxanawadeeboonyasirinun6378 2 года назад
วันนี้แวะมาเป็นกำลังใจให้คุณหมอเฉยๆ ค่ะ 😋 สอนเยอะ น่าจะเหนื่อย พักรับ กาแฟ☕️& เค้ก🍰หน่อยนะคะ สู้ๆ ✌️
@Hoshi1451
@Hoshi1451 2 года назад
🌷ขอบคุณค่ะ17/8/65🌷 คลิปเรื่อง"สอนวิเคราะห์ ไขมันในเลือด เมื่อไหร่ต้อง รักษา#ไขมันในเลือดสูง #statin มีประโยชน์ #ยาลดไขมันไม่ฆ่าคุณ รายละเอียดในคลิปอาจารย์ หมอสรุปจากหลักฐานทาง วิชาการมาให้แล้วจาก เอกสาร 239 หน้า หรือท่าน สามารถอ่านเองได้จากลิงค์ ที่อาจารย์หมอแนบไว้ที่ใต้ คลิปนะคะ และมีลิงค์วิธี คำนวณโอกาสการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจ หลอด เลือดสมองในระยะ 10ปี ด้วยนะคะ แนบไว้ที่ใต้คลิป ท่านสามารถกดดูได้ค่ะ ✨บางท่านสงสัยว่าต้องทาน ยาลดไขมันตลอดชีวิต หรือไม่เมื่อไขมันลดแล้ว หรือ สงสัยว่าทานยาแล้ว กล้ามเนื้อสลาย จะทำ อย่างไร ให้ท่านฟังคลิปให้ จบก่อนนะคะ มีรายละเอียด ต่อเนื่องคลิปวันนี้และ พรุ่งนี้ อาจารย์แนะนำว่า ในคลิปมีคำตอบค่ะ 🌈ขอบคุณมากค่ะ🙏
@kanoky7076
@kanoky7076 2 года назад
ขอบคุณนะคะ คุณหมออธิบายละเอียดมากๆคะ เป็นเรื่องที่ใกล้ๆตัว เพราะคนเป็นกันเยอะทุกช่วงวัย โรคกลุ่ม NCD เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจนอกเหนือจากโควิด วัคซีน นอกจากนี้ยังทำให้รุ้ว่าช่วงอายุกลุ่มไหนที่ควรติดตามทุก 3 เดือน 6 เดือน ช่วงไหนที่ควรรักษา และช่วงไหนไม่ต้องรักษา แล้วถ้า75ปีแต่ไม่ต้องรักษาหมายความว่าก้ต้องตรวจติดตามทุก 3,6 เดือนเหรอคะ 🙏
@DrTany
@DrTany 2 года назад
เกิน 75 รักษาไปไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรแล้วครับ เพราะประโยชน์เราจะเห็นได้ในเวลาเป็นปีๆ และคนเหล่านี้อาจจะเสียชีวิตไปก่อนด้วยเหตุผลอื่นๆ และเป็นกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากยาได้ง่ายด้วย ยกเว้นถ้า LDL >190 ก็ควรรักษาครับ
@kanoky7076
@kanoky7076 2 года назад
@@DrTany รับทราบ เข้าใจแล้วคะ เป็นเช่นนี้เอง ขอบคุณนะคะ 🙏
@aompimsawang4421
@aompimsawang4421 2 года назад
@@DrTany กราบขอบคุณ คุณหมอมากๆค่ะ ป้าLDL 147เห็นทีต้องทานยาเสียแล้ว เพราะ ลองคุมอาหาร if น้ำหนักลดจาก58 เหลือ 53 อต่ ldlยัง147ควรทานยาหรือเปล่าคะ.. หรือลอง ออกกำลังกายทุกวันอีกค่ะ ที่ผ่านมาออกกำละงกายน้อยไปค่ะ..ติดตามคุณหมอทุกคลิปเลยค่ะ..ขอให้คุณหมอสุขภาพดีแข็งแรง สุดหล่อไปนานๆนะคะ
@DrTany
@DrTany 2 года назад
@@aompimsawang4421 147 ถ้าไม่มีความเสี่ยงอื่นๆจริงๆก็ไม่ต้องทานยาได้นะครับ ลองฟังคำอธิบายตามนี้ครับ ru-vid.com/video/%D0%B2%D0%B8%D0%B4%D0%B5%D0%BE-TXAsPvuC9m0.html
@nono-rh3mb
@nono-rh3mb 11 месяцев назад
สวัสดีครับคุณหมอครับ รบกวนขอสอบถามผลตรงจเลือดครับ Eosinophils % 5.5 สูง จากค่าปกติ 0-4.1 ครับ Eosinophils # 0.29 x10*3/UL. จากค่าปกติ 0-0.45 สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้างครับ แล้วทำไมแปลผล 2 แบบครับ ขอบพระคุณคุณหมอครับ 🙏🙏🙏🙏
@Deksingburi
@Deksingburi Месяц назад
ไอ้พวกที่บอกว่า LDL ตัวใหญ่ไม่อันตราย ผมมั่นใจฟังหมอมาผิดแน่นอน, ผมฟังหมอเก่งๆหลายคนแล้ว เขาก็บอกว่าอันตราย แต่แค่อันตรายน้อยกว่าตัวเล็ก 😊
@krongkaewarunsiri8866
@krongkaewarunsiri8866 2 года назад
กราบ กราบกราบ ขอบพระคุณ คุณหมอและคุณครูด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ
@sunsaneesmittivate3177
@sunsaneesmittivate3177 2 года назад
ขอขอบคุณ Dr Tany มากค่ะ ข้อมูลที่คุณหมอให้มีประโยชน์มากค่ะ ติดตามเกือบทุกคลิบ ค่ะ
@user-nb2ki1cz7e
@user-nb2ki1cz7e Год назад
ได้ความรู้ ที่ต้องดูแลตัวเองและต้องพบแพทย์เป็นประจำ ขอบคุณคุณคุณหมอให้ความรู้มากเลยค่ะ🙏
@game-passakorn
@game-passakorn Год назад
ขอบคุณมากครับ เพิ่งไปตรวจมาพอดี เจอคลิปนี้มีประโยชน์มากๆ ครับ แจ่มกระจ่าง
@vijittrajittrarom1393
@vijittrajittrarom1393 2 года назад
ขอบพระคุณมากๆจริงๆค่ะคุณหมอ มีประโยชน์มากจริงๆ ละเอียดมากค่ะ เข้าใจง่าย จะแชร์ไปเพื่อนๆทุกกลุ่มค่ะ🙏❤️
@wanplsl1889
@wanplsl1889 Год назад
ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะฟังคลิปนี้หลายครั้งมาก จนตัดสินใจใช้ยาลด LDL อย่างจริงจัง
@mountainview9195
@mountainview9195 2 года назад
ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🌸 คลิปนี้มีประโยชน์มากค่ะ ทำให้เข้าใจภาพรวมทั้งระบบเลยว่าทำไมคุณหมอต้องให้ statin น้องชายก็ทาน Simvastatin อยู่ค่ะ ตั้งตารอติดตามเรียนตอนต่อไปพรุ่งนี้ค่ะอาจารย์ สนุกดีค่า🙏🤩🤓
@user-qc4uf1su8k
@user-qc4uf1su8k 2 месяца назад
ขอบคุณมากหมอที่ดูไม่ไช้หมอแต่เค้าใจ้ทีหมอพูดหมอพูดดีมาก
@Happy-yh9lz
@Happy-yh9lz 7 месяцев назад
ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ อธิบายละเอียดมากค่ะ ติดตามค่า
@wanwadee
@wanwadee 2 года назад
ขอบคุณค่า กำลังตัดสินใจว่าจะ on statin ไหมอยู่พอดีค่ะ อายุยังไม่ถึง 40 แต่หลังคลอดมา LDL สูงมาก แต่ยังให้นมอยู่เลยยังไม่ได้เริ่มกินยาเลยค่ะ รอตรวจซ้ำคุมอาหารอีกรอบ เคยคุมแล้วลดลงไปเหลือ 170 ค่ะ
@hunnicallmefreak
@hunnicallmefreak 7 месяцев назад
ขอบพระคุณมากค่ะ อ่านงานวิจัยควบคู่ไปด้วยค่ะตามที่คุณหมอแนะนำ
@user-im2rn3ui5j
@user-im2rn3ui5j 2 месяца назад
🎉ได้ความรู้ล้วนๆ ดีมากๆครับคุณหมอ🎉 ขอบคุณคุณหมอมากครับ🎉🎉❤🎉
@SamSung-er1ls
@SamSung-er1ls 2 года назад
ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้ในการดูแลตัวเองได้...ทานstatinมาเป็นปี ก็แปลกๆดีค่ะ..ก็เกรงจะมีผลต่อตับไต..กินยาไปกังวลไปด้วยค่ะ
@DrTany
@DrTany 2 года назад
ไม่ต้องกังวลหรอกครับ มันไม่มีปัญหาอะไร
@nevadapangel5983
@nevadapangel5983 2 года назад
พยาบาลNCDขอเข้ามาฟังด้วยค่ะ ขอบคุณอาจารย์หมอแทนค่ะ
@malichamberland1512
@malichamberland1512 Год назад
ชื่นชมคุณหมอมาก สามี2-3ปีจะลา้งไขมันชว่งนอ่งบอ่ยมากเส้นเลือด นอ่งจะชาบอ่ย ตอนนี้ดีขึ้นหมอไห้กิน Xareltoค่า
@user-px6jx9cp6x
@user-px6jx9cp6x 2 года назад
คลิปนี้ตรงกับที่เป็นและการรักษาเลยค่ะ รบกวนขอความรู้เรื่อง metabolic syndrome. ประเด็น สาเหตุ การป้องกัน การรักษาเบื้องต้น และการรักษาโดยแพทย์ ด้วยน่ะคะ
@DrTany
@DrTany 2 года назад
คุมอาหารและออกกำลังกายครับ
@user-px6jx9cp6x
@user-px6jx9cp6x 2 года назад
@@DrTany รับทราบค่ะ
@thunyamy24
@thunyamy24 2 года назад
ขอบคุณมากๆค่ะอาจารย์ อาจารย์รักษาสุขภาพด้วยเช่นกันนะคะ
@user-un4ri1ks9v
@user-un4ri1ks9v 2 года назад
เหมือนเรียน online ค่ะ...
@thawatchaidudsadeeprasert2951
ในไทยมีการวิจัยแล้วป็นเวลา 30 ปี 2528 ถึง 58 ในคนที่ไม่เป็นโรคแล้วติดตามไป จนออกมาเป็น thai cv risk score เพราะถ้าใช้ risk score ของทางตะวันตก จะได้ risk สูงกว่าปกติ อาจารย์เห็นว่าควรใช้ของไทยหรือตะวันตกในการคำนวณrisk score ครับ
@DrTany
@DrTany Год назад
ถ้ามีของไทย ใช้ของไทยเลยดีกว่าครับ
@ekbua4475
@ekbua4475 Год назад
ชอบดูและฟังหลายครั้งครับ
@user-ss1to1bd8s
@user-ss1to1bd8s 2 года назад
ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ เข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ
@armnakornthab6867
@armnakornthab6867 Год назад
รบกวนแจ้งผล cystatin-c ครับคุณหมอ ร่วมกับค่าอื่นๆของไต คือ 0.865 (ค่าสูงสุดอยู่ที่ 0.95) ครีเอตินิน 0.92 BUN 20.9 (เกือบสุดที่ 21) eGFR 101.5 ครับ แบบนี้แปลว่า โปรตีนที่กินเข้าไป ไม่ได้มากไปจนทำให้ไตทำงานหนักเกินใช่ไหมครับ (ค่า BUN สูงแบบนี้ติดกันมาปีนึงแล้วครับ ปีก่อนแค่ 14.8) ขอบคุณมากครับคุณหมอ
@DrTany
@DrTany Год назад
ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ อันนี้ปกติครับ
@Gae65
@Gae65 Год назад
ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ได้ประโยชน์ ได้ความรู้อย่างยั่งยืนที่จะใช้ดูแลรักษาตัวเองได้ค่ะ
@nung-noppapat
@nung-noppapat 2 года назад
ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰
@drstit
@drstit 2 года назад
ขอบคุณมากครับอาจารย์หมอ ละเอียด ได้ความรู้มากครับ
@bobo-mi7sl
@bobo-mi7sl 10 месяцев назад
กระจ่างมากค่ะ ตัดสินใจได้เลย
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov 2 года назад
ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับความตั้งใจที่จะให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพ เป็นกำลังใจให้ค่ะคุณหมอ🍵
@mattiyasteinmetz4781
@mattiyasteinmetz4781 Год назад
สวัสดีค่ะคุณหมอบาง คลิปดู ตั้งสามรอบนะคะ
Далее
Triple Protein Sandwich
00:32
Просмотров 4,6 млн
Hypertension explained
32:41
Просмотров 490 тыс.
Preventing Age-related muscle breakdown #Sarcopenia
21:27