Тёмный
No video :(

🤓✍สอบภาษาไทยในเกาหลีเป็นยังไงบ้าง?!?🇹🇭FLEX ภาษาไทย🇹🇭(with แพร😘)| Nisit Kaoli นิสิตเกาหลี 

นิสิตเกาหลี Nisit Kaoli
Подписаться 157 тыс.
Просмотров 156 тыс.
50% 1

🙏🏻สวัสดีค่า ทุกคน พวกเราคือนิสิตเกาหลี🙋🏻 ♀🇰🇷 안녕하세요! 니씻까올리입니다 :)
👩 🎓ถ้าชอบคลิปแบบนี้ อย่าลืมกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะคะ👍🏻 อย่าลืม Subscribe กันด้วยน้าาาา💖
💖Please Like and Subscribe my video!
💖구독과 좋아요 부탁드려요!
💛 Instagram
♡ ซูมี : sm._.jeon
♡ ไข่มุก : fheyrimee
♡ มินนี่ : hee_minggg
Business Contact : nisitkaoli@gmail.com

Опубликовано:

 

24 авг 2024

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 956   
@hiprae
@hiprae 2 года назад
แพรเป็นคนไทยคนเดียวในนี้ ที่อ่อนภาษาไทยมาก🤣🤣🤣
@bingepao
@bingepao 2 года назад
ผมว่าปกติแหละ ข้อสอบก็มีเหตุผลของเค้า แต่เราที่ใช้จริงๆบางทีก็ไม่ใช่ว่าจะรู้ทั้งหมด5555 มันคือการเรียนรู้+ประสบการณ์ ซึ่งมันโอเคที่เราจะไม่รู้
@nisitkaoli
@nisitkaoli 2 года назад
ไม่เป็นไร ภาษาเกาหลีเก่งกว่านิสิตเกาหลีไงงง555
@nisitkaoli
@nisitkaoli 2 года назад
เอาจริงมาอยู่เกาหลีเกือบ6ปีแล้ว ก็ไม่ลืมภาษาไทย นี่นิสิตเกาหลีไปอยู่ที่ไทย แค่ปีเดียวก็ลืมภาษาเกาหลีหมดเลย5555
@user-ft4ry5cg3k
@user-ft4ry5cg3k 2 года назад
จริงอายเขาใหม?
@ZilverMoony
@ZilverMoony 2 года назад
อ่อนภาษา ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดนะคะ แต่ถ้าเราไปบอกว่าสิ่งนั้นผิดกับคนต่างชาติโดยที่เราไม่รู้จริง เค้าอาจจะจำเอาไปใช้ผิดได้ อยากให้ระมัดระวังมากขึ้นค่ะ ยิ่งพอเป็น influencer ที่มีคนตามเยอะๆแล้วเนี่ย ยิ่งต้องระวังมากขึ้นเลยนะคะ สู้ๆค่ะ
@JJ-ky8dg
@JJ-ky8dg 2 года назад
อาจารย์คนเกาหลี ถ้าออกข้อสอบภาษาไทยได้ขนาดนี้ แสดงว่าต้องเชี่ยวชาญมาก ๆ เท่าที่อ่านดู ข้อสอบก็ไม่ได้คลุมเครืออะไร อาจเป็นเพราะคุณแพรไม่ถนัดภาษาไทยแบบทางการกับไวยากรณ์ภาษาไทยมากกว่า ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ควรระวังเวลาอธิบายให้คนต่างชาติที่กำลังเรียนภาษาไทยฟัง เพราะเขาอาจจำไปใช้แบบผิด ๆ ได้
@user-gj1tm7tf6p
@user-gj1tm7tf6p 2 года назад
ถ้าจำไม่ผิด มีอาจารย์คนไทยอยู่ที่สอนภาษาไทยที่ ม.Hunkuk แต่จำชื่อไม่ได้ เป็นผู้ชาย
@nopadonpanjam2222
@nopadonpanjam2222 2 года назад
ถ้าในการสอบแล้วก็ต้องอิงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ของภาษาไทย เพราะยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือการประกาศให้รู้ทั่วกัน ไม่งั้นคำตอบมันก็ดิ้นได้หมด จะพูดอะไรก็ได้มันไม่ใช่ คำพูดทั่วไปจะใช้ไม่ได้กับหลักเกณฑ์ที่วางไว้มันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะให้มีการปรับปรุงเข้ากับยุคสมัยภาษาที่เปลี่ยนไปหรือวิวัฒนาการ ก็ต้องพัฒนาระบบศูนย์กลางฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านภาษาไทยมารวมกันทุกส่วนงานที่เดียวกันเพื่อให้เข้าถึงและรับทราบโดยทั่วกันเป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งหมดเป็นหลักเกณฑ์ใช้ในการอ้างอิงเป็นมาตราฐาน
@shabushi1997
@shabushi1997 2 года назад
อันนี้พูดด้วยความเคารพ เราไม่ค่อยโอเคกับการโวยวายว่า 'คนไทยปกติเค้าไม่พูดกัน' เท่าไหร่เลย มันเหมือนเวลาเราไปสอบภาษาอังกฤษ เราไปถามเจ้าของภาษาว่าปกติพูดเหมือนไดอาล็อคในข้อสอบไหมในสถานการณ์จริง ร้อยทั้งร้อยเค้าก็ไม่พูดเหมือนในข้อสอบที่เค้าออกหรอก แต่การสอบมันวัดความถูกต้องทางไวยากรณ์และวากยสัมพันธ์ของภาษา ว่ารูปแบบประโยคหรือคำไหนถูกต้อง มันไม่เหมือนการชี้วัดว่าสื่อสารในชีวิตประจำวันได้หรือไม่อยู่แล้วแน่ ๆ
@xchikato.z
@xchikato.z 2 года назад
คั่งค้าง แนวร่วม นี่มีนะคะพี่แพร ครูภาษาไทยเราก็ใช้ส่วนมากในหนังสือเรียนก็มีค่าา ในข้อ“ทรายทลายลงมา”ต้องจับจุดที่เขาเน้นนั้นคือ “ทลาย” ถ้ามีคนมาเดินถามพี่แพรว่าทลายแปลว่าไร คนส่วนมากจะตอบพังค่ะ พังทลายลงมา คำเกือบทุกคำในคลิปน่ะค่ะเป็นคำทางการที่ใช้ในข้อสอบหรือเหตุการณ์ต่างๆเช่นการใช้คำพูดในงานพิธีหรือนักข่าวก็จะเห็นได้ทั่วไปเพื่อให้ได้คำที่ดูสวยหรูไม่เป็นกันเองจนเกินไป เราว่าหลายๆข้อครูออกข้อสอบถูกนะแถมเราตอบถูกทุกข้อด้วยอาจจะเป็นเพราะปกติครูที่ไทยไม่ออกสอบแบบนี้เราเลยไม่ชินกัน ซึ่งเราว่าข้อสอบแบบนี้แหละที่จะฝึกต่างชาติได้ถึงมันจะยากมากก็เถอะ
@anbeeabbyun1867
@anbeeabbyun1867 2 года назад
เห็นด้วยเลยค่ะ
@RickardKarstark
@RickardKarstark 2 года назад
ใช่แค่อ่านดูก็รู้ละว่าใช้คำว่าแนวร่วมเหมาะสมสุด แนวร่วมคือกลุ่มคนที่พร้อมให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกับเราความหมายตามตัว เห็นปกคลิปตอนแรกนึกว่าจะเข้าหลักภาษาแบบยากๆเหมือนข้อสอบไทยที่ถามหลักการนู้นนี่นั่น
@user-jx2tx1en2f
@user-jx2tx1en2f 2 года назад
+1 กับคอมเม้นท์นี้ครับ บางคำเป็นคำที่ใช้ในหนังสือราชการ ผมทำงานราชการอยู่ ใช้คำพวกนี่แหละครับ แต่ถ้าภาษาพูดอาจไม่ค่อยได้ใช้ แต่ถ้าพิมพ์หนังสือราชการ ได้ใช้อยู่ครับ
@Mkwan1000
@Mkwan1000 2 года назад
ใช่ค่ะ
@mangothailand799
@mangothailand799 2 года назад
คั่งค้างถูกแล้ว
@shagouwong6130
@shagouwong6130 2 года назад
คุณแพรขาดความละเอียดทางภาษา ซึ่งหลายๆคนสมัยนี้ก็เป็นกัน 1. คั่งค้าง ถูกแล้วครับ 2. พิจารณา เขียนแบบบาลี ความหมายเดียวกับ วิจารณ์ ที่เขียนแบบสันสกฤต ความหมายคืออาการที่ตามมาหลังจากนึกถึงอะไรบ้างอย่าง แล้วนึกถึงลักษณะที่ปรากฎของสิ่งนั้น เช่น ขณะแรกนึกถึงทุเรียน ตอนนี้เรียก วิตก ขณะต่อมา นึกถึง สีเขียว นึกถึงหนาม นึกถึงกลิ่นของทุเรียน ขณะนี้เรียกว่า วิจารณ์ หรือ พิจารณา หรืออีกตัวอย่าง เราไปเจอคน นั่นขณะแรก ขณะที่สอง เรานึกใคร่ครวญถึง เสื้อผ้า หน้า ผม ความอ้วน ความผอม ผิวดำ ขาว แล้วถ้าพูดออกมาด้วย เขาถึงเรียกว่าพูดวิจารณ์คนอื่น ส่วนวิเคราะห์เป็นเรื่องคิดถึงเหตุ ปัจจัย ผล ของสิ่งต่างๆ เช่นเห็นมีควันลอยออกจากบ้าน เราวิเคราะห์ดู ว่าในบ้านน่าจะมีไฟไหม้ 3. อัคคีแปลว่าไฟ อุทกแปลว่าน้ำท่วม ก็คือภัยจากไฟ จากน้ำท่วม 4. จำวัด ไม่ใช่คำราชาศัพท์ ราชาศัพท์ก็คือศัพท์ที่ใช้กับราชาหรือวงศาคณาญาติ 5. เรื่องการอ่านคำว่า บาปกรรม หรือกิจกรรม ให้ไปศึกษาเรื่องคำสมาสและคำสนธิดูครับ 6. คลุมเครือ หมายความว่าไม่ชัดแจ้ง ลองนึกถึงเรามีวัตถุแล้วเอาผ้าบางๆที่พอมองทะลุได้มาคลุมไว้ เราก็จะเห็นไม่ชัด ส่วนคำตอบไม่แน่นอน ถ้าผมถามว่า ตำส้มตำต้องใส่พริกกี่เม็ด บางคนก็บอกสามเม็ด บางคนก็บอกห้าเม็ด แบบนี้เรียกว่าคำตอบไม่แน่นอน แต่มันไม่คลุมเครือ
@suarsivapong9311
@suarsivapong9311 2 года назад
ขอเสริมครับ อุทก แปลว่าน้ำ เฉย ๆ ครับ และ คำราชาศัพท์ ใช้กับ วงศาคณาญาติ ให้เปลี่ยนเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ครับ วงศาคณาญาติใช้กับบุคคลธรรมดา
@PinkPantheraa
@PinkPantheraa 2 года назад
2. จะพิจารณาหรือวิจารณ์ก็มาจาก วิจารณ (विचारण, vicāraṇa) และทั้งในภาษาบาลีและสันสกฤตก็ใช้ตรงกัน ที่เห็นการเขียนและความหมายไม่เหมือนกันมาจากการแผลงคำของคนไทยทั้งสิ้นครับ 4. คำราชาศัพท์รวมไปถึงคำสุภาพ อย่างปลาสลิด : ปลาใบไม้ และคำที่ใช้กับภิกษุด้วยครับ
@titlesuphakrit
@titlesuphakrit 2 года назад
ละเอียดมากกก กราบงามๆ
@gaopodang
@gaopodang 2 года назад
@@PinkPantheraa วิ ใช้ในมุมมองภาพความหมายแบบส่วนตัว หรือ เฉพาะกลุ่ม เช่น วิวาท วิพากษ์วิจารณ์ พิ ใช้ในมุมมองความหมายแบบส่วนรวม หรือ มุมมองคนทั่วไป เช่น พิพาท พิพากษา พิจารณา
@PinkPantheraa
@PinkPantheraa 2 года назад
@@gaopodang ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับบ 💖 แต่ก็ขอย้ำอีกว่าอันนี้ก็เป็นรายละเอียดที่คนไทยสร้างขึ้นมาเองครับ บาลี-สันสกฤตมีใช้แต่อุปสรรควิครับ
@user-bc1qz7wh8m
@user-bc1qz7wh8m 2 года назад
เราว่าคนเกาหลีเขาต้องละเอียดมากอยู่แล้วถึงกล้าเอามาทำข้อสอบให้สอบ แต่คุณแพรบอกว่าข้อสอบเขาผิด แต่จริงๆคือถูกแล้วนะคะ คั่งค้างในภาษาไทยมีจริงๆค่ะ แนวร่วม ด้วยค่ะ มีอีกหลายคำเลยค่ะที่คุณแพรบอกผิด แต่ภาษาไทยคือยากจริงค่ะ ถ้าใช้ในชีวิตประวันเฉยๆสอบไม่ได้ ต้องอ่านTT เพราะวิวัฒนาการภาษาไทยมันไปไกลมากทำให้บางคำมันเปลี่ยนแปลงความหมายไปจากคำเดิม
@phat5915
@phat5915 2 года назад
เพราะฉะนั้น ในฐานะที่เป็นคนไทย ไม่ใช่จะเอาแต่ติดตลกหรือสนุกๆแค่นั้น ในเรื่องของภาษา ถ้าไม่รู้ ไม่แน่ใจก็ต้องบอกว่าไม่รู้ ไม่แน่ใจ เพราะเรากำลังสื่อสาร แนะนำให้กับคนต่างชาติ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากๆ
@yukirito7137
@yukirito7137 2 года назад
ก็เพราะคนไทยไม่ค่อยใช้กันไงครับ แต่ถ้าใครเรียนภาษาไทยมาดีก็จะรู้ แต่ก็ไม่ค่อยใช้กัน เพราะมันเป็นภาษาทางการเกินไป
@tukangxi71
@tukangxi71 2 года назад
คนออกข้อสอบเก่งภาษาไทยครับ
@user-bc1qz7wh8m
@user-bc1qz7wh8m 2 года назад
@@yukirito7137 ใช่ค่ะภาษาที่ออกข้อสอบเป็นภาษาทางการต่างกับภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวันทำให้เวลาสอบมันต้องอ่านจึงจะสอบได้ค่ะ
@nopadonpanjam2222
@nopadonpanjam2222 2 года назад
เห็นด้วยครับยึดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือถูกต้อง แต่ถ้าเป็นสำนวนหรือคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะไม่ใช่ เพราะมีการตัดคำ คำสแลง ไม่ได้เน้นไวยากรณ์ แต่ถ้าในการสอบแล้วก็ต้องอิงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ เพราะยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือการประกาศให้รู้ทั่วกัน ไม่งั้นคำตอบมันก็ดิ้นได้หมด
@wilasineesutthanu1697
@wilasineesutthanu1697 2 года назад
ดูทุกคลิปของนิสิตเกาหลีนะคะ แต่คลิปนี้รู้สึกไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่เลย เหมือนทำให้คนเข้าใจภาษาไทยแบบไม่ค่อยถูกต้อง ภาษาไทยมีความสวยงามและละเอียดอ่อนในตัวของมัน ภาษาเขียน ภาษาพูดในชีวิตจริงมันต่างกันอยู่แล้วค่ะ อย่าไปว่าอาจารย์เค้าเลยนะคะ อาจารย์เค้าออกข้อสอบถูกแล้วค่ะ
@prya4283
@prya4283 2 года назад
คิดว่าคนออกข้อสอบเป็นคนที่มีความรู้ในภาษาไทยมากๆ เลยนะคะ และใช้ภาษาไทยได้งดงามมากๆ อย่างเช่นคำว่า คั่งค้างมากขึ้นเรื่อย ซึ่งไม่ได้ผิดเลยค่ะ แต่แค่อาจจะใช้ในงานเขียนที่มีชั้นเชิง ที่ต้องแปลไทยเป็นภาษาไทยอีกที เราก็รู้สึกว่ายากไปสำหรับคนต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาไทยจริงๆ แต่ถ้าเราจะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับภาษา อยากให้ลองรีเสิร์ชความหมายจริงๆ เพื่อรองรับเหตุผลของตัวเองให้มากกว่านี้ คนที่เค้าไม่เคยรู้จะได้ไม่รับข้อมูลผิดๆไปนะคะ นอกจากความถูกผิดแล้ว วิดีโอสนุกมากๆค่ะ ทำคอนเทนต์แนวนี้ออกมาเรื่อยๆนะคะ คอลแลบกันบ่อยๆเลยนะคะ เป็นกำลังใจให้ทั้งคุณแพรและนิสิตเกาหลีเลยค่ะ 💖☺️
@ptanisaro
@ptanisaro 2 года назад
แต่ไม่สนับสนุนให้คุณแพรทำคอนเทนท์แนวนี้ค่ะ ความรู้ภาษาไทยไม่ดีเลยควรทำคอนเทนท์ออย่างอื่น ปล.ดิฉันเองอยู่ต่างประเทศมายี่สิบกว่าปีค่ะ กล้าพูดว่าภาษาไทยตัวเองก็ไม่ดี แต่ภาษาไทยคุณแพรไม่ดีกว่าดิฉัน
@prya4283
@prya4283 2 года назад
@@ptanisaro เราพูดไปแล้วว่า “ถ้าอยากจะทำ ต้องรีเสิร์ชความถูกต้องไปด้วย” ค่ะ เราไม่ควรห้ามทำเลยเพราะความผิดพลาดแค่ครั้งเดียว และทั้งช่องของคุณแพรและนิสิตเกาหลีก็เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและภาษาสักส่วนใหญ่ การทำคอนเทนต์เกี่ยวกับภาษาก็ถูกแล้วค่ะ เราควรติเพื่อก่อ เพื่อปรับปรุงการคอนเทนต์ให้ดีขึ้น ไม่ใช่ห้ามไม่ให้เค้าทำเลยนะคะ
@ptanisaro
@ptanisaro 2 года назад
@@prya4283 มีแนวอื่นที่น้องแพรทำที่น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าอีกมากค่ะ การปรับปรุงเรื่องภาษาต้องใช้เวลา ยิ่งน้องอยู่ต่างประเทศโอกาสในการอ่านและใช้ภาษาไทยน้อย น้องเรียกคำที่ใช้กับพระสงฆ์คำว่าจำวัดว่าเป็นคำราชาศัพท์ ดิฉันตกใจมากเพราะคำๆนี้มีนิยามที่ชัดเจนในตัวไม่ต้องตีความ คือภาษาไทยพื้นๆน้องยังไม่สามารถใช้ได้ถูกต้อง ถ้าเป็นคอนเทนท์เที่ยวกินทั่วๆไปใช้คำผิดบ้างก็คงไม่มีปัญหาแต่ไม่ใช่ในลักษณะสอนภาษาไทยค่ะ
@krikri5254
@krikri5254 2 года назад
@@ptanisaro เค้ายึดตามหลักการใช้ในชีวิตประจำวันครับ
@1995LINTA
@1995LINTA 2 года назад
@@ptanisaro คำราชาศัพท์สมัยก่อนใช้เรียกเฉพาะคำที่ใช้กับราชา แต่เดี๋ยวนี้มีการแบ่งเป็นหลายระดับ ซึ่งหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชนแล้วค่ะ เพราะฉะนั้นที่แพรบอกว่า จำวัด เป็นราชาศัพท์ ถูกต้องแล้วค่ะ
@user-jz3ff1fn8j
@user-jz3ff1fn8j 2 года назад
จริงๆข้อสอบภาษาไทยของคนไทยก็จะประมาณนี้เลยค่า จะมีความกำกวมอยู่ในโจทย์ อาจจะดูตอบได้ทุกข้อแต่ต้องเลือกข้อที่ถูกที่สุดคับ แต่ว่าการเลือกข้อที่สุดคือแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ในการทำข้อสอบด้วย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความคุ้นชินในการใช้ในชีวิตประจำวันคับ แต่ว่านิสิสิตเกาหลีทุกคนเก่งมากๆเลยค่า เราเป็นคนไทยก็คิดว่ามันค่อนข้างยากเลย
@RickardKarstark
@RickardKarstark 2 года назад
ยกตัวอย่างคำว่า สระน้ำ กับ สระพยัญชนะ คำว่าสระเขียนเหมือนกัน แต่อ่านต่างกันและให้ความหมายต่างกัน ในหลักภาษาจัดอยู่ในหมวดคำพ้องรูปพ้องเสียง มันจะมีความยากและลูกเล่นเยอะ ภาษาไทยเป็นภาษาที่ต้องอ่านบ่อยใช้บ่อยถึงจะใช้ถูก
@matthewmuses9337
@matthewmuses9337 2 года назад
งงกับแพร รู้แหละว่าอยู่เกาหลีนาน แต่ถ้าไม่รู้หรือไม่มั่นใจ google มีให้ค้นหา ไม่ใช้ว่ามั่นใจว่าฉันเป็นคนไทย ที่ไม่เคยได้ยินหรือรับรู้คำประเภทนี้แบบนี้ และคนเกาหลีออกข้อสอบ ฉะนั้นคำตอบและความคิดของฉันถูก แพรลืมคิดหรือเปล่าว่าคนออกข้อสอบเป็น อาจารย์ที่สอนและคลุกคลีกับภาษาไทย ที่อยู่กับภาษาไทยมากกว่าคนไทยบางคนเสียอีก เพราะฉะนั้นแพรต้องศึกษาให้มากกว่านี้นะคะ ไม่เช่นนั้น นิสิตเกาหลีหรือคนเกาหลีที่ศึกษาภาษาไทยจะเข้าใจผิดได้นะคะ ขอให้แพรใคร่ครวญกับความคิดเห็นนี่และกลับไปพิจารณาตัวเองด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
@TammasornAon
@TammasornAon 2 года назад
คอมเม้นแรงไปนิดนะคะ อ่านแล้วสงสารแพร
@kimji3874
@kimji3874 2 года назад
คิดเหมือนกันเพราะแพรไม่ควรฟันธงในสิ่งที่ตัวเองไม่มั่นใจอะ
@leona9315
@leona9315 2 года назад
ติเพื่อก่อดีแล้ว คือ คุณแพรรู้อยู่แล้วว่าจะมาอัดคลิปเรื่องอะไร ควรจะหาข้อมูลด้านภาษา มาเพิ่มเติมก่อน ไม่ใช่มาให้ข้อมูลผิดๆ แก่คนดู
@TammasornAon
@TammasornAon 2 года назад
@Rayzwift เราไม่ได้ว่าเค้าไม่ควรตินะคะ แต่เราคิดว่าใช้คำแรงไปค่ะ คือสามารถใช้คำที่ดีกว่านี้ได้ พออ่านความเห็นนี้แล้วเรายังรู้สึกนอยด์แทนแพรเลย
@droprich6169
@droprich6169 2 года назад
คอนเทนต์ครับ
@bugaosu_s3688
@bugaosu_s3688 2 года назад
งานคั่งค้างน่าจะถูกแล้วน้า ค้างคาใช้ในความหมายอื่น เช่น ปัญหาค้างคาใจ 😅 / ข้อ “แนวร่วม” ก็ถูกเหมือนกันค่ะ (แนวร่วม = ally : พันธมิตร, คนที่ร่วมด้วยช่วยกัน)
@makkanukamaki2476
@makkanukamaki2476 2 года назад
อันนี้เห็นด้วยครับ คั่งค้าง ถูกต้องแล้ว
@user-fs5eg2bp3w
@user-fs5eg2bp3w 2 года назад
คั่งค้างนะถูกแล้ว เขาทำมาถูกแล้วยังไปว่าเขาทำไม่ถูกอีก ไม่รู้หรือไม่แน่ใจก็บอกเขาไปซิ ยังจะโชว์อีก
@Pmyng
@Pmyng 2 года назад
เห็นด้วยค่ะ แค่เติม ไม้ยมก เป็น "เรื่อย ๆ " ก็จะเข้าใจง่ายกว่านี้
@mangothailand799
@mangothailand799 2 года назад
ภาษาราชการใช้คั่งค้าง
@papuppaa6600
@papuppaa6600 2 года назад
มันเป็นภาษาที่คนปกติไม่ใช่กันไง อ่านแล้วแปลกๆจริงๆ
@thanapawanjai7998
@thanapawanjai7998 2 года назад
ดูแล้วอึดอัดมากกับการวิเคราะห์ของคุณแพร55555555อยากให้ศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นก่อนนิดนึงนะคะ เพราะมันจะเป็นการให้ความรู้แบบผิดๆ ทำให้คนเข้าใจความหมายฟิดได้ ยิ่งคลิปนี้ออกสู่สาธารณะด้วยㅠㅠ
@siraprapaj.4408
@siraprapaj.4408 2 года назад
ข้อสอบทั้งหมดถูกต้องแล้วค่ะ อาจารย์คนเกาหลีที่เป็นคนออกข้อสอบใช้ภาษาไทยได้สละสลวยมาก แสดงให้เห็นว่าอาจารย์รู้ภาษาไทยลึกจริงๆ ไม่ผิดที่คุณแพรไม่รู้ เพราะอาจจะเป็นภาษาทางการกับไวยากรณ์ที่ไม่คุ้นเคย แต่อย่างน้อยอยากให้คุณแพรทำรีเสิร์ชก่อน ไม่ใช่อธิบายผิดถูกด้วยความรู้สึก ไม่อยากให้คนต่างชาติจำและนำไปใช้ผิดๆค่ะ อันนี้ขออนุญาตติเพื่อก่อนะคะ เผื่อในอนาคตมีคอนเทนต์ลักษณะนี้อีก อย่างน้อยก็จะได้ให้ความรู้กับคนที่ตั้งใจเรียนเหมือนนิสิตเกาหลีด้วยค่ะ
@Yuyukatanz
@Yuyukatanz 2 года назад
4:45 แนวร่วมถูกแล้วนะคะ แนวร่วมแปลว่ามีคนมาร่วมด้วยอะค่ะ55เป็นคำปกติที่เจอเรื่อยๆ อยู่นะ เช่น ไม่มีแนวร่วมเลย = ไม่มีใครมาร่วมด้วยเลย 6:13 คือคำสมาส คำสนธิ ค่ะ เป็นคำยืมมาจากบาลี-สันสกฤต แต่จริงๆคนไทยที่แยกออกได้ไม่ใช่ว่าจำกฎการใช้ได้หรอก ใช้ความคุ้นชินมากกว่า555 6:50 ข้อนี้เราตอบพังค่ะ เพราะว่าโจทย์เขาใช้คำว่าทลายใช่ไหมคะ มันเป็นเหมือนคำสร้อยของ พังทลาย อะค่ะ เป็นคำคู่กันที่เจอบ่อยๆ เลยถ้าต้องเลือกก็จะเลือกข้อนี้ค่ะ แต่เห็นด้วยกับคุณแพรนะว่าเอาเข้าจริงทั้ง 4 ช้อยส์มันใช้แทนกันได้หมดเลย 8:38 ข้อนี้ทำเราลังเลที่สุดละค่ะ ดื้อดึงกับดื้อด้านความหมายแทบไม่ต่างกันเลย แต่เราก็เลือกตอบดื้อดึง เดาด้วยฟีลลิ่งล้วนๆ เลยค่ะ55
@armkanokpon7214
@armkanokpon7214 2 года назад
จริงๆไม่ได้ใช้แค่พังทลาย แต่เป็นพังทลายลงมาด้วย จะคำไหนก็ใช้ได้อะ ภาษาพูด ถ้าไม่ใช้คำทางการ 5555
@krist.s
@krist.s 2 года назад
น่าจะเรียกว่าคำซ้ำนะถ้าจำไม่ผิด คือเป็นคำสองคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือไปในทางเดียวกัน พัง+ทลาย หมด+สิ้น อะไรทำนองนี้ คำพวกนี้ใช้ความคุ้นเคยเป็นหลักเลย ถ้าใครไม่เคยเจอก็อาจจะไม่รู้เลย ฟีลลิ่งแบบคำศัพท์ในภาษาอื่นแหละ แต่รู้สึกว่าคนรุ่นหลัง ๆ ก็รู้จักคำพวกนี้น้อยลงเยอะ 55
@superjunior2550
@superjunior2550 2 года назад
คุณครูที่ออกข้อสอบเก่งมากๆเลยค่ะ ใช้ไวยากรณ์ภาษาไทยสำหรับการเขียนถูกต้องหมดเลย ช้อยที่ให้เลือก 4 ข้อก็เลือกใช้คำเก่งเป็นคำที่ใกล้เคียงแต่มีข้อที่ถูกอยู่ ข้อสอบไม่งงเลยค่ะถ้าเราอ่านจับใจความเก่งแล้วก็เข้าใจหลักภาษาไทย โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นข้อสอบที่ดีมากค่ะ ไม่มั่วเลย คำอธิบายก็ชัดเจนถูกหมด อยากให้จำไว้นิดนึงค่ะว่าภาษาไทยมันดิ้นได้เสมอและภาษาเขียนกับพูดไม่เหมือนกันเลย เราจะไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียนหรือทำข้อสอบค่ะ ตัวอย่างที่คุณแพรยกให้นิสิตเกาหลีฟังเป็นแบบพูดทั้งหมดซึ่งไม่นิยมและไม่ทำกันในบทความหรือข้อสอบแน่นอนค่า แล้วก็ถึงแม้เราจะเป็นเจ้าของภาษาก็ต้องระวังความมั่นใจในเรื่องที่เราไม่แน่ใจหรือไม่รู้นะคะอาจจะไปสร้างความเข้าใจผิดหรือวิธีจำผิดๆให้คนอื่นได้ นิสิตเกาหลีเก่งมากเลยค่า ชื่นชมมากๆ เป็นกำลังใจให้คุณแพรด้วยน้า 🤍
@slide5929
@slide5929 2 года назад
หลักภาษาไทย คุณแพรเป็นคนไทยแท้ๆ แต่ใช้ภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องเลย แม้กระทั่งภาษาพูด การที่เราใช้คำผิดจนเคยชินเป็นอาจิณจะส่งผลทำให้เราคิดว่าเป็นคำที่ถูกต้อง เป็นคำที่แท้จริงเพราะว่าใช้ทุกวันนี่นา เมื่อคนไม่รู้สอนคนที่ไม่รู้ยิ่งกว่า ผลคือ ความไม่รู้อย่างแท้จริง โปรดแก้ไขให้ถูกต้องด้วย เพราะการสื่อสารด้วยสื่อโซเชียลมีคนดูเยอะมาก เมื่อเรานำคำผิดมาใช้ กลายเป็นว่าคนหมู่มากได้รับรู้เรื่องผิด ก็ ไปกันใหญ่ คิดว่าน้องๆนิสิตเกาหลีคงรู้จัก จี ยอน นักแสดงเกาหลีใต้ที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย จี ยอน ได้รับคำแนะนำจากนักแสดงตลกไทยที่ชอบพูดคำผวน คำผิด น้องเขาก็คิดว่าเป็นคำพูดที่ถูกต้องและพูดแบบผิดๆตลอดมาร่วมสิบปี เมื่อมาเจอผู้รู้ที่แท้จริงแนะนำคำที่ถูกต้อง จี ยอน ก็ปรับเปลี่ยนจนถูกต้องและยังคงเป็นนักแสดงที่คนไทยชื่นชอบในความสามารถ และเธอก็เล่าประสบการณ์นี้ ด้วยสำนวนไทยที่ว่า " ผิดเป็นครู "คร้บ
@ilovejaetennotyou
@ilovejaetennotyou 2 года назад
ภาษาไทยยากจริงค่ะ คนไทยเองยังงงๆ แถมยังมีศัพท์เกิดใหม่แทบทุกวัน แถมยังมีภาษาลู ภาษาดอกไม้ มีศัพท์วัยรุ่น ศัพท์กะเทย ศัพท์ชาวทวิตเตอร์ ต้องมี นิสิตเกาหลีเจอกับพี่ตอนยอนแล้วนะคะ555555 ส่วนคำบางคำคนมันก็ทางการค่ะ คนไทยไม่ค่อยรู้ แต่บางคำมีจริงๆน้าอย่างในข้อสอบบางข้อ อยากให้นิสิตเกาหลีกับครูทอมด้วยค่ะ พี่ๆจะได้เรียนรู้ไปด้วยยย>
@Gasa7655
@Gasa7655 2 года назад
คั่งค้าง มีในภาษาไทยจ้า ใช้สำหรับการเขียน แล้วไปวิจารณ์เขาว่าโจทย์ผิด คุณแพรอาจจะต้องอ่านหนังสือภาษาไทยขึ้นเยอะๆนะ
@seagamessingapore6966
@seagamessingapore6966 2 года назад
ขออนุญาตติเพื่อก่อนะคะ ส่วนตัวมองว่าภาษาทุกภาษาส่วนใหญ่แล้วมีรูปแบบหลักการหรือข้อยกเว้นของมันที่ค่อนข้างชัดเจนค่ะ การที่คุณแพรงง ๆ กับบางข้อบางช้อยส์ก็ไม่แปลกค่ะ เพราะในชีวิตจริงหลาย ๆ คำเราใช้ผิดจนเป็นปกติทั่วไป การที่ใช้ถูกต้องอาจมองเป็นเรื่องแปลกด้วยซ้ำไป อีกทั้งคุณแพรไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องแป๊ะ ๆ เช่น นักข่าว นักเขียน (แต่ถ้าใช้ถูกต้องได้จะดีมากนะคะ) ยิ่งไม่แปลกถ้าจะลืมหรือสับสนบ้าง ก็เหมือนเวลาเราไม่ได้เขียนบางคำนาน ๆ พอได้เขียนอาจจะรู้สึก แอ๊ะ...ทำไมดูไม่คุ้น ทั้ง ๆ ที่เขียนถูกแล้วทำนองนั้นค่ะ แต่สิ่งที่คุณแพรแสดงออกมาค่อนข้างมั่นใจกับความคิดของตัวเองแล้วมองว่าข้อสอบผิด ทั้ง ๆ ที่ข้อสอบถูกต้องแล้ว จึงทำให้ดูไม่น่ารักค่ะ ยิ่งเป็นการอธิบายให้ชาวต่างชาติฟังเรายิ่งต้องระวังให้มาก คลิปนี้เป็นคลิปที่ดูไม่จบจริง ๆ ค่ะ ตอนแรกกดปิดไปแล้ว แต่นึกไปนึกมาตัดสินใจเข้ามาใหม่เพื่อคอมเม้นต์แสดงความคิดเห็น อยากให้มองเป็นการติเพื่อก่อ เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น เป็นกำลังใจให้ค่ะ ติดตามทุกคนตลอดนะคะ
@firfonst
@firfonst 2 года назад
เห็นด้วย​กับความเห็นนี้มากค่ะ เราก็รู้สึกผิดเหมือนกันที่ไม่สามารถ​ดูคลิปนี้จบได้เพราะรู้สึก​หงุดหงิด​ในใจแปลกๆ5555555
@kissgla026
@kissgla026 2 года назад
คั่งค้าง = ถูกต้องแล้ว ✔️ ใคร่ครวญ = การคิด พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างละเอียด ✔️ แนวร่วม = ถูกต้อง ✔️
@ppariyachat2935
@ppariyachat2935 2 года назад
56)​ คั่งค้าง​ถูกเเล้วค่ะ​ ยกตัวอย่างนะคะ งานคั่งค้าง​= งานที่มีทับถมหรืิหมกงานนั้นเเหละค่ะ55555 งานค้างคา= งานที่ยังไม่เสร็จ 58) เเก่ถูกเเล้วค่ะ​ เพราะส่วนใหญ่​ในข้อสอบต้องใช้ภาษาเขียน​ เเก่ในที่นี้จะใช้กับ​ผู้รับที่มีอายุน้อยกว่า​ เหมือนที่ซูมีออนนี่พูดเลยค่ะว่าภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันกับภาษาที่ใช้ในการตอบมันต่างกัน5555 63)เเนวร่วม​คือ​ คนที่ซับพอร์ต​คนที่มีความเห็นเเบบเดียวกัน 71)ทลาย=พัง ด้วยความที่ในข้อสอบเป็นภาษาระดับทางการเเล้วพี่แพรไม่ค่อยคุ้นเคย​กับมันเลยอาจไม่คุ้นหูหรือไม่เคยได้ยินมัน​
@wilasineesutthanu1697
@wilasineesutthanu1697 2 года назад
ถ้าไม่รู้ไม่ควรบอกว่าผิดนะคะ ไม่อย่างนั้นคนต่างชาติที่เค้าเรียนตามหลักการจะงงได้นะคะ แก่ แด่ แนวร่วมก็มีใช้กันอยู่แล้วค่ะ ไม่แปลกเลยค่ะ
@cherrymttn
@cherrymttn 2 года назад
จริงๆแล้วข้อสอบที่อ่านนี้สำหรับชาวต่างชาติก็จะยากหน่อย แต่สำหรับคนไทยมันไม่ได้ยากขนาดนั้นนะคะ ถ้าคุณแพรจะทำงานเป็น mc ทั้งไทย-เกาหลี อาจจะต้องไปทบทวนภาษาไทยเพิ่มเติมเยอะๆนะคะ :)
@dadayeoniiz4688
@dadayeoniiz4688 2 года назад
คำว่า "แนวร่วม" มีจริงๆนะคะ แล้วใช้พูดบ่อยด้วย จุดอื่นๆที่แพรผิด ก็ตามคอมเม้นเลยค่ะ นิสิตเกาหลีลองอ่านๆดูนะคะ จะได้ไม่จำแบบผิดๆไปใช้ :)
@nyot3383
@nyot3383 2 года назад
ดูคลิปนี้แล้วค่อนข้างขัดใจกับคุณแพรพอสมควรเลย หลายข้อมากๆ ที่ผู้ออกข้อสอบใช้คำถูกต้งแล้วและมีจริงๆ ในภาษาไทย แต่คุณแพรพูดว่าไม่มีคนใช้ หรือภาษาไทยไม่มีคำนี้อย่างมั่นใจ ส่วนตัวว่าจะทำให้ชาวต่างชาติจำแล้วเอาไปสับสนได้ค่ะ หากคุณแพรไม่มั่นใจควรพูดออหมาว่าไม่ทราบ หรืไม่มั่นใจว่ามีไหม จะดีกว่าพูดว่าไม่มีอย่างมั่นใจดีกว่านะคะ
@peaze00
@peaze00 2 года назад
เราว่าหลายข้อมันก็อาจจะถูกแล้วนะ มันมีหลักของมันอยู่ แต่คนไทยทั่วไปก็ใช้กันหลากหลาย มั่วไปหมดจนชินกันไปแล้ว หลายข้อถ้าใช้ในชีวิตประจำวันมันก็พูดได้หมด คนก็เข้าใจกัน ภาษาไทยมันยากตรงนี้จริงๆ เพราะงั้นไม่แปลกที่คนไทยทั่วไปทำข้อสอบนี้แล้วจะงงๆ
@pockly2007
@pockly2007 2 года назад
คนทำข้อสอบออกข้อสอบมาถูกต้องแล้วครับ..วิเคราะห์แบบไม่มีทักษะที่เข้าใจภาษาแบบนี้และเอาภาษาพูดแบบไม่เป็นทางการและทักษะภาษาส่วนตัวมาหักล้างประโยคในข้อสอบจะทำให้คนเรียนภาษาหรือดูคลิปนี้สับสนครับ ข้อสอบเป็นการใช้ภาษาหรือสำนวนทางการและรูปประโยคที่ถูกต้องมากๆ ซึ่งเป็นผลดีกับผู้เรียนภาษาในการเข้าใจภาษาและพัฒนาไปในระดับการใช้ภาษาที่ดียิ่งขึ้น..เข้าใจนะครับว่าคลิปทำออกมาแนวดูสนุกสนาน แต่อยากให้ระวังเพิ่มขึ้นเพราะมันอาจกระทบกับการเรียนภาษาและความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้เรียนคนอื่นๆ รวมทั้งรู้สึกเหมือน Discredit คนที่ออกข้อสอบฉบับนี้ครับ..เป็น fc ช่องนี้นะครับ🙂🇹🇭🇰🇷👍
@yuiniverse
@yuiniverse 2 года назад
ข้อสอบถูกแล้วค่ะ ข้อสอบเป็นภาษาเขียนค่ะ เข้าใจว่าคุณแพรอาจจะไม่ค่อยอ่านหนังสือไทยเลยไม่คุ้นเคยกับภาษาเขียนเพราะอยู่ต่างประเทศหลายปี ถ้าคนที่อ่านหนังสือเยอะๆจะเข้าใจข้อสอบได้ดีค่ะ
@ImBornToBeBlink
@ImBornToBeBlink 2 года назад
ข้อสอบไม่ได้ผิดเลย เพราะสอบก็ต้องเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แต่บางคำก็ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันพอเจอก็จะงงๆ เก่งมากครับสู้ๆ
@atitep_m
@atitep_m 2 года назад
ต้องบอกว่า...เสียหายมิใช่น้อย นี่เป็นผลจากภาษาที่มาจากโซเชียลส่วนหหนึ่ง เพราะภาษาโซเชียลเป็นภาษาที่เอามาใช้แบบเข้าใจกันเอง จนเป็นความเคยชิน ไม่ใช่แค่ภาษาพูดแม้กระทั่งภาษาเขียนก็เขียนผิดจนคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นคำที่ถูก คำที่มักจะถูกยกมาถามบ่อยๆ คือ "ผัดไท" คำนี้ คำถามคือ คำนี้เขียนถูกหรือเขียนผิด? ลองตอบดูครับแล้วก็ค้นหาคำตอบเองจากในเน็ตนี่แหละ ที่สำคัญสำหรับคลิปนี้คือ...คนไทย ดันไปแสดงอาการดูถูกคนออกข้อสอบอีกต่างหาก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่โดยส่วนตัวยอมรับไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ การเป็นคนที่อยู่พื้นที่ตรงนี้คือคนที่แสดงตัวว่าเป็นบุคคลสาธารณะ การแสดงออกต้องระมัดระวังกว่านี้ ไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ไม่แน่ใจก็ต้องบอกไม่แน่ใจ ไม่มีใครรู้ทุกเรื่องเก่งทุกเรื่อง เพียงแค่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวแบบสงสัยออกมามันยังดีกว่าการแสดงออกถึงการดูถูกคนอื่น ที่สำคัญ คนที่ออกข้อสอบนั้น ไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่องภาษาไทย เพราะที่เฉลยออกมาก็ถูกต้องเหมาะสมตามหลักภาษาไทยจริงๆ คำแรก...คั่งค้าง มาจาก 2 คำรวมกัน คือคำว่า "คั่ง" คำนี้เราจะได้ยินบ่อยคือ เลือดคั่ง.... มีคำต่อหรือไม่ก็ได้ หมายถึงลักษณะไหลมารวมกัน และ "ค้าง" คืออยู่กับที่ ไปไหนต่อไม่ได้ เมื่อสองคำนี้รวมกันเป็น "คั่งค้าง" ตามประโยคจึงหมายถึงมีงานเข้ามาเรื่อยๆ แต่ไม่ได้เคลียร์ออกไป งานจึง "คั่งค้าง" หรือเท่ากับประโยค "ดินพอกหางหมู" นั่นเอง ส่วน "ค้างคา" คือมี 1 งาน แต่ทำไปได้แค่ครึ่งๆ กลางๆ งานชิ้นนั้นจึงยังไม่เสร็จ คำนี้ก็มาจากคำว่า "ค้าง" กับคำว่า "คา" คำว่า "ค้าง" เรามักจะได้ยินบ่อยๆ จากคำว่า "ค้างไว้อย่างนั้น" ซึ่งหมายความว่ากำลังทำอะไรซักอย่างแล้วให้ "หยุด" ห้ามขยับเขยื้อน ให้นิ่งๆไว้ในท่านั้น คำว่า "คา" หมายถึงให้จบกิจกรรมที่ทำไว้แค่นั้นมันจะคล้ายๆ กันเหมือนเป็นคำซ้อน แต่ความต่างคือ ค้าง = ให้หยุดนิ่ง ส่วน คา=เลิกทำต่อ จะไปทำอะไรอย่างอื่นต่อก็ไปทำได้ปล่อยกิจกรรมที่ทำก่อนหน้านั้นไว้แบบนั้นแหละ นี่แค่คำแรกต้องอธิบายกันยาวยืดเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพ ยังมีคำอื่นอีก ถ้านิสิตเกาหลี/FC ที่ยังสงสัย อยากรู้อีกก็มาเม้นต์ไว้ได้ โดยเฉพาะคำว่า พังทลาย ที่เล่นใหญ่โวยวายเลยทีเดียว (ในเม้นต์ที่ปักไว้ก็เข้าใจกันดีทีเดียว เสียดายไม่มีใครอธิบายคำที่เอามาทำคลิปนี้ ซึ่งต้องบอกว่ามันก็เป็นคำที่ใช้กันทั่วไป บางคำก็เป็นภาษาทางการที่เห็นได้ตามสื่อต่างๆ ซึ่งก็ไม่ใช่คำที่แปลก แต่เป็นคำที่ควรรู้ เวลาดูข่าวสารจะได้ทราบความหมาย เพราะมันไม่ใช่คำที่มีบรรจุไว้ในพจนานุกรมเท่านั้น)
@nokkeawnokkhunthong
@nokkeawnokkhunthong 2 года назад
อัคคีภัย = ภัยที่เกิดจากไฟ (ไฟไหม้) อุทกภัย = ภัยที่เกิดจากน้ำ (น้ำท่วม) วาตภัย = ภัยที่เกิดจากลม (พายุ) ธรณีพิบัติภัย = ภัยที่เกิดจากแผ่นดิน (แผ่นดินไหว) อุบัติภัย = ภัยที่เกิดขึ้น[แบบกระทันหัน(อุบัติเหตุ)]
@phat5915
@phat5915 2 года назад
แนะนำ น้องแพร(เป็นคนไทย)ควรศึกษาภาษาไทยให้มากขึ้นครับ
@Gasa7655
@Gasa7655 2 года назад
จริง แล้วออกมาพูดว่าคนไทยไม่พูด คนไทยพูดจ้า ทั้งแนวร่วมและแนวโน้ม แล้วแต่บริบท เขินแทนเลย
@yesiampful
@yesiampful 2 года назад
สารภาพว่าเป็นคลิปแรกของช่องนิสิตเกาหลีที่ดูไม่จบ อึดอัดใจ บอกความรู้สึกไม่ถูกเลย 😔
@Daisysysysysy
@Daisysysysysy 2 года назад
เข้าใจว่าอาจจะไม่รู้ แต่ก่อนจะว่าข้อสอบหรือบอกผิดๆให้คนต่างชาติ ควรหาข้อมูลนิดนึงก่อนดีกว่าค่ะ ไม่อยากให้ติเรื่องที่คุณแพรไม่รู้ แต่ควรติที่ไม่เช็คให้ละเอียดก่อนบอกคนอื่นดีกว่า เพราะคลิปก็มีคนดูเยอะ และคนต่างชาติที่ฟังอยู่ก็อาจจะจำผิดๆไปใช้ได้ อีกอย่าง ข้อสอบเขาก็ไม่ได้ออกผิดหรือไม่ดีอะไรนะคะ แต่มันมีความคลุมเครือ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าออกข้อสอบระดับคนไทยเองยังมึนขนาดนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนะคะ สรุปคิดว่าคนออกข้อสอบเก่งภาษาไทย (ระดับทางการและไวยกรณ์) มากกว่าคุณแพรค่ะ 55555
@nonebrown5691
@nonebrown5691 2 года назад
ดูแล้วรู้สึกว่าคุณแพรไม่ควรแสดงทีท่าไม่ให้เกียรติกันอย่างงี้เลยนะคะ ส่วนข้อสอบที่ออกก็ถูกหมดนะ คุณควรศึกษามาให้ดีกว่านี้ก่อนจะมาตอบอย่างมั่นอกมั่นใจนะคะ ไม่งั้นชาวต่างชาติจะจำไปแบบผิดๆ สู้ๆค่ะ 😊
@junep1031
@junep1031 2 года назад
ดูคลิปนี้แล้วปวดหัว กุมขมับ หงุดหงิด เท้าก่ายหน้าผากไม่หยุดเลย เราก็อายุเท่ากับแพรเลยนะ เกิดโตที่เมืองไทย และมีโอกาสได้ไปเรียนที่ต่างประเทศเหมือนกัน แต่แบบ เห้ย คุณรู้ตัวว่าอ่อนภาษาไทย แล้วทำไมยังจะกล้าฟันธง กล้า correct กล้าที่จะ judge ข้อสอบอ่ะ ตอนที่คุณบอกว่าไม่คุ้นกับคำว่าคั่งค้าง ไม่เคยได้ยิน แล้วคุณก็พูดต่อว่า "แปลกๆเล็กน้อย ไม่เป็นไรคนเกาหลีเป็นคนพิมพ์" อันนี้โคตรทุเรศเลยอ่ะ เรื่องภาษานี่ไม่จำเป็นเลยนะว่าต้องเป็นnativeของภาษานั้นๆถึงจะเก่งหรือรู้ดีกว่าต่างชาติที่มาเรียนเป็นภาษาที่2/3อ่ะ ไม่ว่าชาติไหนก็เก่งภาษาไหนๆก็ได้จ้า ดูตัวอย่างคุณอดัมส์ หรือใกล้ตัวที่สุดก็ตัวคุณแพรเองอ่ะ ผ่านไปอีกหลายปีคุณก็อาจจะเก่งเทียบเท่าหรือสู้เนทีฟได้แล้ว หรือแม้กระทั่งตอนนี้คุณก็อาจจะเก่งเกาหลีกว่าคนเกาหลีบางคนอีก ภาษามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ race และ nation จ้า แล้วอย่าลืมว่าเค้าเป็นถึงอาจารย์ เป็นถึงคนออกข้อสอบให้นศ.เกาหลีที่เรียนภาษาไทย ย้ำนะว่าระดับมหาลัย ข้อสอบมันก็ยิ่งต้องได้รับการตรวจสอบมาแล้วนะว่ามันถูกต้อง แล้วนี่แพรคืออะไร มาบอกว่าข้อสอบผิด? มาบอกว่าไม่มีใครใช้คำนี้? ตัวเองโง่เอง ไม่รู้เอง แต่โทษทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวเอง แล้วคุณเป็นคนที่ represent คนไทยต่อต่างขาติทักคนที่ดูคลิปนี้อ่ะ ออกมาขอโทษหน่อยก็ดีนะ
@jiuyuejuhua2567
@jiuyuejuhua2567 2 года назад
ความเห็นส่วนตัวคิดว่าคำว่า ‘บาปกรรม’ เป็นคำซ้อนค่ะ คือการเอาคำที่ความหมายคล้ายกันมาวางต่อกัน เช่น ฆ่าฟัน อ้วนท้วม คำว่า บาป กับ กรรม ก็ความหมายคล้ายกัน คำซ้อนไม่ต้องเชื่อมตรงกลางด้วยสระอะค่ะ ก็เลยอ่านว่าบาบ-กำ ส่วนคำว่า ‘กิจกรรม’ เป็นคำสมาส คือการเอาคำบาลี-สันสกฤตสองคำ ที่คนละความหมายมาประสมกัน คำว่า กิจ แปลว่า ธุระ กรรม แปลว่า การกระทำ เอามารวมกันก็เลยเป็น กิจกรรม ที่แปลว่า activity ค่ะ คำสมาสเวลาอ่านจะต้องอ่านเสียงสระอะเชื่อมตรงกลาง ก็เลยอ่านว่า กิจ-จะ-กำ ค่ะ
@Phuchich
@Phuchich 2 года назад
ข้อ 58 กับ แก่ ต่อ สำหรับ นั้นเป็นข้อสอบในเชิงการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เป็นอัจฉริยลักษณะของภาษาไทย ทำให้รู้วัยวุฒิ คุณวุฒิ (ผู้น้อย-ผู้ใหญ่) ของผู้ถูกกล่าวถึง เป็นบริบทที่ทำให้ความหมายประโยคชัดเจนขึ้น
@Yent-pop
@Yent-pop 2 года назад
เกือบดูไม่จบ คนไทยสอนภาษาคนเกาหลีแบบผิดแบบมั่นใจด้วยนะ ต้องหาความรู้ให้มากกว่านี้นะก่อนจะสอนภาษาให้คนอื่นเพราะมันเป็นข้อสอบภาษามันจะเป็นทางการ ไม่ใช่ภาษาพูด คนอื่นเขาจะได้ไม่จำแบบผิดๆน้าาาาา
@orranartw.6675
@orranartw.6675 2 года назад
เห็นด้วยค่ะ กลัวนิสิตเกาหลีจะจำไปผิดๆเหมือนกัน ข้อสอบถูกต้องแล้ว
@DNAlyew
@DNAlyew 2 года назад
อันนี้เห็นด้วย ภาษาเขียนกับภาษาพูดมันก็ต่างกันอยู่แล้ว แล้วภาษาไทยยังจะแยกเป็นภาษาทางการ คำราชาศัพท์อีก ถ้าคนที่ใช้ภาษาเขียน(ไทย)ในชีวิตประจำวันจะไม่รูสึกว่าแปลก แต่ต้องเข้าใจว่าเขาอาจจะไม่ได้ใช้นาน
@bibibibi_7129
@bibibibi_7129 2 года назад
เราดูไม่จบแล้ว1
@aommoaaom
@aommoaaom 2 года назад
แพรควรเรียนภาษาไทยให้มากกว่านี้นะคะ555555 ฟังคุณแพรพูดแล้วอึดอัดจัง สอนผิดๆเฉยเลย แนวร่วมนี่ชัดเจนมากนะ ผิดตรงไหน งง คั่งค้างก็มีให้เห็นอยู่นะ พูดว่าค้างคาสิแปลก มีคำว่าค้างที่พูดกันเยอะ
@boowannapreuk6390
@boowannapreuk6390 2 года назад
คั่งค้าง --> สะสมไว้ ไม่คิดจะทำให้เสร็จเสียที .....ส่วนมาก มักจะเกี่ยวกับ-วัตถุสิ่งของ ค้างคา --> ติดขัดในใจ , สงสัยแต่ไม่หาคำตอบ....ส่วนมาก มักจะเกี่ยวกับ-จิตใจหรือความรู้สึก
@AumNormal
@AumNormal 2 года назад
คนต่างชาติที่เรียนภาษาไทยได้นี่ ผมRespectมากๆ เพราะภาษาไทยมันมีอะไรเยอะแยะมากมายและบางทีก็ไม่มีเหตุผล ต้องใช้ความจำมากกว่าเหตุผล พวกคุณเก่งมากๆ สุดยอดมากครับ นิสิตเกาหลี 🐯👍
@user-gr2tw6rl8t
@user-gr2tw6rl8t Год назад
คำว่า "คั่งค้าง" ถูกต้องนะครับ เพราะคำนี้หมายถึง ติดค้างทับถมอยู่ ตกค้างทับถมอยู่ เช่น งานคั่งค้าง เป็นต้น แต่คำว่า "ค้างคา" แแปลว่า ยังไม่สิ้นไป ยังไม่หมดไป เช่น ค้างคาใจ ยังมีของค้างคาอยู่ เป็นต้น กิจกรรม อ่านว่า กิด-จะ-กำ อ่านตามหลักการสมาสคำ หรือการนำคำภาษาบาลีหรือสันสกฤตมาผสมกันครับ เนื่องจากไทยมีการนำคำภาษาบาลีหรือสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย เช่น เอกราช อ่านว่า เอก-กะ-ราด (เอกะ แปลว่า หนึ่ง, ราชะ แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน หรือ พระราชา) เอกราช เป็นการนำคำสองคำมาต่อกันเป็นคำใหม่ ซึ่งไม่ได้แปลว่าพระราชาหนึ่งองค์ หรือพระราชาองค์เดียว แต่จะมีความหมายว่า เป็นอิสระ ไม่ขึ้นแก่ใคร เป็นต้น จากครูภาษาไทยครับ
@phitchayatwothree
@phitchayatwothree 2 года назад
เป็นคลิปที่เราดูไม่จบเหมือนกัน ติเพื่อให้เป็นแนวทางปรับปรุงนะคะ อยากให้คุณแพรศึกษาข้อสอบก่อนจะมาทำร่วมกัน เพื่อที่จะได้อธิบายหลักภาษาไทยให้ถูกต้อง ในเมื่อข้อสอบออกแบบทางการ ฉะนั้นคำตอบย่อมเป็นทางการและหลักภาษาอยู่แล้วค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
@BlueLuna666
@BlueLuna666 2 года назад
พวกคำว่า กิจการ หรือ บาปกรรม ที่มันอ่านแตกต่างกันเพราะคำเหล่านี้เป็นคำบาลีสันสกฤต จึงมีกฎการอ่านที่แตกต่างกันอยู่ เราเรียกฏพวกนั้นว่า 'คําสมาสสนธิ' ถ้าให้จำง่ายๆเลยคือ สมาส = ชน (คือจับคำมาชนกันดื้อๆเลย) สนธิ = เชื่อม (คือเวลาที่จะรวมคำต้องมีสระเชื่อม เช่น สระอะ เป็นต้น ซึ่งคำพวกนี้จะมีการลดทอนตัวอักษร และเติมสละเข้าไป เพราะเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต)
@badboyz08
@badboyz08 2 года назад
ไปสอนภาษาไทย แต่ผิดหลายจุดเลยครับ ผิดพลาดเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าจะสอนคนอื่นต้องมั่นใจว่าถูก ไม่งั้นลูกศิษท์ก็ผิดตาม คนอื่นคอมเมนต์ไปหลายจุดแล้ว อีกเรื่องหนึ่งยังไม่เห็นคน point ราชาศัพท์ก้ใช้ กับราชา กับพระก้ไม่เรียกราชาศัพท์
@tantasiripornnarajasima9840
@tantasiripornnarajasima9840 2 года назад
ตรงอื่นพี่แพรผิดเยอะจริงค่ะ แต่คำที่ใช้กับพระสงฆ์ก็เรียกเป็น “ราชาศัพท์” ได้ค่า แค่เรียกว่าเป็นราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระสงฆ์ค่ะ เพราะคำราชาศัพท์มีหลายชั้นค่ะ
@wannabegame
@wannabegame 2 года назад
เรียกราชาศัพท์เหมือนกันไม่ใช่หรอ ตั้งแต่เรียนมาก็เห็นแต่คำว่าราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
@badboyz08
@badboyz08 2 года назад
โอเคครับ ราชาศัพท์ใช้กับพระสงฆ์ได้รับทราบครับ
@anuklatinfah9618
@anuklatinfah9618 Год назад
ขออนุญาตินะคะ คลิปนี้ คนไทยเจ้าของภาษา ซึ่งภาษาไทยพังมาก เห็นแล้วอยากร้องไห้เลยค่ะ 1. อัคคี แปลว่า ไฟ, อุทุก แปลว่า ท่วม 2. จำวัด ไม่ใช่คำราชาศัพท์ คำราชาศัพท์มีไว้ใช้กับเชื้อพระวงศ์เท่านั้น จำวัด เป็นศัพท์ของพระ 3. แนวร่วม ก็คือ กลุ่มบุคคลที่มีความเห็นเป็นไปในทางเดียวกัน 4. บาปกรรม กฏการอ่านอะไรคะ บาป ก็คือบาป บาป แปลว่า ความชั่วที่ยังตามติด กรรม คือคำยืมจากบาลี และว่า การกระทำ ไม่ใช่สันสฤต บาปกรรม ก็คือ บาปกรรม แปลว่า การกระทำชั่ว สองพยางค์มารวมกันเท่านั้น 5. ดันทุรัง คือ ดื้อ จะ ดื้อ อะไร ได้หมด 6. ข้อ 87, ข้อ ข. ต้องเป็นชัดเจน ไม่ใช่ ชัดแจ้ง
@dokmaipah3642
@dokmaipah3642 2 года назад
คั่งค้าง is already correct. It's used for making the context sounds more beautiful, such as in novels, fictions, songs.
@cornmoonarts
@cornmoonarts 2 года назад
ข้อทรายผมคิดว่า 1 พัง ถูกแล้ว เพราะ ความหมายเดียวกับทลาย ถึงมีคำว่า พังทลาย 2 ล้ม ไม่ได้ เพราะ ความหมายมันจะกลายเป็นทรายทั้งกองนั้นมันแข็ง แล้วโอนเอียงแล้วล้มไปด้านใดด้านหนึ่งซึ่งทรายล้มไม่ได้ 3 ทรุด ไม่ได้เพราะ damage มาจากข้างล่างทำให้ทรุด 4 เท ไม่ได้ เพราะ ต้องมีคนกระทำซึ่งในที่นี้คือลม แต่ทั้งนี้ผมคิดว่าทั้งหมดมันก็คือ พัง นั่นแหละครับ ส่วนข้อดื้อดึง ดื้อดาน ถ้าให้ตรง ดันทุรัง - รู้แต่ก็ยังทำ ก็คือ ดื้อดึง นี่แหละครับ เพราะดื้อด้านมันหมายถึงทางเกเรไม่ยอมคน
@phanaseang2673
@phanaseang2673 2 года назад
คั่งค้าง กับ ค้างคา ความหมายใกล้เคียงกันแต่ใช้ต่างบริบทกันครับโดยทั่วไปเราใช้คำว่าคั่งค้างกับบริบทในเชิงปริมาณ และใช้คำว่า ค้างคาในเชิงขยายกริยา ส่วนดินพอกหางหมูนั้นความหมายเป็นเชิงปริมาณ จึงใช้คำว่า คั่งค้าง ถูกต้องเหมาะสมแล้วครับ คนที่ออกข้อสอบคงมีความเข้าใจในภาษาไทยเป็นอย่างดี
@user-fs5eg2bp3w
@user-fs5eg2bp3w 2 года назад
ปกติจะดูคลิปนิสิตเกาหลีเป็นประจำอยู่แล้ว แต่พอมาเจอแบบนี้ ดูไม่จบเลย ต้องกดออก เสียบรรยากาศในการดูคลิปกับแขกรับเชิญ นางคิดว่าตัวเองจบเอกภาษาไทยมาเหรอ ไม่เก่ง ไม่รู้ แต่ยังอยากจะโชว์อีก ยังไปบอกว่าของเขาทำมาไม่น่าจะถูกด้วย เหมือนไปดูถูกคนที่ออกข้อสอบ ที่เป็นคนเกาหลีอีก ไม่มีมารยาท แต่นินิตเกาหลีทั้ง 3 คนน่ารักอยู่แล้ว ติดตามตลอดนะครับ#FCนิสิตเกาหลี
@iowa6363
@iowa6363 2 года назад
เราเป็นคนนึงที่ไม่เคยได้ยินคำว่า คั่งค้างนะ เราก็โอเคฟังไปยังไม่ได้อะไร มางงตรงแนวร่วม คือเราอ่านแล้วเราก็ตอบได้นะ มันง่ายนิดเดียว ทำไมคุณแพรถึงมั่นใจนักมั่นใจหนาว่า เออ ข้อนี้สิถึงจะถูก เพื่อคุณแพรลืมนะคะ คนที่ออกข้อสอบคือ 'อาจารย์'ค่ะ ยิ่งเป็นอาจารย์ต่างชาติมาออกข้อสอบ คืออาจารย์ต่างชาติต้องเก่งแค่ไหนถึงทำได้ขนาดนี้ แล้วเราก็เป็นคนนึงที่เรียนอยู่มัธยมแต่ไม่เข้าใจความรู้ด้านภาษาของคุณแพรมากๆ ถ้าอ่อนภาษาก็ไม่ต้องพยายามมาสอนคนอื่นค่ะ ผิดก็ต้องยอมรับผิดสิคะ ไม่มั่นใจก็ควรหยิบโทรศัพท์ออกมาเปิดหาความหมาย googleไม่ได้มีไว้ประดับเครื่องค่ะ
@iowa6363
@iowa6363 2 года назад
ยิ่งตอนที่นิสิตเกาหลีถามว่า ทำไมต้องมี อุทกภัย อัคคีภัย 2คำ แทนที่จะตอบไปในแนวให้ความรู้ ดันมาถามอีกว่า อุทกภัย อัคคีภัย แยกไปทำไม เอ้า ก็มันคนละแบบคนละประเภท เข้าใจเรามั้ยย(╥﹏╥)
@user-gg8eo4wp6l
@user-gg8eo4wp6l 2 года назад
ภาษาไทยที่พูดในชีวิตประจำวัน กับภาษาไทยในห้องเรียน ต่างกันโดยสิ้นเชิง น้องๆ นักศึกษา เอกไทย ต้องคุยกับคนไทยเยอะๆ เพราะถ้าเอาภาษาไทยในห้องเรียนมาพูดกับคนไทย คนไทยจะงง ว่าทำไมใช้คำนี้ แต่ถามว่าเข้าใจมั้ย ...เข้าใจ
@buranasripamchaikhin6628
@buranasripamchaikhin6628 2 года назад
ขัดใจที่ไม่รู้จักคำนี้แล้วสรุปมั่วๆว่าข้อสอบผิด : คั่งค้าง=สะสมงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่ทำซักที / ค้างคา=ทำงานค้างไว้ยังไม่เสร็จ
@everythinguptome8079
@everythinguptome8079 2 года назад
ดูคลิปแล้วต้องบอกว่าคุณแพรมีคลังคำศัพท์ภาษาไทยน้อยเกินไปค่ะ ใช่ บางคำอาจจะไม่ใช่คำที่นิยมพูด ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้รู้จักคำพวกนี้คือมาจากการอ่านค่ะ การอ่านเพิ่มคลังคำศัพท์ได้ อันนี้มันแสดงให้เห็นเลยว่าคุณแพรอ่านหนังสือภาษาไทยน้อยกว่าภาษาเกาหลี คลังคำศัพท์ภาษาไทยที่มีเลยมีน้อยกว่าภาษาเกาหลีอย่างเห็นได้ชัด
@Zzz-tf5mw
@Zzz-tf5mw 2 года назад
ข้อกองทรายคุณครูที่เกาหลีอธิบายได้ถูกต้องตามภาษาไทยแล้ว เหมือนคำว่า ดินทรุด ก็คือ ระดับของพื้นดินต่ำลง บ้านทรุด ก็คือ บ้านจมลงไป อาจจะจมลงไปด้านเดียว จมแบบเอียงๆ บ้านที่ทรุดยังมีรูปทรงโครงสร้างความเป็นบ้านอยู่ แต่บ้านที่ทรุดทิ้งไว้ต่อไปก็อาจทลาย คือพังลงมา กลายเป็นเศษ เป็นชิ้นๆ ไม่เหลือรูปทรงเป็นบ้านอีก ข้อดันทุรัง ก็น่าจะเฉลายถูกต้องแล้ว ดื้อด้าน มีนัยยะว่า สั่งสอน ตักเตือน อย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง (disobedient) แต่ ดื้อดึง ดื้อรั้น มีนัยยะว่า แม้ถูกทัดทาน เกิดผลร้าย หรือเกิดเหตุการณ์อย่างไรก็ไม่เปลี่ยนความคิด (obstinate) เช่น ซื้อหุ้นตัวหนึ่งไว้โดยเชื่อว่าต่อไปจะขายทำกำไรได้ แม้ราคาหุ้นตกลงมาเรื่อยๆ จนตลาดหุ้นต้องสั่งระงับการซื้อขาย ก็ยังเชื่อว่าต่อไปหุ้นจะราคาขึ้นได้ อย่างนี้ก็เข้าข่ายตื้อดึง เป็นคำที่มีความหมายทับซ้อนกัน คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว คำว่า วางใจ กับ สนิทใจ มีความหมายใกล้เคียงกันอยู่ แต่ สนิทใจ มักใช้ในลักษณะของคำวิเศษณ์ วางใจเป็นคำกริยา ในที่นี้ควรเป็นคำกริยามากกว่า (สนิทใจ = wholeheartedly, undoubtedly, comfortably วางใจ = trust, confide) จริงๆ แล้ว คำว่า บาปกรรม เป็นคำสมาส ตามหลักของคำสมาสแล้วควรออกเสียงว่า บาบ-ปะ-กัม ตามที่ซูมีเข้าใจ แต่คำว่า บาปกรรม เป็นคำที่ออกเสียงกันผิดๆ จนผิดกลายเป็นถูกไปแล้ว คำว่า บาปเคราะห์ ก็ไม่อ่านออกเสียงว่า บาบ-เคราะ แต่อ่านว่า บาบ-ปะ-เคราะ ตามหลักคำสมาส ภาษาไทยมีคำหลายคำที่มีความหมายเหมือนๆกัน เป็นเพราะวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ รับเอาวัฒนธรรมหลายๆอย่างมารวมกันในลักษณะแบบไทยๆ ภาษาไทยก็รับเอาคำจากกลุ่มชนนู่นนี่มารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทย ภาษาไทยจีงรวมเอาคำที่คนจีน เขมร อินเดีย ฯลฯ เรียกของอย่างเดียวกัน มารวมไว้ในภาษาไทยด้วย
@deadkilling_night6013
@deadkilling_night6013 2 года назад
7:30 มันใบ้ให้แล้ว ทลาย+พัง=พังทลาย ล้มใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ทรุดคือคล้ายๆกับจมลงในแนวดิ่งจากแกนหรือจุดที่แข็งแรง หรือถ้าพูดว่าทรุดโทรมจะแปลว่าวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่มีความเสื่อมสภาพอย่างมาก เทก็คือการกระทำใช้กับวัตถุไม่ได้ ยกเว้นแต่ในภาษาอีสาน เช่น ฝนเทลงมา
@Limcherim
@Limcherim 2 года назад
เข้าใจนะคะว่าภาษาไทยค่อนข้างยาก และภาษาเขียนที่ใช้ในข้อสอบก็ย่อมแตกต่างกับภาษาพูดในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่แพรมั่นใจมากว่าแบบนี้ผิด แบบนี้ไม่มี ซึ่งจะทำให้คนที่เขาเรียนภาษาไทยเข้าใจผิดไปด้วย ถ้าไม่รู้ก็หาข้อมูลก่อนสักนิดนึง ไม่ใช่ว่ามั่นใจคิดว่าตัวเองถูก บอกตรงๆว่าดูแล้วอึดอัดค่ะ ทำให้ไม่อยากดูต่อเลย
@eroseris
@eroseris 2 года назад
ขอโทษนะคะคุณเเพร เเต่เราต้องหยุดดูตั้งเเต่คุณบอกว่าต้อง ค้างคา ไม่ใช่ คั่งค้าง ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ ค้างคาคืองานที่ pending ถึงเวลาส่งเเล้วเเต่ยังไม่ส่ง ไม่ได้มีนัยยะเชิงปริมาณงาน ส่วนคั่งค้างคือ งานมันค้างเยอะจนทับถม เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นดินพอกหางหมู คั่ง เหมือน เลือดคั่ง อะค่ะ เลือดที่ไหลมากระจุกตัว ณ จุดหนึ่ง ค้างอยู่ตรงนั้น รวมอยู่ตรงนั้น ประมาณนี้ค่ะ
@iampam3790
@iampam3790 2 года назад
ยังไงก็ขึ้นชื่อว่าข้อสอบ ต่อให้เราเป็นเจ้าของภาษา ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่ต้องใช้ความพยายามเลย เพราะจริงๆแล้วเท่าที่ดูข้อสอบละเอียดมากเลย ใช้สอบในระดับประถมมัธยมต้นของเด็กไทย แล้วเด็กสอบตกก็มีเยอะ ข้อสอบประมาณนี้เลยต้องคิดวิเคราะห์ให้ดี ถ้าอ่านแค่เผินๆมันจะเหมือนถูกหมด ใช้ได้หมดแต่ทางวิชาการ แล้วก็การเลือกประโยคมาใช้กับบริบทให้ถูกต้องจริงๆ ในชีวิตประจำวันใช้ผิดกันเยอะค่ะ เผลอๆคนใช้แบบผิดๆเยอะกว่าแบบที่ถูกเสียอีก ภาษาไทยสำหรับคนไทยยังถือว่ายากเลยค่ะ ถ้าให้เลือก เด็กไทยหลายคนยังเลือกวิทย์กับคณิตมากกว่าภาษาไทยอีก แต่เข้าใจได้เพราะแพรไม่ได้ใช้ภาษาไทยบ่อยๆ แล้วก็ห่างหายไปนาน
@user-vv2fy7wp5m
@user-vv2fy7wp5m 2 года назад
เเนะนำให้ไปคอลเเลปกับคนอื่นนะคะ เพราะดูเเล้วพี่เเพรขาดความละเอียดเเละอ่อนภาษาไทยมากกกก เเนะนำลองหาเด็กที่ จุฬา ธรรมศาสตร์ หรือมอดังๆ ปล.สายภาษานะ เพราะ รู้สึกว่าว่าค่าคะเเนนเข้ามหาลัยใช้คะเเนนภาษาไทยสูงมากกกก คิดว่าน่าจะให้คำตอบได้ดีกว่า เก่งมากกกก
@oknakub
@oknakub 2 года назад
เอาจริงๆ ข้อสอบลักษณะนี้ก็ไม่ได้ยาก และไม่ได้ผิดด้วยนะคะ แต่อาจจะมีบางข้อบางคำที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง ซึ่งข้อสอบลักษณะนี้ก็พบได้ทั่วไปตามในโรงเรียน ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย รวมถึงข้อสอบในมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ ข้อสอบสามัญ ข้อสอบโอเน็ตก็เป็นแบบนี้เลยค่ะ และทุกข้อก็มีคำตอบที่ถูกต้องอยู่แล้วนะคะ เพียงแต่คนไทยทำไม่ได้เพราะว่าคุ้นชินกับการใช้ในปัจจุบันไปแล้ว ซึ่งบางคำบางหลักการมันก็หายไปแล้ว ถ้าเราพูดคำที่ความหมายคล้ายกันแน่นอนว่าคนไทยก็เข้าใจได้ค่ะ แต่ในภาษาระดับทางการอาจต้องการหลักการและคำศัพท์ที่ถูกต้องมากกว่าภาษาพูดค่ะ ข้อสอบนี้ก็ออกตามหลักการที่ถูกต้องมากกว่าค่าา
@Meonyour
@Meonyour 2 года назад
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ ถ้าไม่ถูกต้องยังไงต้องขออภัยด้วยค่ะ - วิเคราะห์ แปลได้ทั้ง พิจารณา และ ใคร่ครวญ แต่ว่าใคร่ครวญมักใช้กับความรู้สึกมากกว่า ส่วนพิจารณามักใช้กับงานเอกสาร ทั้งคู่ไม่ใช่ภาษาพูดเป็นภาษาเขียนค่ะ - อัคคีภัย = อัคคี แปลว่า ไฟ +ภัย แปลว่าอันตราย = อันตรายจากไฟ เลยเรียกว่าไฟไหม้ค่ะ ส่วน อุทกภัย = อุทก แปลว่า น้ำ + ภัย แปลว่าอันตราย จะได้ว่า อันตรายจากน้ำ คือน้ำท่วมนั่นเองค่ะ คำพวกนี้เป็นคำไวพจน์มักเจอในวรรณคดี วรรณกรรมไทยค่ะ - คำว่า จำวัด ที่จริงอีกความหมายคือ การที่พระสงฆ์อยู่ที่วัดค่ะ แต่หมายถึงนอนก็ได้ค่ะ - ข้อแนวร่วม น่าจะหมายถึงคนที่มีความสนใจเดียวกันแล้วทำด้วยกันจะทำให้สำเร็จได้ดีกว่าคนเดียวค่ะ - ข้อทลาย ในหลักพจนานุกรมมีบอกไว้ว่าคำคล้ายคือคำว่า พัง ค่ะ แต่อย่างที่พี่แพรบอกว่าจริงๆใช้ได้หมดเลยแต่ถ้าให้เหมาะกับทราย ก็ควรเป็นทรุดค่ะ - ข้อดื้อดึง คิดว่าส่วนใหญ่คำว่าดื้อดึงมักใช้อารมณ์แบบไม่ยอมทำตามคำสั่ง ส่วนดื้อด้านมักใช้กับนิสัยมากกว่าค่ะ - ข้อไม่ชัดแจ้ง ส่วนตัวคิดว่าไม่ชัดแจ้งคืออารมณ์30:70 แต่ไม่ชัดเจนคือ 50:50 แต่ว่าถ้าให้เป็นภาษาทั่วไปควรใช้คำว่า ไม่ชัดเจน มากกว่าค่ะ
@imy0801
@imy0801 2 года назад
แนะนำ​ว่านิสิตเกาหลีควรหา​ RU-vid​r คน​ไทยที่เรียนเกาหลีสักสองสามคนมาทำ​ content นี้​ เหมือน​ที่​คุณ​แพร​ทำ​ภาษาเกาหลี​แล้ว​เอา​นิสิต​เกาหลี​สาม​คน​มา​ทำ​ด้วย​กัน​ อย่าง​น้อย​ยัง​มี​เพื่อน​ช่วย​กัน​คิด​หรือ​แนะนำ​กัน​ได้​บ้าง​ เท่า​ที่​ดู​น้อง​ไม่มี​ความ​รู้​เกี่ยวกับ​หลักภา​ษาไทยอย่างลึกซึ้ง​ ดังนั้น​พอ​แนะนำ​อะไร​ที่​ตัวเอง​ไม่​รู้เรื่อง​อย่าง​มั่นใจ​ จะ​ทำ​ให้​คน​ดู​ที่​ไม่​รู้​เรื่องเข้าใจ​ผิดว่าคนออกข้อสอบ​มั่ว​หรือ​ไม่​เก่ง​จริง​ ทั้ง​ๆ​ที่​คน​เกาหลี​ออก​ภา​ษาไทยได้ขนาดนี้คือเก่งมากๆ​ ภาษาไทยมีทั้งที่ใช้ทางการ​ ภา​ษาเขียน​ ภาษาพูด​เหมือน​เกาหลี​นั้น​แหละ​ค่ะ​ ไม่ได้​ยาก​ขนาด​นั้น​แต่​ต้อง​ตั้งใจ​แล้ว​เข้าใจ​จริงๆ​ค่ะ​ เป็น​กำลังใจ​นะคะ
@sfalpha
@sfalpha 2 года назад
ใคร่ครวญ ไม่ได้แปลว่าวิเคราะห์แน่ ๆ ครับ โดยทั่วไปคำนี้ ใช้กับ บริบท ในลักษณะคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว (อารมณ์ ยังไม่ move on) วิเคราะห์ แปลใกล้เคียงกับ พิจารณา มากกว่า เนื่องจาก พิจารณา มีรากฐานมาจากคิว่า พิจ แปลว่าดู จาระ แปลว่า ด้วยความรู้ ภาษาไทยยากนะ ยากมากด้วย คำยืมจากภาษาอื่นเยอะครับ เลยมีคำที่มีความหมายเหมือนกันหลายคำ
@pbuasri2023
@pbuasri2023 2 года назад
น่าจะถูกแล้ว อารมณ์ที่ยังไม่มูฟอ​อน​ มันคือ​ คร่ำครวญ​ ครับ
@stsotika
@stsotika 2 года назад
@@pbuasri2023 ใช่ค่ะ พิเคราะห์ วิจารณา ใคร่ครวญ ตรึกตรอง
@srdxyz4868
@srdxyz4868 2 года назад
ข้อสอบยากจริงเพราะเป็นภาษาที่ไม่ค่อยได้ใช้พูด แต่อาจารย์ออกข้อสอบเก่งมากเลยค่ะ ดีมาก บางข้อนี่ก็ยังคิดตามซักพัก อาจารย์ความรู้แน่นนนนสุดยอมแล้ว😭
@OhiSee
@OhiSee Год назад
"คั่งค้าง" ก็ยังใช้ได้อยู่ค่า จริงๆ ประโยคก็ใช้ถูกแล้ว "แก่" เป็นภาษาเขียน ใช้กับผู้เล็กน้อยกว่า "แด่" ใช้กับผู้ที่อาวุโสหรือสูงกว่า คนที่ออกข้อสอบใช้ภาษาสวยถูกต้องแล้วค่ะ
@apichartrunjalearn.
@apichartrunjalearn. Год назад
ถ้าจะเปรียบคำไทย ".." ประโยค คำศัพท์..จะเหมือนคณิตศาสตร์...สูตร ทษฎี...บางคำเกิดมาแล้ว ทุกคนรู้ความหมายสากล บางคำก็มี..แต่ไม่สากล บางคำรู้ว่ามี เข้าใจ แต่อธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ตรงๆ..ต้องมีบริบท อารมณ์ บุคคล ประกอบ...เพิ่งเข้ามาดูชอบมาก ขอเป็น fcครับ...
@ichbinandere3532
@ichbinandere3532 2 года назад
ในข้อสอบนี้เป็นศัพท์ academic แต่เพราะคนเราใช้ภาษาพูดจนชิน หากไม่ได้ทำพวกวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยที่ต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกหลัก จะไม่ทราบไม่แปลก แต่ทุกข้อที่ถูกต้องครูผู้ออกข้อสอบมีความรู้ภาษาไทยระดับดีเยี่ยมเลยนะคะ
@safriper8354
@safriper8354 2 года назад
ข้อสอบแบบนี้ไม่ได้วัดความสามารถในการสื่อสารแล้ว แต่เป็นการวัดระดับความรู้ทางภาษาซึ่งมันไม่จำเป็นสำหรับหลายคน ก็คงเหมือนวลีที่คนไทยเรียนภาษาอังกฤษที่ฝรั่งเขาไม่นิยมใช้กันละมั้ง เหมือนมีคนต่างชาติมาพูดกับเราว่า เอ็งเป็นอันใดรึ 555
@pokker842
@pokker842 2 года назад
บาปกรรม ขออธิบายนิดครับ (ค่อนข้างยากในการอธิบายเลยว่า แบบไหนออกเสียง อะ แบบไหนไม่ออกเสียง) สิ่งที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มี 2 เรื่องคือ คำซ้อน กับ คำสมาส คำที่ออกเสียง อะ จะเป็นคำสมาส ส่วนคำซ้อนไม่ออกเสียงอะ บาปกรรม เป็นคำซ้อน ส่วนกิจกรรม เป็นคำสมาส ที่เป็นคำซ้อนก็เพราะ บาป และ กรรม มีความหมายใกล้เคียงกัน (บาป = การกระทำที่เป็นชั่ว, กรรม = การกระทำ) เลยเป็นคำซ้อน ส่วนกิจกรรม กิจ = งานหรือธุระ, กรรม = การกระทำ อันนี้แปลต่างกันเลยเป็นคำสมาส อ่าน กิด - จะ - กำ (ลองสังเกตุเพิ่มเติมได้ กิจธุระ กิจ กับ ธุระ มีความหมายเหมือนกัน เลยเป็นคำซ้อน ไม่ใช่สมาส อ่าน กิด - ทุ - ระ) เรื่องพวกนี้มีกฎเพิ่มอีก อันนี้เจาะมาเฉพาะส่วนที่นำมาเปรียบเทียบ เลยขอย่อเท่านี้
@kiatnarongsornthong7073
@kiatnarongsornthong7073 2 года назад
"คลุมเครือ" มีความหมายในเชิงตัดสิน วินิจฉัยไม่ได้ว่าเป็นทางใดทางหนึ่ง อาจเพราะข้อมูลหรือรูปลักษณ์ทำให้อาจเป็นได้ทั้งสองแบบหรือหลายแบบ แต่คำว่า"ไม่แน่นอน" มีความหมายในเชิง เป็นสิ่งนี้อยู่แต่อาจกลายเป็นอย่างอื่นในเวลาต่อมาซึ่งเป็นผลจากความไม่เสถียรของสิ่งที่กำลังกล่าวถึง ครับ สู้ๆครับ ส่วนคำว่า"คั่งค้าง" แม่คำคือ คั่ง มีความหมายไปในเชิงว่า มาอุด มาพอกอยู่ที่จุดๆหนึ่งจนสามารถเห็นว่ามีปริมาณมาก เมื่อเอาค้างมาเป็นคำสร้อยจึงย้ำว่าไม่ไปไหนเลย ซึ่งตรงกับสำนวนไทยว่า "ดินพอกหางหมู" เพราะหมูชอบคลุกดินคลุกโคลนยิ่งคลุกดินก็ยิ่งพอกไม่หลุดไปไหนคนไทยโบราณสังเกตว่ามันคล้ายๆกันจึงเรียกว่า"ดินพอกหางหมู" ส่วนคำว่า"ค้างคา"คนไทยเราจะใช้ในเชิงเป็นเรื่องทางใจที่เคลียร์กันไม่จบ ในลักษณะยัง"ข้องใจ"กันอยู่ เช่นมีเรื่องชกต่อยกัน แต่มีผู้ที่เหนือกว่าทั้งสองฝ่ายมาห้ามซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ได้จบเรื่องกัน แต่ยอมจบเพราะกลัวคนที่มาห้ามแต่ในใจยัง ข้องใจอยู่ ถ้าพ้นจากอิทธิพลของคนที่เข้ามาห้ามก็พร้อมบวกกัน(ชกกัน)อีกได้ อะไรประมาณนี้ ส่วน"หลวงตา" เป็นภาษาพูด ที่ใช้เรียกพระภิกษุที่อายุมาก โดยเอาเอาคำว่า หลวงที่แปลตรงตัวว่าใหญ่ แต่ในที่นี้ละไว้(หมายถึงไม่ต้องไปแปลให้ปวดหัว55)สำหรับใช้กับพระภิกษุ(เอาใส่ไว้ข้างหน้า) บวกกับคำที่ใช้ลำดับญาติกัน เช่นบวกกับคำว่าพี่เป็นหลวงพี่ บวกกับคำว่าพ่อเป็นหลวงพ่อ บวกกับคำว่าปู่เป็นหลวงปู่ บวกกับคำว่าตาเป็น"หลวงตา" หลวงตาจึงหมายถึงพระภิกษุสูงวัยที่ผู้เรียกนับถือว่าเป็นเหมือนตาของตนจึงเรียกว่า"หลวงตา"ครับผม สู้ต่อไปครับ
@firfonst
@firfonst 2 года назад
เป็นคลิปที่ดูแล้วรู้สึกอึดอัดมากเพราะอยากไปช่วยแก้ให้นิสิตเกาหลีไม่เข้าใจผิดตามคุณแพรไปด้วย แต่พอมาอ่านคอมเม้นแล้วเจอคนให้ความรู้เยอะเลยคิดว่านิสิตเกาหลีและคุณแพรน่าจะได้อ่านกันแล้ว ขอโทษ​ที่ทนดูคลิปจน​จบไม่ได้นะคะ
@pinyapatontieng3549
@pinyapatontieng3549 2 года назад
คำว่า “แนวร่วม”มีค่ะน้องแพร
@palmbill98
@palmbill98 2 года назад
ผมมองว่ามันยากนะครับ คนไทยเองอ่านแล้วยังรู้สึกไม่ชัวร์ที่จะตอบเลย ค่อนข้างเป็นทางการมากๆ ซึ่งตามที่คุณแพรบอกจริงๆ คำพวกนี้มันไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันสักเท่าไร แต่จะเห็นได้ ตามข่าว หนังสืมพิมพ์หรือพวกนวนิยาย ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเป็นข้อสอบทางการ อาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและทบกวนมากกว่าปกติ ถึงจะทำข้อสอบประเภทนี้ได้ ต้องชื่นชมคนเกาหลีที่ทำข้อสอบนี้ได้จริงๆ และก็ขอชื่นชมอาจารย์ที่ออกข้อสอบ ดูจากบทความในข้อสอบถือว่าเขียนได้ระเอียดและชัดเจนมาก สำหรับชาวต่างชาติ ผมนี้อึ่งไปเลย ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งคุณแพร นิสิตเกาหลี ทำคอนเท้นนี้สนุกๆแบบนี้อีกคับ สู้ๆ
@doubleui8659
@doubleui8659 2 года назад
จริงๆ การที่ไม่รู้ ไม่ได้ผิดนะ แต่กิริยาที่แพรใช้อธิบายให้เพื่อนฟัง ไม่เหมาะสมมากๆ นี่คือข้อสอบ เพราะฉะนั้นมันต้องอ้างอิงตามหลักภาษา ไม่ใช่ตามความรู้สึก หรือความไม่รู้ของตัวเอง
@dna751
@dna751 2 года назад
ข้อ 58 แก่ ถูกต้องแล้วครับ / กับ - สำหรับ จะใช้ เมื่อเราให้ของแบบ รุบุตัวตน เช่น ครูให้รางวับ กับ นร.แพร / สำหรับ จะใช้เมื่อ เราทำรางวัลขึ้นมาเพื่อให้ใครแบบรุบุ หรือแจะจง เช่นรางวัลนี้ มีไว้สำหรับ นส.แพร
@tukangxi71
@tukangxi71 2 года назад
คนออกข้อสอบเก่งครับ ไม่มีข้อไหนผิด
@user-eb4nm3og1d
@user-eb4nm3og1d 2 года назад
คั่งค้าง ปกตินะครับ ใช่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่ควรพูดว่า การงานคั่งค้างมากขึ้น “เรื่อยๆ” ใช่แค่เรื่อย คำเดียว ฟังแล้วแปร่งๆ
@shakaya51
@shakaya51 2 года назад
ติเพื่อก่อ รักพี่แพร นะ หลายๆคำพี่อธิบายไม่ถูก ควรทำการบ้านมาเยอะๆนะพี่ ไม่ควรตอบตามความรู้สึกหรือความหมาย ดั่งหลายความเห็นหลายท่านอธิบายนะพี่ จากคนได้ภาษาไทยเต็มร้อย (สให้มาสอบใหม่ยังมีพลาดจมเลยพอไม่ทวน)
@kk-awp6509
@kk-awp6509 2 года назад
ฟังแค่ถึงคั่งค้างก้อพิมพ์เลย คั่งค้างกับค้างคาคนละความหมาย ประโยคนี้ใช้คั่งค้างถูกแล้ว แต่คำว่ามากขึ้นเรื่อยเนี่ย 5555 ทรุดคือเหมือนตึกทรุดครับ ตัวตึกยังอยู่แต่มันแค่ทรุดลงมา พังคือกระจายหมดเลย ดูจนจบอืมมมม ภาษาไทยคุณแพรอ่อนมากจริงๆ 5555
@user-po3kz6yv8s
@user-po3kz6yv8s 2 года назад
ก็เข้าใจได้ ว่า คุณแพร ไม่ได้ใช้ภาษาไทยทางการนาน อาจจะไม่คุ้นกับคำพวกนี้ คอนเทนต์นี้ จริง ๆ ก็ให้คนไทย ทำข้อสอบไปด้วยกันเลย ก็ไม่ติดอะไรอยู่แล้วนะครับ เพราะเป็นการวัดข้อสอบที่ ออกโดยคนเกาหลีด้วย แต่ คุณแพร ก็ต้องติวมาก่อนเด้อ จะได้เข้าใจภาษาทางการมากขึ้น มันจะ งงๆ หน่อย คนอยู่ที่ไทย ถึงจะได้ยินจาก ทีวีก็เถอะ แต่พูดประจำวันก็ไม่ได้ใช้เหมือนกัน
@astron2light
@astron2light 2 года назад
57 "พิจารณา" คือการใช้ตาเพ่งมองหาสิ่งใดๆ "ใคร่ครวญ" คือการใช้สมองวิเคราะห์ แต่ในชีวิตจริงก็จะสับสนได้เพราะเวลาเราพิจารณาอะไรเราก็มักจะคิดวิเคราะห์ไปด้วย ทำให้เรานึกว่าเป็นคำเดียวกัน 58 ภาษาพูดจะยืดหยุ่นกว่า แต่ให้ถูกต้องตามหลักการต้องพูดว่า "แก่" 59 เสริมนิดนึง ถึงข้อนี้ "ไฟไหม้" จะถูกต้อง แต่จริงๆแล้ว ไฟไหม้ ≠ อัคคีภัย, อัคคีภัย = อันตรายที่เกิดจากไฟไหม้, มาจากคำว่า อัคคี + ภัย = ไฟ + อันตราย, ถ้าไฟไหม้ที่ยังไม่ได้เป็นอันตราย ก็จะยังไม่เป็นอัคคีภัย 63 ข้อนี้ "แนวร่วม" ชัดเจนเลยครับคุณแพรรรรร ;) ตอบได้แค่อย่างเดียวด้วย คนที่ให้ความร่วมมือก็คือแนวร่วมนั่นแหละครับ 69 บาปกรรม กิจกรรม เอาตรงๆ ไม่ต้องไปหาหรอกครับว่าทำไมคำแบบนี้ถึงอ่านแบบนี้ คำแบบนั้นถึงอ่านอีกแบบ ในฐานะคนไทยทั่วไป เราก็แค่จำว่าคำนี้อ่านยังไง ไม่ได้ลงลึกไปถึงหลักการหรอก แต่ถ้าอยากลงลึก ส่วนตัวเข้าใจว่าเกิดจากความนิยม เพราะทั้งบาปกรรมและกิจกรรมต่างก็เป็นคำสมาสทั้งคู่ บาป ในภาษาเดิม (บาลี-สันสกฤต) คือ ปาป (ปา-ปะ) และบาปในภาษาไทยอ่านได้ทั้ง บาบ-ปะ และ บาบ แต่คนนิยมอ่านว่าบาบมากกว่า เลยทำให้ บาปกรรม อ่านว่า บาบ-กำ มีข้อสังเกตคือ ในภาษาลาว บาปกรรม อ่านว่า บาบ-ปะ-กำ เช่นเดียวกับในภาษา บาลี-สันสกฤต จะเห็นว่าคำเดียวกัน แต่เราอ่านไม่เหมือนเพื่อน และอ่านไม่เหมือนภาษาเดิมที่เราเอามาด้วย แล้วก็ยังอ่านแปลกไปจากคำสมาสด้วยกันอีก -*- 71 ผมอ่านแล้วก็เหมือนกันหมด 555 แต่ถ้าจะใช้ทริคคือ พังทลาย มันคือคำซ้อนของคำที่มีความหมายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พัง = ทลาย (บ้านทรุด บ้านยังไม่ทลายนะครับคุณแพร ;p) 77 ข้อนี้ยากมาก ระหว่างดื้อดึงกับดื้อด้าน แต่ถ้าพูดว่า "ดื้อด้าน" จะนึกถึง "ถูกลงโทษแล้วแต่ก็ยังทำอีก" เช่นลูกคนนี้มันดื้อด้านจริงๆ แต่ "ดื้อดึง" จะนึกถึง "ห้ามแล้วไม่ฟัง ยังจะทำอีก" เช่น ฉันเตือนเขาแล้วว่ามันยาก แต่เขาก็ยังดื้อดึง 87 "คำถามข้อนี้คลุมเครือ" คือไม่ชัดเจนตั้งแต่คำถาม, "คำถามข้อนี้ไม่แน่นอน" ส่วนมากจะไม่ได้หมายถึงคำถาม แต่หมายถึงคำถามข้อนี้มีคำตอบที่ไม่แน่นอน (ไม่แน่นอนคือชัดเจน แต่มากกว่าหนึ่งอย่าง เปลี่ยนไปตามสถานการณ์) สุดท้าย คอมเมนต์นี้ต้องการที่จะช่วยอธิบายให้นิสิตเกาหลีเข้าใจภาษาไทยมากยิ่งขึ้น ไม่ได้ต้องการจะดิสเครดิตคุณแพร ที่มีการอ้างถึงคุณแพรเพียงแค่อยากแซวเล่นเฉยๆครับ แฮร่
@Akirakiirin
@Akirakiirin 2 года назад
กฎการอ่านเรื่องภาษาที่ยืมมาจากบาลี-สันสกฤษ ที่พี่แแพรพูดเป็นเรื่องของคำสมาสสนธิ เช่นคำว่า บาปกรรม ในข้อสอบ อ่านว่า บาบ-กำ เพราะว่า เป็นการสมาสแบบนำคำมาชนกันเฉยๆ ค่ะ เลยอ่านต่อกันเลยไม่ต้อง อ่านแบบเชื่อมคำ เหมือนคำว่า กิจกรรม อ่านว่า กิด-จะ-กำ เพราะว่า กิจจะ หรือ กิจฺจ เป็นคำในภาษบาลี แปลว่า การงานอันพึงกระทำ เอาง่ายๆ คือคำว่าบาป ตัวต้นคำก่อนนำมาผสมหรือสมาสกัน มันไม่ได้อ่านว่า บาบ-ปะ ตั้งแต่แรกค่ะ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนไทยเหมือนกันค่ะ อาศัยการจำเอาค่ะ ถ้าเป็นคำที่พูดหรือใช้บ่อยก็จะจำได้ง่ายค่ะ ข้อสอบภาษาไทยในไทยก็ประมาณนี้ค่ะถ้าเป็นเรื่องของหลักภาษามันมีวิธีการดูอยู่นะคะ แต่ถ้าเป็นข้อสอบแบบวิเคราะห์อันนั้นของไทยคือยิ่งยากเลยค่ะ ชอบเอากลอนมาให้อ่านแล้วถามว่าคนแต่งกลอนรู้สึกยังไง แหมใครจะไปเดาได้คะคุณพี่หนูไม่ใช่คนแต่ง บางครั้งข้อสอบที่ทำออกมาคนไทยทำเองยังงงเองเลยค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ รู้สึกดีมากเลยค่ะเวลาที่มีคนชอบหรือว่าสนใจภาษาไทย เพราะเป็นภาษที่ยากสำหรับคนต่างชาติมากๆ ภาษาหนึ่งเลยค่ะกับคนไทยเองบางก็มองว่ายากเหมือนกัน เอาใจช่วยนะคะ จะพยายามคอมเมนต์สอนหรือแก้ไขให้เข้าใจเท่าที่ช่วยได้นะคะ เป็นช่องที่สนุกมากค่ะ รอติดตามคลิปต่อไปอยู่นะคะ /ฮาร์ททึ
@iriskim6559
@iriskim6559 2 года назад
บาปกรรม เป็นคำซ้อนค่ะ เป็นความหมายเดียวกันเอามาพูดต่อกันเฉยๆ จะพูดบาปเฉยๆก็ได้ กิจกรรม เป็นคำเชื่อม เกิดความหมายใหม่ เป็นคำเดียวกัน พูดง่ายคือ บาปกรรม เป็น2คำที่เอามาต่อกันเฉยๆเลยต้องออกเสียงแยก กิจกรรม เป็นคำเดียว คำนี้มันออกเสียงแบบนี้
@eienryuu831
@eienryuu831 2 года назад
ผมว่า คนไทยมักใช้ภาษาที่ชินปาก โดยไม่ได้สนใจแบ่งวิธีใช้ของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันสักเท่าไหร่ครับ เป็นหนึ่งในปัญหาเวลาอธิบายภาษาไทยให้ชาวต่างชาติเลย ถถถ อีกทั้ง คำใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นมาแทนคำเก่าอยู่เรื่อย ๆ ทำให้คำนั้น ๆ ถูกลืม และไม่ได้ใช้ในปัจจุบันครับ
@9allaboutnct
@9allaboutnct 2 года назад
คุณแพร คั่งค้างถูกแล้วนะคะ คั่งค้างเหมือนการทำบางอย่างไม่เสร็จแล้วสะสมไปเรื่อยๆ ค้างคา มันเหมือนอาการ ค้างคาใจ หรือการทำอะไรยังไม่เสร็จเรียบร้อย แต่ไม่ได้สะสมงานเรื่อยๆ
@nomonu1136
@nomonu1136 2 года назад
มันเป็นไวยกรณ์ภาษาไทยค้าบบ การเรียนภาษาอะไรสักอย่างก็คือการที่ต้องเรียนภาษานั้นให้เข้าไปลึกถึงแก่นหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษานั้นๆค่ะ ไม่แปลกค่ะที่คุณแพรยังตอบไม่ได้ เพราะภาษาที่ใช้สนทนากันไม่ได้ลึกเอาความหมายขนาดนั้น เราก็ตอบไม่ได้คับเป็นคนไทยที่ตกภาษาไทยด้วย55555 ฝากถึงคนที่จะเรียนภาษาไทยถ้าแค่อยากสนทนาได้ไม่จำเป็นต้องเรียนถึงขั้นนี้ค่ะ ฝึกพูดคุยบ่อยๆกับเพื่อนคนไทยแค่นี้ก็ได้แล้วค่ะ สู้ๆนะคะทุกคนนน!
@user-oy3os2jt1i
@user-oy3os2jt1i 2 года назад
와우 프레님과콜라보 대박이네요 สนุกมากๆๆๆๆ♡♡ ทำด้วยกันบอยๆๆครับ
@phatsarapapholmakham2644
@phatsarapapholmakham2644 2 года назад
แนวร่วม ก็คือ noun แปลว่าคนกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกันค่ะ
@phetdab6134
@phetdab6134 2 года назад
เอาจริงถึงเป็นคนไทยก็ไม่ได้ผิดหรอกที่จะใช้หลักภาษาไทยที่ไม่ค่อยถูกต้อง เพราะภาษาไทยยาก แต่คนออกข้อสอบเป็นถึงอาจารย์เลยนะคิดว่าเค้าก็ต้องมีความรู้อ่ะ ถึงจะคอนเท้นอะไรก็ควรศึกษาก่อนอ่ะ เหมือนมาให้ความรู้คนเกาหลีแบบผิดๆ แต่ดูมั่นใจที่พูดมากด้วยนะ ฝากปรับปรุงด้วยค่ะ
@n-7766
@n-7766 2 года назад
- แนวร่วม = คนที่ให้ความร่วมมือ เป็นภาษาข่าว สื่อมวลชนนิยมใช้ - กิจกรรม เป็นคำสมาส กิจจะ + กรรม (บาลี+สันสกฤต) จึงต้องอ่าน อะ ช่วงต่อคำ (เป็นหมวด คำสมาส คำสนธิ คำประสม) - ค้างคา, คั่งค้าง ความหมายใกล้เคียงกัน แต่ใช้ในปริบทต่างกันเพื่อความสละสลวยของภาษา เช่น เราเร่งทำงานที่คั่งค้างให้เสร็จ อย่าปล่อยให้ค้างคาเนิ่นนานไป - ดื้อด้าน, ดื้อดึง ต่างกันนิดนึง ดื้อด้าน คือ ยึดในความคิดมากเกกินไป ดื้อดึง คือ จะทำให้ได้ตามความคิดนั้น เช่น เขาดื้อดึงที่จะขี่จักรยานแม้เขาจะขี่ไม่เป็น เขาเป็นคนดื้อด้าน
@c.haneul
@c.haneul 2 года назад
สาเหตุที่ภาษาไทยมีหลายคำแต่ความหมายเดียวกัน เนื่องจากภาษาไทยมีการแบ่งระดับภาษา ให้ใช้ได้เหมาะสมตามโอกาส บุคคล สถานที่ และกาลเทศะค่ะ ปล.ชอบดูทั้งนิสิตเกาหลี และ hi prae นะคะ ติดตามและเป็นกำลังใจให้ค่าาา 😍😍😍
@pornpansachaiwitnon9983
@pornpansachaiwitnon9983 2 года назад
ประเทศไทย เราประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเองค่ะ เพื่อใช้ในราชอาณาจักร แต่ด้วยอาณาจักรไทยมีคนอยู่หลายภาค และมีอาณาเขตติดกับหลายประเทศ จึงต้องประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกันค่ะ ตัวอักษรบางตัวเราก็เอาของเขมรมาใช้ค่ะ (การเขียนอาจจะคล้ายๆ กัน ปัจจุบันยังเห็นหลงเหลืออยู่) เช่นตัว ฏ ฎ ศ ฑ เป็นต้น คำพูดบางคำก็เอามาจากลาวบ้าง เช่น ทองคำ (ลาวเรียกทองว่า "คำ" เราเอาคำว่า"ทอง" มาวางข้างหน้า ถึงได้เรียกทองคำค่ะ) คำว่า ละคร เราก็ยืมมาจากภาษาเขมรค่ะ (ทางเขมรจะออกคำว่า ลโคน) ในภาษาไทยเรายืมมาจากภาษาอื่นเป็นจำนวนมากค่ะ คำไทยแท้ส่วนมากมักมีพยางค์เดียว เช่น ไป มา หู ตา พ่อ แม่ เป็นต้นค่ะ นี้ยังไม่รวมกับภาษาสันสกฤต และบาลีนะคะ ภาษาไทยนี้ยอมรับจริงๆ ว่ายากค่ะ คนไทยยังคิดว่ายากเลย 555555
@supanidajan9935
@supanidajan9935 2 года назад
จริงๆลาวไทยก็อยู่ในตระกูลเดียวกันครับเเตกสายออกมาจาก ไท-กะไก มีอีกหลายกลุ่มมากที่เเตกออกมาเช่น เผ่าต่างๆในจีนตอนใต้ พวกจ้วง สิบสอบปันนา ไทดำ ไทอาหม ไทใหญ่ เเล้วที่นี้เเต่ก่อนบริเวณประเทศไทยปัจุบันเเถวๆภาคกลางไปจนถึงเขมรปัจจุบันเป็นอิทธิพลเขมรโบราณ เเล้วกลุ่มคนพูดไทก็ลงมาเป็นลาว ล้านนา ลงมาผสมภาคกลางทำให้เกิดการผสมคำกับสำเนียงกันขึ้น สำเนียงไทเก่าๆจะประมาณเหน่อๆสุพรรณ ลาวอีสานเหนือ มีนักประวัติศาสตร์ชื่อ สุจิตร วงเทษ พบวว่า สำเนียงเหน่อสุพรรณมันตรงกับสำเนียงหลวงพระบางลาว ก็คือคนพวกตระกูลไท-กะไดลงมาเป็นสุพรรณ ทีนี้ก็เกิดการรวมระหว่างละโว้กับ สุพรรณภูมิภาคกลาง(กลุ่มคนเขมร)เป็นอยุธยาขึ้นตอนแรกอยุธยายังเป็นเขมรเเล้วรัฐสุพรรณบุรีที่เป็นกลุ่มคนไทมายึดคนเเถวนั้นเลยเปลี่ยนมาพูดไทเเล้วต่อมาอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจยึดเมืองทางเหนือต่างๆ ต่อมาเลยเกิดภาษากลางขึ้นมาเริ่มอยุธยามาเป็นกรุงเทพเวลาคนจากที่อื่นมาค้าขายก็พูดกลาง จากสำเนียงไทเดิมกับเขมร เเล้วก็มีคนจีนมาอยุธยาเยอะมากเลยผสมกันมาเป็นสำเนียงกลาง คนไทยเลยมีลูกผสมเยอะโดยเฉพาะภาคกลาง ใต้ก็พวกมาลายู ในอำเภอเมืองต่างๆก็มีจีนเวียดนามมาผสมเพราะเข้ามาค้าขายดีในเมือง นอกเมืองไม่ค่อยมี สังเกตได้ว่าภาษาไทยปัจจุบันมีคำเขมรมาปนเยอะ ราชาศัพท์งี้เพราะอิทธิพลไทยึดครองเลยเหลือคำเขมรไว้ เเล้วก็ได้ยืมคำบาลี สันสกฤตมา พ่อขุนรามเเต่ก่อนเขมรปกครองสุโขทัยเเล้วก็ขับไล่ออกไปได้เลยได้รับตัวอักษรมาดัดแปลง ดูตัวเลขไทยกับเขมรเหมือนกันเลย วัฒนธรรมการเเต่งกายภาคกลางกับเขมรหรือกัมพูชาปัจจุบันดูเหมือนๆกันเพราะมันผสมกัน โขนก็ด้วย เเต่ไม่ว่าจะเชื่อชาติไหนก็เพื่อนกัน รักกันไว้นะครับ🥰
@sraem7537
@sraem7537 2 года назад
จริง ๆ แล้วข้อสอบอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางยากนิดหนึ่งค่ะ ถ้าเป็นคนไทยที่เป็นสายอ่านหนังสือแบบเราจะมองว่าไม่ได้ยากอะไรขนาดนั้น พอจะอธิบายได้ แล้วข้อสอบมีความชัดเจนมาก ๆ ค่ะ เพียงแต่พอแปลแล้วจะแปลก ๆ นิดหนึ่ง เพราะไม่ชินกับการเรียงประโยคของเกาหลีค่ะ ฮา ข้อ 1 คั่งค้างเป็นคำที่สวยงามมากค่ะ สมัยนี้ไม่ค่อยเห็นใช้กันแล้ว ขนาดเราวัย 23 ยังแทบจะไม่ได้เห็นคำนี้ในชีวิตประจำวันเลย คั่งค้างจะให้อารมณ์เป็นเรื่องงานที่ยังสะสางไม่สำเร็จ ส่วนค้างคาจะสามารถใช้ในหลายบริบทมากกว่าค่ะ เช่น ความสัมพันธ์ที่ค้างคา รากศัพท์น่าจะมาจากคาราคาซัง คือค้างคา ยังไม่เสร็จสิ้นนั่นเองค่ะ ข้อ 2 วิเคราะห์นี่สารภาพเลยว่าเราตอบผิดค่ะ 555555 ไปตอบข้อพิจารณาเหมือนกัน เพราะมองว่าใคร่ครวญมันสามารถมีความหมายอีกอย่างคือใคร่ครวญหา คิดถึง อะไรทำนองนี้ สำหรับคนไทยส่วนมากจะมองสองคำนี้คล้ายกันไม่แปลกเลยค่ะ ข้อ 3 เป็นเรื่องระดับภาษา ถ้าเป็นเอกสารราชการหรืออะไรที่ต้องเขียนอย่างเป็นทางการ แด่ แก่ นี่จำเป็นมากค่ะ แต่คนไทยค่อนข้างชินกับภาษาพูดหรือภาษาปากมากกว่า
@sraem7537
@sraem7537 2 года назад
ข้อ 4 ก็เป็นเกี่ยวกับระดับภาษาเช่นกันค่ะ ไฟไหม้จะเป็นภาษาพูด แต่อัคคีภัยจะเป็นทางการขึ้นมาหน่อย ข้อ 5 จำวัดไม่ใช่คำราชาศัพท์นะคะ แต่เป็นคำที่ใช้กับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ถ้าคำราชาศัพท์จะเว่อวังกว่านี้อีกค่ะ 555555 เราลืมแล้วว่าเป็นคำยืมหรืออะไร แต่เดาว่าน่าจะแผลงหรือยืมมาจากประเทศอื่นค่ะ ข้อ 6 จริง ๆ ถ้าดูจากตัวเลือกคือตอบแนวร่วมเลยค่ะ แต่แนวโน้มก็ถือว่าใช้ได้ เพียงแต่มันจะแปร่ง ๆ เพราะขาดวลีเสริมให้ประโยคมันเต็มหรือสมบูรณ์มากขึ้น แต่ถ้าตอบแนวร่วมประโยคจะสมบูรณ์ไปในตัวมันเองเลยค่ะ ถ้าอยากใช้แนวโน้มโดยที่ประโยคสมบูรณ์หน่อยก็เช่น เรื่องสำคัญแบบนี้ต้องมีแนวโน้มว่าจะมีแนวร่วมเพิ่มมากขึ้นจึงจะทำได้สำเร็จ หรือ เรื่องสำคัญแบบนี้จะต้องมีแนวโน้มว่าผู้ร่วมงานมากกว่าครึ่งทำงานได้ไม่ผิดพลาดจึงจะทำได้สำเร็จ ข้อ 7 มันจะมีคำ “ประวิสรรชนีย์” กับ “ไม่ประวิสรรชนีย์” ค่ะ อย่างกิจกรรมเป็นคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อะ กึ่งเสียง มักเป็นคำที่ยืมมาค่ะ ส่วนมากต้องจำเอาค่ะ ไม่ค่อยมีหลักเกณฑ์ในการใช้เท่าไหร่ เน้นอ่านเยอะ ๆ จำเยอะ ๆ อย่างเดียวเลยค่ะ เพราะขนาดตัวเราเองที่ถือว่าอ่านหนังสือเยอะมากยังมีอ่านผิดบางทีเลยค่ะ
@sraem7537
@sraem7537 2 года назад
ข้อ 8 พังทลายเป็นคำซ้อนค่ะ คือ พัง = ทลาย ทั้งสองมีความหมายเหมือนกัน ในขณะที่ล้มจะเป็นแบบที่คุณแพรบอกเลย แบบล้มลงมา บริบทจะใช้กับของที่มีลักษณะสูงแล้วล้มหรือมีความแข็ง ๆ หน่อย ไม่ค่อยใช้กับทราย ทรุดนี่เราคิดถึงภาพหลุมที่พื้นทรุดลงไป หรือคนทรุดลงนั่งค่ะ ส่วนเทก็เหมือนเฉลยเลยค่ะ มักใช้กับของเหลว แต่กับสสารที่เป็นเม็ดเล็กๆ นับยากก็ใช้นะคะ อย่างเททรายก็ใช้ได้ค่ะ แต่ความหมายจะไม่ตรงกับพังเท่านั้นเอง ข้อ 9 ยากนะคะ เกือบตอบผิดแน่ะ ดึงดัน ดื้อดึง ดันทุรัง น่าจะเป็นหมวดเดียวกันค่ะ ส่วนดื้อด้าน ดื้อแพ่ง ดื้อมากก็อยู่ในหมวดคนดื้อเช่นเดียวกันค่ะ เพียงแต่สามคำแรกจะเป็นขั้นกว่า ก็เหมือน hot กับ hotter นั่นแหละค่ะ สามอันแรกคือจะเอาให้ได้ ต่อให้รู้ว่ายังไงก็ไม่มีวันได้มา ส่วนสามอันหลังจะอ่อนลงมาหน่อยดื้ออยากได้นะ แต่ไม่ได้ก็ไม่เอาอะ ยอมแพ้ก็ได้ อะไรทำนองนี้ ข้อ 10 พูดให้ตายใจคือวางใจค่ะ คือพูดให้เชื่อถือ ซึ่งอาจจะคลุมเครือกับสบายใจนิดหน่อย แต่จากบริบทแล้วต้องใช้วางใจค่ะ เพราะพูดให้ตายใจเป็น negative แต่สบายใจจะเป็น positive ซึ่งตายใจส่วนมากแล้วใช้ในบริบทหลอกล่อให้เชื่อถือ ส่วนสบายใจจะเป็นพูดให้ผู้ฟังรู้สึกดี ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็น “เขาพูดจนเธอมั่นใจ” หรือ “เขาใช้คำพูดจนเธอวางใจขึ้น” จะตอบเป็นสบายใจทันทีค่ะ ข้อ 11 ไม่ถูกต้องกับไม่สมบูรณ์เป็นคำที่ให้คำตอบแบบเห็นได้ชัดจึงผิด ส่วนคำถามว่าไม่ชัดแจ้งกับไม่แน่นอนต่างกันยังไง ต่างกันตรงที่ไม่แน่นอนมักจะใช้กับสิ่งที่เป็นทางเลือกหรือมีทางเลือกแล้วค่ะ เช่น ไปหรือไม่ไป กินหรือไม่กิน สีแดง ขาว ดำ ฟ้าหรือชมพู อะไรทำนองนี้ ในขณะที่ไม่ชัดแจ้งจะให้ความหมายเหมือนกับไม่ชัดเจน คลุมเครือ ไม่แจ่มแจ้ง ในภาษาพูดมีคำว่าแจ่มแจ้งแดงแจ๋ด้วยค่ะ ความหมายก็ประมาณว่าชัดเจน ไม่ชัดแจ้งจึงหมายความว่าคลุมเครือ ไม่มีทางเลือก มองไม่เห็นหนทาง อะไรทำนองนี้ค่ะ จะไม่เหมือนสามคำที่ค่อนข้างมีตัวเลือกหรือคำตอบที่ชัดเจนแล้ว
@mageraleblue1732
@mageraleblue1732 2 года назад
ตัวเองพูดแทนใจเรามากๆ เลยค่ะ คิดว่าคนที่ออกข้อสอบเก่งภาษาไทยมากๆ เลย คนไทยทั่วไปอาจจะยังงงๆ อยู่บ้าง แต่ถ้าอ่านหนังสือจนชินจะรู้ว่าคำพวกนี้ใช้ประมาณนี้จริงๆ ค่ะ
@topsuwicha
@topsuwicha 2 года назад
มันมีหลักการและเหตุผลทางไวยากรณ์อยู่ครับ ไม่ใช่เอาความเคยชินที่เราพูด เพราะภาษาพูดมักจะเอามาพูดผิดๆแล้วเคยชินกับทั้งพูดทั้งเขียน
@chanayusworasart418
@chanayusworasart418 2 года назад
เป็นคลิบแรกที่ดูไม่จบ ไม่ไหวจริงๆครับ ยังติดตามต่อไปครับ แต่ถ้าจะนำเสนออะไร ที่เป็นวิชาการแบบนี้ น่าจะมีการศึกษาข้อมูลสักนิดถ้าไม่แน่ใจ Google น่าจะช่วยได้ครับ มั่นใจแบบไม่รู้จริงมันดูไม่ดีเลย
@user-rg8fq5il8l
@user-rg8fq5il8l 2 года назад
จริงค่ะ
@numpop
@numpop 2 года назад
สงสัยจะอยู่เกาหลี นานไปแล้วคุณแพร
@krairatchaivino7383
@krairatchaivino7383 2 года назад
ขึ้นชื่อว่าข้อสอบ มักเป็นคำที่ไม่ได้ใช้ ในชีวิตประจำวันมากนัก ไหนจะภาษาพูด ภาษาเขียน+ภาษาราชการ คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ใช้ต่างบริบทกัน ไม่ได้บอกว่าจำเป็นต้องรู้ทั้งหมดนะ แต่สำหรับการสื่อสาร ไม่ว่าภาษาไหน ถ้าเราสามารถเลือกใช้คำที่เหมาะสมได้ เราก็สามารถสื่อสารได้ตรงตามจุดประสงค์ ไม่ผิดเพี้ยนไป คลิปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีครับ แสดงให้เห็นว่า แม้แต่เจ้าของภาษาเอง ก็ไม่ได้เชียวชาญ ทุกด้านในการใช้ภาษาของตนเอง ... เป็นกำลังใจให้ครับ
@nengmail
@nengmail 2 года назад
"ทรุด" การพังแบบแนวดิ่ง เป็นการระบุลักษณะที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปนิยมใช้กับสิ่งก่อสร้าง เช่น ตึกทรุด, พื้นทรุด, ดินทรุด แต่ถ้าใช้กับสิ่งมีชีวิต มักใช้อธิบายถึงอาการป่วย(อาการแย่ลง), "พัง" >> การเกิดความเสียหาย แต่ใช้ในลักษณะที่ไม่ได้ลงรายละเอียดหรือลักษณะที่เกิดขึ้น เช่น รถพัง, ถนนพัง, โต๊ะพัง .... ภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันปกติ จะค่อนข้างแตกต่างจากภาษาที่ใช้ในการเขียนหรือเป็นทางการ ที่มีความสละสลวย, เยิ่นเย้อหรือไพเราะในการออกเสียง แต่ถ้าใช้พูดคุยกันปกติก็จะเน้น สั้น กระชับ และมีคำผสมใหม่ๆหรือเอาคำมาเปรียบเปรยมาก(เปลี่ยนไปตามยุคสมัย) คือถ้าจะเอาให้พูดและเข้าใจได้ไว ไปเน้นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันปกติจะเข้าใจง่ายกว่า เพราะโดยส่วนมากจะใช้กันแค่นี้ ..... ในส่วนของการอ่าน มันจะมีเรื่อง "ตัวสะกด" ที่ให้ท่องๆกัน อาทิ "แม่-กก" "แม่-กน" บลาๆ(ไม่แน่ใจว่าคลาสของเกาหลีเรียกว่าอะไร) กับเรื่อง "อะ กึ่งเสียง", เรื่อง "คำบาลี-สันสกฤต" ที่ต้องเอามาใช้ร่วมกัน ซึ่งโดยปกติจะจำกันแค่ว่าคำไหนต้องออกเสียง "อะ" กึ่งเสียง(มันมีไม่กี่คำที่ใช้บ่อยๆ) ส่วนพวกบาลี-สัสกฤต จะไปหนักๆก็ตรงเรื่องชื่อจริง-ชื่อสกุลของคนไทยเสียมากกว่า(ใครตั้งชื่อตามหมอดูก็จะอ่านยากหน่อย) .... ทำไมคำบางคำถึงสามารถเขียนได้หลายแบบ? (อัคคี, อุทกภัย ฯลฯ) >>> บางคำมันมาจากบาลี-สันสกฤต และอาจเป็นเรื่องของความสละสลวยของภาษา อาจพบได้ในภาษาที่เป็นทางการหรือพวกวรรณกรรม ซึ่งโดยทั่วไปก็มีไม่กี่คำที่จะต้องจำ เพราะคำพวกนี้จะถูกใช้บ่อยในภาษาที่เป็นทางการ ..... ในชีวิตประจำวันก็ไม่ได้มานั่งจำว่าอันไหนบาลีอันไหนสันสกฤต มีแค่จำเรื่องหลักและวิธีการอ่านออกเสียงเท่านั้นเอง
Далее
WILL IT BURST?
00:31
Просмотров 7 млн
Whoa
01:00
Просмотров 6 млн
British tried Thai people's English exams
19:15
Просмотров 982 тыс.