Тёмный

ทำไมถึงห้ามหารด้วยศูนย์ | Why we can't divide anything with zero? |  

PakapongZa
Подписаться 1,8 тыс.
Просмотров 1,3 тыс.
50% 1

หนึ่งในข้อห้ามทางคณิตศาสตร์ที่เรามักได้ยินกันมาตลอดเวลาคือการหารด้วยศูนย์​ คุณครูหรือเจ้า Python ก็มักจะเตือนว่าอย่าหารด้วยศูนย์นะ แต่ทำไมกันล่ะ ทำไมถึงหารด้วยศูนย์ไม่ได้
หากสนใจในรูปแบบบทความ สามารถติดตามต่อได้ที่ / 839076496839055 ครับผม
#mathematics #math #zero #factorial #เลขมงคล

Наука

Опубликовано:

 

7 сен 2023

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 20   
@NubthongCh
@NubthongCh 10 месяцев назад
คอนเท้นคุณภาพมากครับ(มากกว่าผมอะ)แต่เสียดายไม่ค่อยมีคนดู ทำตอนไปครับ ดังแน่😊
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
โอ้ว ขอบคุณมากครับ :)
@Rae_279
@Rae_279 10 месяцев назад
โหเจอช่องนี้เป็นครั้งแรกบอกได้เลยว่าช่องคุณภาพมาก การอธิบายเนื้อหากระชับเข้าใจง่าย สิ่งที่เรียนไปผ่านๆก็ได้รู้ถึงที่มา เป็นช่องที่ทำเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้น่าสนใจมากครับ ผมชอบมาก ทำต่อไปเรื่อยๆนะครับผมจะรอติดตาม
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
โอ้ว ขอบคุณมากเลยครับ ผมอยากสอบถามเรื่องเสียงหน่อยได้มั้ยครับว่ามันโอเคมั้ย ตอนนี้ผมมีปัญหากับเสียงมาก ๆ เลยครับ เพราะว่ายังหาวิธี set ที่เหมาะสมไม่ได้สักทีครับ
@Rae_279
@Rae_279 10 месяцев назад
​@@pakapongza01จากที่ฟังมาเสียงในคริปก็ปกติดีนะครับดูไม่ค่อยมีปัญหาอะไรอันก่อนหน้านี้ก็ด้วย ผมว่าฟังชัดดีนะ
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
@@Rae_279 ขอบคุณมากครับผม
@genishida1286
@genishida1286 9 месяцев назад
ที่ให้เป็น infinity เพราะใช้การคิดแบบ limit ครับ ถ้าโดยนิยามก็เป็นดังในคลิปเลยครับว่า การดำเนินการด้วย ที่ดูเหมือนฟันก์ชัน หารศูนย์ มีผลเฉลยเป็น 0 กับ อะไรก็ได้
@pakapongza01
@pakapongza01 9 месяцев назад
ขอบคุณครับผม :) ผมมีประเด็นครับที่ใช้ limit แล้วบอกว่าได้เป็น infinity เพราะว่า limit จากทางด้านซ้ายกับด้านขวาไม่เท่ากันนะครับ มันน่าจะสรุปว่า limit หาค่าไม่ได้มากกว่าครับ
@NubthongCh
@NubthongCh 10 месяцев назад
ติดตามแล้วครับ
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
ขอบคุณมากครับเลยครับ ชอบ content แนวไหนเป็นพิเศษบ้างมั้ยครับ
@NubthongCh
@NubthongCh 10 месяцев назад
⁠@@pakapongza01จริงๆผมก็ชอบคอนเท้นแนวคณิตศาสตร์แบบนี้แหละครับ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับที่มาของบางสิ่งหรือประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์แบบนี้นะครับ
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
@@NubthongCh ได้เลยครับผม เดี๋ยวจะพยายามทำออกมาเรื่อย ๆ ครับผม
@Unknown-of7bq
@Unknown-of7bq 10 месяцев назад
ยกตัวอย่างแบบง่าย แม่มีส้ม 10 ผล บอกลูกให้แบ่งส้มใส่กล่อง แต่แม่ลืมซื้อกล่องมาให้ ลูกก็แบ่งส้มใส่กล่องให้แม่ไม่ได้ 10÷0 จึงหาค่าไม่ได้ ต่อมาแม่ซื้อกล่องมาให้ แล้วบอกลูกว่าให้แบ่งส้มใส่กล่อง กล่องละ 0 ลูก จะได้กี่กล่อง ลูกตอบว่า มันก็ได้กล่องเปล่าสิแม่ กล่องเปล่าเพียบเลย 10÷0 รอบนี้จึงได้ค่าอนันต์
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
ขอบคุณครับสำหรับการยกตัวอย่างแบบง่ายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ตรงนี้มันอาจมีประเด็นนิดนึงครับเพราะการที่เรา simplify ทุกอย่างลงมาแล้ว มันอาจจะเก็บความถูกต้องของต้นฉบับได้ไม่ครบ แต่อย่างว่านะครับตัวต้นฉบับมันเข้าถึงยากเหลือเกินให้ทำยังไงได้ ซึ่งตรงนี้เองผมมักจะมีปัญหาในทางเลือก 2 ทางนี้อยู่เสมอเลยครับ T.T ตัวอย่างแบบง่ายที่คุณยกมามันทำให้ภาพการหารถูกบิดเบือนไปเล็กน้อยครับ เพราะผมต้องเล่าอย่างนี้ครับว่าการหารมันเกิดขึ้นมาจากการจัดรูปของการคูณครับ หมายความว่า ถ้าเราจะบอกว่า x ÷ y = z นั่นคือว่า เราสามารถหา z (ผลหาร) ที่ทำให้ x = y * z ได้ต่างหากครับ โดยที่ค่าของ x, y, z จะเป็นจำนวนนับ ติดลบ เศษส่วนได้หมดเลยครับ คำถามคือเราสามารถพูดถึง 10 ÷ 0 ได้จริง ๆ มั้ยนะครับเพราะว่าเราไม่สามารถหาผลหาร (z) ที่ทำให้ 10 = 0 * z ได้เลยครับ
@Khanomkheng
@Khanomkheng 10 месяцев назад
หารด้วยศูนย์ในกรณีเหตุการณ์ปกตินะ มันจะเขาให้มันหาค่าไม่ได้ครับ ส่วนที่เป็น อินฟินิตี้จะอยู่ในกรณีที่มันหารด้วยอินฟินิตเฟทติวอ หรือมัน คือสิ่งที่เล็กมากๆ จนใกล้ ศูนย์ มากๆ หร์อมันก็ในกรณีหา ค่า limit ที่ x -> 0 แล้ว ตอนแทนค่า limit มันได้ ส่วนเป็นศูนย์แต่มันไม่ใช่ศูนย์จริงๆ แค่ใกล้ศูนย์มากๆ นั้นเอง ถ้าคุณรองหารอะไรด้วยเลขทศนิยม คุณจะเห็นว่าค่ามัน จะมากขึ้น เรื่อยๆๆ แล้ว ไอ อินฟินิตเฟทติวอ มันเล็กๆ มากๆ อาจะเป็น 0.000001 เมื่อ เราไปหาร ค่ามันจะใหญ่ไปเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งที่ใหญ่มากๆที่เรารู้จัก ก็คือ อินฟินิตี้นั้นเองครับ😁😁😁
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
ผมเห็นด้วยครับในประเด็นของการพูดถึงอินฟินิตี้โดยต้องพูดถึง limit ด้วย ขอบคุณครับที่ยังคงรักษาความถูกต้องในบริบทของอินฟินิตี้ไว้ครับ และผมขอโทษด้วยครับที่ใช้ภาพปกเป็น google calculator ที่มันดันไปนิยามว่าการหารด้วย 0 คืออินฟินิตี้โดยปราศจากการอ้างอิงถึง limit เลย แต่ผมก็เข้าใจในโลกของ digitization ว่าเราจำเป็นต้องนิยามบางอย่างเพื่อให้มันเติมเต็มและทุกอย่างยังคงไปต่อได้ ใน calculator เลยจำเป็นต้องนิยามครับ อย่างไรก็ตามในทางคณิตศาสตร์ ถ้าพูดถึง limit เราอาจจะต้องพูดถึง limit ทางซ้าย และ limit ทางขวา ด้วยนะครับ ซึ่งการหารอะไรบางอย่างด้วย x โดยที่ x เข้าใกล้ 0 นั้นค่าที่ได้จาก limit ทางด้ายซ้ายมันได้ ติดลบของอินฟินิตี้ แต่ค่า limit ทางด้านขวากลับให้ค่าบวกของอินฟินิตี้มาแทน ดังนั้นจึงสรุปว่า limit ของการหารด้วย x โดยที่ x เข้าใกล้ 0 จะไม่นิยามครับ ประเด็นที่ผมอยากชวนคิดต่อคือว่าถ้าเราพบว่าการที่ limit ของการหารที่เข้าใกล้ 0 มันไม่นิยามนี้ เราสามารถสรุปต่อไปได้มั้ยครับว่าการหารด้วย 0 มันไม่นิยามไปด้วยครับ?
@Khanomkheng
@Khanomkheng 10 месяцев назад
limit ซ้าย ขวา ไม่เท่ากันซึ่งจะหาค่าไม่ได้ ซึ่งเช่นในกรณี f(x) = 1/ x แล้ว limit x-> 0 ซึ่งพี่บอกว่ามันจะ ได้ -อินฟินิตี้ กับ อินฟินิตี้ มันจะหาค่าไม่ได้ใช้ไหมครับ แต่ถ้าตามแบบฝึกที่ผมเคยทำ เขาให้มันเท่ากับ อินฟินิตี้ เพราะฟังชั่นนี้มันไม่ได้เป็นฟังก์ชันช่วง เราสามารถให้ x มันเเทนค่าเป็นสิ่งที่เล็กมากๆ จนเข้า ใกล้ศูนย์ได้เลย ก็ให้มันเป็น 0 แต่จริงๆ มันมี ค่าเล็กมากๆ นั้นเอง เป็นเพราะแบบนี้แหละ มั้ง แต่ ถ้า ฟังก์ชันเรา เป็น f(x) = 1/ x - 1 แล้ว limit x -> 1 เมื่อแทนทั้ง ซ้ายขวา ยังไงก็ได้ อินฟินนิตี้ครับ เพราะ x - 1 แล้ว x มันใกล้ 1 มากๆ ยังไง ไป - กับ 1 ยังไงมันต้องเหลือ ทศนิยมสักนิดแบบเล็กมากๆ อะ ถึง เขียน เป็น 1/0 เพื่อความดูง่าย แต่ยัง ไง เราก็รู้ ว่า x มันไม่ใช้ 1 จริง มันแค่ใกล้ 1 มาก จนเราให้มันเท่ากับ 1 ละ กัน หรือ เท่ากับ 0 ละ กัน จนมัน ออก 1/0 ในทางเรื่อง ลิมิต มัน ไม่ใช่ 0 จริงๆ แต่ถ้าฟังชั่น ตอนแรก มา เป็น f(x) = 1/0 อันนี้แหละที่มันหาค่าไม่ได้ครับ (ประมาณนี้ตามที่ผมเข้าใจ) อ่อ แต่ ถ้า ฟังก์ชันเป็น f(x) = -1/x แล้ว limit x -> 0 อันนี้จะได้ - อินฟินิตี้ครับ
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
@@Khanomkheng มันคือแนวคิดของ limit ที่จะใช้ค่าที่เข้าใกล้มาก ๆ แต่ถึงจะใกล้มากแค่ไหนมันก็จะไม่ใช่ค่านั้น ถูกต้องครับ แต่ผมอยากตั้งคำถามต่อว่าความเข้าใกล้เราควรนิยามยังไงดีครับ อย่างเช่น f(x) = 1 / x แล้วเรากำลังหา limit x -> 0 ของฟังก์ชันนี้ เราก็อาจจะลองแทน 0.1, 0.01, 0.001, หรือค่าที่เล็กไปเรื่อย ๆ และมันเข้าใกล้ 0 มากขึ้นเรื่อย ๆ ใช่มั้ยครับ คำถามคือทำไมเราถึงเลือกสนใจเฉพาะค่าที่เข้าใกล้ 0 จากทางฝั่งที่เป็นบวกเพียงด้านเดียวล่ะ ในเมื่อถ้าลองแทน -0.1, -0.01, -0.001 หรือเล็กลงไปเรื่อย ๆ แบบนี้มันก็เข้าใกล้ 0 เหมือนกันนี่นา (แต่มันเข้าใกล้ 0 จากฝั่งที่เป็นลบแทนครับ) นี่คือเสน่ห์ของคณิตศาสตร์นะผมว่า การคิดที่รัดกุม แล้วมันครบ จบในตัว สวยงามมากเลยครับ
@sanaebpn2209
@sanaebpn2209 10 месяцев назад
ผมงงไปหมดแย๊ว
@pakapongza01
@pakapongza01 10 месяцев назад
มีตรงไหนที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมบ้างมั้ยครับ
Далее
สรุปลำดับและอนุกรม
36:33
Let's taste the future with #GPT-4o
9:54
Просмотров 281