Тёмный

Triglyceride ไม่ใช่ไม่ดี  

Doctor Tany
Подписаться 623 тыс.
Просмотров 113 тыс.
50% 1

สามารถไปอ่านเพิ่มเกี่ยวกับ Triglyceride และผลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด Atherosclerosis ได้ที่นี่ครับ
www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Опубликовано:

 

4 авг 2022

Поделиться:

Ссылка:

Скачать:

Готовим ссылку...

Добавить в:

Мой плейлист
Посмотреть позже
Комментарии : 497   
@pattarapornsovarattanaphon8892
Triglyceride ไม่ใช่ไม่ดี #แหล่งพลังงานของหัวใจ Triglyceride เป็นไขมันอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วย Glycerol และ กรดไขมัน หรือ fatty acid มี 3 ตัว เกาะที่ Glycerol จะมีหลายชนิดแตกต่างกันตามความยาวของ fatty acid ถ้า - แบบสั้นจะเรียกว่า Short-chain fatty acids (SCFAs) จะสร้างมาจากแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของเรา แล้วดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้โดยตรง - แบบกลางจะเรียกว่า Medium-chain fatty acids (MCFAs) มาจากน้ำมันมะพร้าว และคนที่กินคีโตอาจกิน Medium chain triglyceride เสริม - แบบยาวจะเรียกว่า Long หรือ Very Long-chain fatty acids (LCFAs) จะมาจากอาหาร ซึ่งหัวใจจะใช้แบบนี้มากที่สุด เพราะ การใช้พลังงานจาก fatty acid จะมีการตัดไปใช้เป็นพลังงาน ถ้าเป็นแบบสั้นตัดแป๊บเดียวก็จะหมด แต่ถ้าเป็นแบบ Long หรือ Very Long-chain จะสามารถตัดได้หลายๆครั้งจะได้พลังงานมหาศาล อาจจะมีแบบเดียว หรือ หรือผสมกันหลายๆแบบก็ได้ แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสีย และ มีผลด้าน Metabolic ต่างๆกัน #ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
Triglyceride เป็นที่เก็บพลังงานให้ร่างกาย เกิดจาก - อาหารที่เราทานเข้าไป - เกิดจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเอง จากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ท่านทานมากเกินไปจนเหลือใช้ ตับก็สามารถสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตกลายไปเป็น Triglyceride ได้ จะสังเคราะห์ออกมาในรูป VLDL (Very low density lipoprotein) จะประกอบไปด้วย Cholesterol Apolipoprotein และ Triglyceride โดย VLDL คือกลุ่ม Lipoprotein ที่มี Triglyceride สูงมากๆ เมื่อเวลาที่ VLDL สังเคราะห์ขึ้นจากที่เราทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ก็จะล่องลอยไปตามเลือด สิ่งที่เกิดขึ้นคือจะมีเอนไซม์ตามที่ต่างๆดึงเอา Triglyceride ใน VLDL ไปไว้ในเซลล์ต่างๆตามแต่ความต้องการ จะถูกดึงออกไปเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งดึงไปไขมันชั้นใต้ผิวหนัง หรือ Adipose Tissue #ตอนที่2
@pattarapornsovarattanaphon8892
ข้อดีของ Triglyceride 1. เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียอุณหภูมิของร่างกาย คนที่มีหน้าท้อง หน้าอก บั้นท้าย เยอะๆ จะเป็นไขมันซึ่งอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง มีหน้าที่เป็นฉนวน ป้องกันการสูญเสียอุณหภูมิ ถ้าเป็นเมืองร้อนก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นเมืองหนาวก็จะหนาวง่ายกว่าคนอื่น มีการสังเกตุพบว่า เวลาเรือจมคนที่มักจะรอดชีวิตคือ คนอ้วน มีชั้นไขมันหนาๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่ได้มีสุขภาพแข็งแรงแต่อย่างใด แต่เขามีชั้นไขมันหนามากๆสามารถป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย แต่กลุ่มที่เป็นนักกีฬา ไขมันน้อยๆมักจะไม่รอด 2. สาเหตุที่ร่างกายสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องก่อนเพราะเป็นการป้องกันการกระทบกระเทือนต่ออวัยวะ 3. ในบรรดาสารอาหารทั้งหมด ระหว่าง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน ไขมันจะเป็นตัวที่ให้พลังงานสูงที่สุดในปริมาณที่เท่ากัน เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงาน ก็จะมีการสลายไขมันไปเป็นพลังงานของร่างกาย และหัวใจจะใช้พลังงานจาก ไขมันเป็นหลัก เพราะหัวใจต้องเต้นตลอดเวลา ดังนั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาลตลอดเวลาด้วย แหล่งพลังงานที่สำคัญคือ ไขมัน เพราะให้พลังงานต่อน้ำหนักสูงที่สุด มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากๆ บางคนจะมีความผิดปกติคือ หัวใจจะไปใช้พลังงานจากน้ำตาล แทนการใช้ไขมัน ซึ่งไม่ดี เพราะจะได้พลังงานน้อยกว่าการใช้ไขมัน เราต้องให้ยาบางตัวที่สามารถทำให้ร่างกายตรงหัวใจกลับมาใช้ไขมันได้เป็นหลัก #ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
ในโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจะมีเศษตะกอนที่เรียกวา Plaque หรือ Atheroma ข้างในจะประกอบไปด้วย Cholesterol ที่ถูก Oxidize เข้าไปอยู่ในเซลล์หนึ่งเรียกว่า Macrophages จะกลายเป็น Foam cell เกิดการอักเสบในนั้น มีการสร้างพังผืดสร้างแคลเซียมมาเกาะ ทำให้เป็นตะกรันหนาขึ้นมาในหลอดเลือด แต่จะสังเกตุว่าไม่มีคำว่า Triglyceride ในนั้น เพราะมันไม่มี แล้ว Triglyceride มาเกี่ยวกับการอุดตันของเส้นเลือดอย่างไร 1. ร่างกายได้ Triglyceride มาจากการรับประทานอาหาร 2. ร่างกายสังเคราะห์ Triglyceride ขึ้นมาจากตับโดยมีแป้งและน้ำตาลเป็นตัวตั้งต้น แต่ถ้าได้มาจากแป้งน้ำตาลจะไม่ค่อยดี เพราะเวลาสังเคราะห์ขึ้นมาแล้วจะมาในรูปแบบ VLDL ซึ่งจะมีความยากลำบากในการเอาออกจากเลือด เพราะเมื่อถูกปล่อยออกไปในเลือดแล้วจะต้องถูกดูดออกไปจากเลือด ถ้าอยู่นานๆจะไม่ดี แต่ถ้าเป็น VLDL จากไขมันจะทำให้เอาออกจากเลือดได้เร็วขึ้น #ตอนที่4
@pattarapornsovarattanaphon8892
VLDL จะประกอบไปด้วย Cholesterol, Apolipoprotein, Trigylceride โดย VLDL จะมีตัวประกอบหลักคือ Triglyceride VLDL ก็จะไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย Triglyceride ก็จะถูกดึงออกไปใช้ ทำให้ตัวเล็กลงเรื่อยๆ เป็น IDL LDL ฯลฯ แต่ถ้า VLDL อยู่ในเลือดนานๆแล้วออกไปไหนไม่ได้ (Triglyceride เป็นตัวแทนของ VLDL เพราะ Triglyceride ไม่ได้ลอยไปลอยมาในเลือด จะเป็นส่วนประกอบของ VLDL ) ใน Triglyceride จะเป็นส่วนประกอบของ Chylomicorn - VLDL- IDL - LDL - HDL (ไล่ลำดับจากใหญ่ไปเล็ก ยิ่งใหญ่(Chylomicron) ก็จะมี Triglyceride เป็นส่วนประกอบมากเท่านั้น) ถ้ามีตัว Triglyceride อยู่ในเลือดนานๆ ไม่ว่าจะอยู่ใน Chylomicron หรืออะไรก็ตาม มันจะไปคุยกับ HDL สิ่งที่เกิดขึ้น( บางคนคิดว่า HDL จะไม่ดีในกรณีนี้) คือ HDL จะส่งถ่าย Cholesterol ไปให้กับ VLDL ทำให้มีปริมาณ Cholesterol มากขึ้น สิ่งที่ไม่ดีคือ VLDL สามารถไปปล่อยทิ้ง Cholesterol ไว้ในเส้นเลือด จึงเป็นสาเหตุที่ Triglyceride สูงๆจะไปเกี่ยวข้องกับการเสริมให้เกิดตะกรันในเส้นเลือด ทำให้หลอดเลือดตันไป #ตอนที่5
@pattarapornsovarattanaphon8892
ดังนั้น ตัว Triglyceride ไม่เกี่ยว แต่เป็นเหตุให้สร้าง VLDL เยอะมาก VLDL จะออกจากเลือดยากขึ้น มีเวลาอยู่ในเลือดนานขึ้น แล้วจะไปคุยกับ HDL ทำให้ VLDL มี​ Cholestreol สูงขึ้น แล้ว VLDL ก็ไปแทรกตามหลอดเลือดต่างๆแล้วไปปล่อย Cholesterol ลงไปในนั้นได้ ความเชื่อเดิม เชื่อว่า LDL เป็นตัวเดียวที่เอา Cholesterol ไปแทรกตามหลอดเลือดได้ แต่ไม่เป็นความจริง ตัว Chylomicron Remnant (Chylomicron ตัวเล็กลงมา) และ VLDL ถ้า 2 ตัวนี้มีปัญหาสูงมากๆก็เกิดหลอดเลือดอุดตันได้ ข้อเสียของ Triglyceride หากมีปริมาณสูงๆเช่น เกิน 500 จะมีโอกาสเกิดตับอ่อนอักเสบมากขึ้น เลือดจะข้นเป็นไขมันแล้วไปอุดตรงตับอ่อน ตับอ่อนจะอักเสบ คนที่มีตับอ่อนอักเสบมี Triglyceride สูงแล้ว จะงดอาหารที่ Triglyceride สูงไม่เพียงพอ ต้องให้ยาช่วยด้วย เพราะคนที่มี Triglyceride สูงจะมีโรคทางพันธุกรรมจึงทำให้ Triglyceride สูงมากๆ ดังนั้นจะต้องนอกจากจะต้องงดอาหารที่เป็นแป้งเยอะๆ และ ต้องกินไขมันต่ำๆด้วย #ตอนที่6
@thisisnathathai
@thisisnathathai Год назад
ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ที่วันนี้มาให้ความรู้เกี่ยวกับ Triglyceride ทำให้ดิฉันเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับไขมันตัวนี้เลยค่ะ เคยเข้าใจว่าเป็นไขมันตัวร้ายมากๆ พอได้รับฟังวันนี้แล้ว Triglyceride ก็ส่วนดีอยู่ด้วยเช่นกัน 💠Triglyceride ไม่ใช่ไม่ดี #แหล่งพลังงานของหัวใจ🫀 Triglyceride เป็นไขมันอย่างหนึ่งประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ 🔶ส่วนแรกคือ กลีเซอรอล 🔶ส่วนที่สองคือ กรดไขมัน Fatty Acid มีทั้งหมด 3 ตัวมีชนิดต่างๆย่อยๆออกไปตามแต่ความยาวของตัวกรดไขมัน ถ้าสั้นๆเรียกว่า Short-chain fatty acid จะสร้างจากแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่แล้วดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปได้โดยตรง ขนาดกลางๆเรียกว่า Medium-chain fatty acid มาจากน้ำมันมาจากน้ำมันมะพร้าว บางคนทานคีโตก็จะทาน Medium Chain Triglyceride เสริม และถ้ายาว ถึง ยาวมากๆเรียกว่า Long-chain หรือ Very Long-chain ตามความยาวของตัวมัน จะมาจากอาหาร ✅Triglyceride มีความสำคัญอย่างหนึ่งคือเป็นที่เก็บพลังงานให้กับร่างกาย Triglyceride มาจากอาหาร อีกส่วนหนึ่งมาจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาจากการทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจนเหลือใช้ ตับก็จะสังเคราะห์ตัวคาร์โบไฮเดรตเพิ่มกลายไปเป็น Triglyceride ได้ จะสังเคราะห์ออกมาในรูป VLDL (Very Low Density Lipoprotein) ประกอบด้วย 🔹Cholesterol 🔹Apolipoprotein 🔹Triglyceride VLDL จะล่องลอยไปตามเลือดจะมีเอนไซม์ตามที่ต่างๆดึงเอา Triglyceride ใน VLDL ไปไว้ที่เซลล์ต่างๆ ส่วนหนึ่งดึงมาอยู่ที่ไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง เช่น หน้าท้อง เป็นต้น 🔷1 ทำหน้าที่ทำหน้าที่ในการเป็นฉนวนป้องกันการศูนย์เสียอุณหภูมิ 🔷2 การที่การที่ไขมันมาพอกที่หน้าท้องก่อนก็เพราะว่า เป็นการป้องกันการกระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในก็เลยมากองอยู่ตรงนี้เป็นส่วนใหญ่ 🔷3 เป็นตัวเก็บพลังงานให้เราเพราะในบรรดาสารอาหารทั้งหมด โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไขมันให้พลังงานสูงที่สุด ถ้านับในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้นเวลาที่ท่านต้องการใช้พลังงานก็จะมีการสลายเอาไขมันพวกนี้เอาไปเป็นพลังงานในที่ต่างๆและที่สำคัญก็คือ✳️ หัวใจใช้พลังงานจากไขมันเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากบริเวณอื่นๆของร่างกายซึ่งใช้พลังงานจาก กลูโคส หรือน้ำตาลเป็นหลัก ทำไม “ หัวใจ” 🫀 จึงต้องใช้พลังงานจากไขมัน ซึ่งให้พลังงานสู่งที่สุด❓ 🔘คำตอบก็คือ เพราะหัวใจต้องเต้นตลอดเวลา จึงต้องใช้พลังงานที่มหาศาล ดังนั้นแหล่งพลังงานก็คือไขมัน แต่โรคในคนที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากๆ กลุ่มนี้จะมีบางคนมีความผิดปกติ คือหัวใจจะไปใช้น้ำตาลในการสังเคราะห์พลังงานแทนการใช้ไขมัน ซึ่งไม่ดีเลยเพราะจะให้พลังงานน้อยกว่าการใช้พลังงานจากไขมันมากๆหนี้จึงเป็นที่มาของการที่มียาบสงตัวที่สามารถจะทำให้หัวใจกลับมาใช่พลังงานจากไขมันเป็นหลัก ❌ ข้อเสียของ Triglyceride คือถ้าสูงมากๆ เช่นถ้าเกิน 500 จะมีโอกาสเกิดตับอ่อนอักเสบมากขึ้น จะเป็นเลือดข้นเป็นไขมันเลย และจะไปอุดตรงตับอ่อนทำให้ตับอ่อนอักเสบ Triglyceride ถ้าสูงตั้งแต่ 500 เป็นต้นไปเริ่มมีปัญหา ทั่วๆไปถ้าไม่นับคนที่มีโรคประจำตัวใดๆทั้งสิ้น และพบว่ามี Triglyceride เกิน 150-499 อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา ให้ใช้วิธีคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตให้ลดลงและออกกำลังกายก็จะทำให้ Triglyceride ลดลงได้ แต่ถ้าทำแล้ว 3-4 เดือนยังไม่ลดอาจต้องใช้ยา ถ้าท่านเคยเป็นโรคหัวใจ เป็นโรคหัวใจหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นเบาหวาน เป็นโรคอ้วน มีโรคหลอดเลือดต่างๆ กลุ่มพวกนี้รอไม่ได้ เพราะพบว่าคนที่มีโรคพวกนี้แล้วค่า Triglyceride เกิน 150 โดยเฉพาะท่านที่มีค่า HDL ต่ำกว่า 40 กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงมากขึ้น และในกลุ่มนี้ถ้าท่านมีค่า LDL Cholesterol สูง ท่านต้องรักษาด้วย Statin ทันที เพราะมีงานวิจัยออกมามากมายว่าคนในกลุ่มเสี่ยงพวกนี้แล้วกินยา Statin จะลดความเสี่ยงได้มากถึง 30 ถึง 40%
@Lek44888
@Lek44888 Год назад
สวัสดีค่ะอาจารย์ อจารย์มาอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง "Triglyceride ไม่ใช่ไม่ดี" 🍀Triglyceride มีความสำคัญอย่างหนึ่งคือ เป็นที่เก็บพลังงานให้กับร่างกาย ส่วนหนึ่งได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป อีกส่วนหนึ่งได้จากร่างกายที่สังเคราะห์ขึ้นมา 🍀หน้าที่และส่วนดีของ Triglyceride 1.เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียของอุณหภูมิ 2.ป้องกันการกระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายใน จะเห็นได้จากคนที่มีไขมันที่หน้าท้อง ไขมันจะพอกตรงนั้นไม่ได้ไปพอกที่อื่น 3.เป็นตัวเก็บพลังงานให้เรา ในบรรดาอาหารทั้งหมด ไขมันจะเป็นตัวให้พลังงานสูงที่สุด ถ้านับในปริมาณที่เท่ากัน ที่สำคัญคือหัวใจของเราใช้พลังงานจากไขมันเป็นหลัก หัวใจเราต้องเต้นตลอดเวลา จะไม่มีการหยุด ดังนั้นต้องใช้พลังมหาศาลตลอดเวลา 🍀ข้อเสียของ Triglyceride ถ้าสูงมากๆเกิน 500 จะมีโอกาสเกิดตับอ่อนอักเสบ คนที่ตับอ่อนอักเสบ โดยเฉพาะตับอ่อนอักเสบจะด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ Triglyceride สูงๆห้ามกินKeto ยิ่งกินจะยิ่งเป็น 🍀Triglyceride เท่าไรถึงจะไม่มีปัญหา ถ้าต่ำกว่า100 ไม่มีปัญหา ถ้าสูง 150 ขึ้นไป ไม่นับคนมีโรคประจำตัว ถ้า150-499 อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา ใช้วิธีคุมอาหารคาร์โบไฮเดรทให้ลดลง และออกกำลังกาย ก็จะดีขึ้น ถ้าทำไปแล้ว 3-4 เดือนยังไม่ลดเลย พวกนี้อาจต้องใช้ยา 🍀สำหรับกลุ่มที่เป็นโรคหัวใจมาก่อน หรือเส้นเลือดหัวใจตีบมาก่อน เบาหวาน โรคอ้วนเป็นต้น กลุ่มนี้รอไม่ได้ ต้องใช้ยาคือยา กลุ่ม statin หรือกลุ่มอื่น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🙏🏻
@temsirichotithammo9039
@temsirichotithammo9039 Год назад
นี่สูงสี่ห้าร้อยมานานค่ะ ลดบ้าง สูงบ้าง ต้องงดอาหารแบบมีวินัยสูงมากค่ะ
@temsirichotithammo9039
@temsirichotithammo9039 Год назад
ตอนนี้มีหน้าท้อง ต้นแขนต้นขามากค่ะ
@suriyasuphamala8089
@suriyasuphamala8089 Год назад
ผมนี่ตั้งใจฟังแบบนักเรียนฟังครูสอนในห้องเลยครับ บางจุดต้องฟังซ้ำ ต้องขอบคุณอาจารย์หมอที่นำเรื่องยากๆมาสอนให้ง่ายขึ้นครับ นานมาแล้วผมพยายามเรียนรู้เรื่องพวกนี้เพื่อปฏิบัติตัวและแนะนำกับคนใกล้ตัว แต่หาความรู้ที่ย่อยง่ายไม่ค่อยได้เลยครับ เจอของอาจารย์เลยต้องฝากตัวเป็นลูกศิษย์เลยครับ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Год назад
ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรืออาจเรียกว่า ไตรเอซีลกลีเซอรอล (triacylglycerol) เป็นสารในกลุ่มลิพิด (lipid) ซึ่งเป็น ส่วนประกอบหลักของน้ำมันและไขมันที่ใช้เป็นอาหาร โมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการรวมตัวของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล กับกลีเซอรอล 1 โมเลกุลด้วยพันธะเอสเทอร์ Trigleceride) คือ ไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการที่ไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ หรือร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันโดยตรง เช่น หมูสามชั้น น้ำมัน เนย หรือไขมันต่างๆ หากร่างกายได้รับมากเกินความจำเป็น สารอาหารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และกลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกาย
@Spt_N_25
@Spt_N_25 Год назад
ขอบคุณมากค่ะ 🙏🏻 Triglyceride ไม่ใช่ไม่ดี#แหล่งพลังงานของหัวใจ#ไตรกรีเซอไรด์ ฟังวนหลายรอบ ได้ความรู้และเข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ มีทั้งข้อดีและไม่ดี LDL,HDL ,VLDL,Triglyceride 🍃ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)เป็น ไขมันอย่างหนึ่งประกอบด้วย2ส่วนหลัก Glycerol และ กรดไขมันหรือ Fatty acid มี 3ตัว 🍃HDL (High Density Lipoprotein) คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือที่มักถูกเรียกว่าไขมันดี 🍃LDL (Low Density Lipoprotein) คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือที่มักถูกเรียกว่า ไขมันเลว 🍃ไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก Very-low-density lipoprotein; VLDL เป็นไลโพโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับ VLDL เป็นหนึ่งในไลโพโปรตีนห้ากลุ่มหลัก (ไคโลไมครอน, VLDL, IDL, LDL, HDL) ที่ช่วยให้ไขมันและคอเลสเตอรอลสามารถละลายในน้ำและเดินทางขนส่งได้ภายในเลือด VLDL ประกอบขึ้นในตับ จากไตรกลีเซอไรด์, คอเลสเตอรอล และ อะโพลิโพโปรตีน 🍒TG/HDL < 2 แล้วไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาเสมอไป ต้องดูอย่างอื่นด้วย 🍒สูตรคำนวณ พอดูได้ว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ( อาจมีผิดพลาดบ้าง) Non- HDL CHO =Total CHO - HDL ผลที่ได้ยิ่งสูงยิ่งมีปัญหา เห็นหมอแทนตอบคอมเมนท์ มีคนถาม คนทั่วไปเป้าหมาย ควรต่ำกว่า 190 🥊เลือกอาหารให้มีประโยชน์และเหมาะสม ออกกำลังกายช่วย พักผ่อนให้เพียงพอ มั่นตรวจสุขภาพ ไม่เครียดค่ะ 🧘🏻‍♀️
@user-sj9xq6wm6u
@user-sj9xq6wm6u Год назад
ขอบคุณอาจารย์หมอมาค่ะ มากค่ะถึงเราเรียนมาไม่สูง. ไม่เข้าใจภาษาทางการแพทย์ เป็นคนชอบศึกษาหาความรู้เรื่องสุขภาพ ระบบรางกาย เป็นอย่างรู้ อย่างเห็น เพราะมันเป็นเรื่องจำเป็นต่อเรามาก พ่อแม่อายุเยอะสุขภาพร่างกาย ถึงอายุไม่เยอะ ก็เกิดคโรค รึป่วยได้ ง่าย ดูแลตัวเอง สุขภาพ การกิน กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มากไปน้อยไปให้พอดีในแต่ละวัน ภาษาทางการแพทย์จะ ฟังไม่รู้เรื่องเท่าไหร่แต่อาจารย์หมอยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่าย มองออกเลยค่ะ ดูคุณหมอแล้วหน้าตายังดูดีมาก(ดูเด็ก) ได้เป็นอาจารย์สอน ที่ อเมริกา ดังระดับโลก สุดยอดมากค่ะ ขอบคุณมากไปนะค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณหมอ ได้ให้ความรู้กับคนที่รักสุขภาพ มากค่ะ
@Thiphayathida
@Thiphayathida Год назад
คุณอภิญญาคะ เรียนสูงหรือไม่ ไม่เป็นไรนะคะ ถ้าหากเราสนใจหาความรู้เพิ่มไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะมีความรู้รอบด้านเอง ดิฉันก็ไม่ได้จบแพทย์ค่ะ จึงไม่เข้าใจภาษาแพทย์ทั้งหมด แต่พยายามเรียนกับอาจารย์Tany ค่ะ ได้ความรู้มากขึ้นทุกวันเลย ผลพลอยได้คือแนวทางการมีสุขภาพที่ดีด้วย เป็นกำลังใจให้เรียนรู้ได้มากขึ้นและเก่งๆนะคะ
@user-cu9vt9ds4m
@user-cu9vt9ds4m Год назад
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
@thunyamy24
@thunyamy24 Год назад
ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ
@sup.4076
@sup.4076 Год назад
ชัดเจนค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
@pakaykuli3029
@pakaykuli3029 Год назад
รอฟังเลยขอบคุณค่ะ
@sukpaisankanjanapiboon1544
@sukpaisankanjanapiboon1544 Год назад
ขอบคุณคุณหมอครับ ได้ความรู้เยอะเลย
@rachj79
@rachj79 Год назад
ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ🙏
@sanphetmee2362
@sanphetmee2362 Год назад
ขอบคุณสำหรับความรู้มาก ๆ ครับคุณหมอ
@Happy-yh9lz
@Happy-yh9lz Год назад
ขอบคุณอาจารย์หมอค่ะ
@somsakniyompanichakarn1647
@somsakniyompanichakarn1647 Год назад
ขอบคุณคุณหมอ ที่ให้ความรู้ที่แท้จริงครับ
@somjitwisantawong9242
@somjitwisantawong9242 Год назад
ขอบคุณอาจารย์หมอมากครับ
@lalamedicalclinicltd.9724
@lalamedicalclinicltd.9724 Год назад
ขอบคุณที่ให้ความรู้ที่มีประโยชน์
@mycoach8837
@mycoach8837 Год назад
.ขอบคุณความรู้ดีๆของคุณหมอ
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh Год назад
ขอบคุณครับพี่หมอ 🙏♥️♥️♥️
@ornkhem3868
@ornkhem3868 Год назад
ฟัง2 รอบ พยายามทำความเข้าใจให้แจ่มชัด
@adisornnik7627
@adisornnik7627 Год назад
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
@kanlaveekhewyoskit6840
@kanlaveekhewyoskit6840 Год назад
คุณหมอน่ารักค่า อธิบายเข้าใจง่ายค่ะ ขอบคุณนะคะ
@KunlayaneeToy
@KunlayaneeToy Год назад
สุขภาพดีได้ ด้วยการดูแล...ที่ดีค่ะ
@user-sr8tf3xk4k
@user-sr8tf3xk4k Год назад
ฟังแล้วได้ความเข้าใจ ขอบใจมากค่ะ
@sorattyahattapasu7765
@sorattyahattapasu7765 Год назад
กราบขอบคุณเจ้า
@user-my6hj3hh1z
@user-my6hj3hh1z 3 месяца назад
กราบขอบพระคุณอาจารย์หมอค่ะ
@Channel-xv2oo
@Channel-xv2oo Год назад
ขื่อดีจังแหล่งพลังงานของหัวใจ ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Год назад
Triglyceride เป็นแหล่งพลังงานของหัวใจ ถ้าต่ำกว่า100 จะดีไม่มีปัญหา จะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่150 ขึ้นไป ถ้าไม่นับคนมีโรคประจำตัว แล้วเจอไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 150 ถึง 499 ยังไม่จำเป็นต้องใช้ยา ใช้คุมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้มันลดลง และออกกำลังกาย จะดีขึ้นและไตรกลีเซอไรด์จะลดลง แต่ถ้าทำไปแล้ว 3-4 เดือนยังไม่ลด อาจต้องใช้ยา ถ้าปล่อยไว้นาน เป็นตัวชี้วัดว่าไตรกลีเซอไรด์สูง แปลว่าVLDL สูง การที่VLDLสูง มันจะลอยไปมาในเลือดได้นานขึ้น มีโอกาสคุยกับ HDL เอาคอเลสเตอรอลมาไว้ที่ตัวเยอะ แล้วเอาไปทิ้งไว้ตามเส้นเลือด นั่นคือการมีไตรกลีเซอไรด์สูงนานๆ ถ้า150-200 ยังโอเค แต่ 200 ถึง 499 อาจเริ่มยาเร็วนิดนึง ถ้าลงมาไม่เป็นที่พอใจทั้งที่คุมแล้ว 3-4 เดือนควรจะตรวจอย่ารอเป็นปี ข้อยกเว้นถ้ามีโรคหัวใจมาก่อน หัวใจตีบมาก่อน เบาหวานโรคอ้วน หลอดเลือดต่างๆ รอไม่ได้ ถ้าเกิน 150โดยเฉพาะมีค่าHDL ต่ำกว่า 40 กลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จะควบคุมอาหารก่อนแต่ให้เวลาเดือนเดียวพอ กลุ่มนี้มีค่าLDL-C สูง ต้องรักษาด้วยStatinทันที ยาตัวนี้มีประโยชน์ชัดเจน ไม่ใช่ไปกิน Ketogenic Diet สำหรับยากลุ่มStatin มีงานวิจัยมากมาย กินเข้าไปสามารถลดความเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดต่างๆได้30-40% ลดการอักเสบได้ ถ้าเราไม่กินยากลุ่มนี้ เราก็อาจจะเลือกกินVitamin B3 ( Niacin) ตัวนี้จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ หรือรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง หรือเลือกที่จะกิน น้ำมันปลาFish oil ซึ่งช่วยในการลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด ลดการสะสมไขมันในตับ มีส่วนช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือดจึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆโดยเฉพาะหัวใจและสมอง 5ส.ค.2565
@simplifyreality8369
@simplifyreality8369 Год назад
ผมอายุ 55 ปี อดีต HbA1c จาก 9.8 กลายเป็น 5.5 จาก ketogenic diet มันมีจริงครับคุณหมอ บางครั้ง สิ่งที่อยู่นอกเหนือ การรักษาแบบอเมริกัน ก็คือ diet ครับ. ทรมานจากเบาหวาน 16 ปี โชคดีที่โยนยาทิ้ง
@DrTany
@DrTany Год назад
มันทำได้อยู่แล้วครับ ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาอยู่ที่ ถ้าทำแบบนั้นแล้ว LDL สูง อันนี้อันตรายครับ มันเกิดกับคนที่กินคีโตแบบสุดโต่งหรือกินแบบ dirty ครับ
@exercise1p4b40
@exercise1p4b40 Год назад
🙏🙏🙏 ขอบพระคุณ ความรู้ที่คุณหมอ ได้ถ่ายทอด ให้เข้าใจง่ายๆ นำไปใช้ได้จริง...ติดตามตลอดค่ะ...🌹🌹🌹👍👍👍👍
@supaveethana4984
@supaveethana4984 Год назад
ขอบคุณครับคุณหมอแทน 👍
@Gae65
@Gae65 Год назад
ขอบพระคุณ คุณหมอมากนะคะ ที่ออกมาทำคลิปละเอียดแบบนี้ ฟังซ้ำได้ ทำให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเชิงลึก ได้อย่างดี เป็นประโยชน์มากๆ ค่ะ
@nung-noppapat
@nung-noppapat Год назад
ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰 คลิป​เรื่อง​ไขมัน​ต่อเนื่อง​กัน3วันดีมากๆ​ 👍😊🥰ไม่เคยรู้เรื่องไขมัน​อย่างละเอียด​แบบนี้​ จะฟังทบทวนอีกหลายๆครั้งค่ะ​🙏🥰
@Noo_SL
@Noo_SL Год назад
ขอบคุณค่ะ 🌾🌾🌷🙏
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Год назад
ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับการอธิบายถึงข้อดีข้อเสียของTGแหล่งพลังงานของหัวใจ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกแล้วค่ะ
@alphagreen4026
@alphagreen4026 Год назад
ขอบคุณ สำหรับข้อมูล ดีๆต่อสุขภาพที่เราๆไม่ได้เรียน และได้รับทราบจากคุณหมอ ติดตามนะคะ🙏💐👍🏼
@hacklerdetsinsanamxay7830
@hacklerdetsinsanamxay7830 4 месяца назад
ขอบคุณอาจารย์❤️🙏❤️
@kotchakornharindech2906
@kotchakornharindech2906 Год назад
ตั้งใจฟังมากคะ อาจจะต้องฟังซ้ำๆ จะได้เข้าใจมากขึ้น ได้รับความรู้จากคุณหมอเยอะมาก เพื่อสุขภาพเราเอง ขอบคุณคุณหมอมากคะ 👍
@suneeassaran4353
@suneeassaran4353 Год назад
ขอบคุณมากค่ะ
@hummerjaser2927
@hummerjaser2927 Год назад
สุดยอดครับ! คุณหมอ Tany ! ฟังแล้วเห็นภาพเลยครับ! ติดตามเลยครับ!
@hudjunsurat2419
@hudjunsurat2419 Год назад
ขอบคุณครับคุณหมอได้ความรู้ เข้าใจง่ายพอควรแม้ไม่ทราบภาษาแพทย์
@kwantaboonian9065
@kwantaboonian9065 Год назад
ขอบคุณค่ะคุณหมอ
@wutwitoolkuansuwan88
@wutwitoolkuansuwan88 3 месяца назад
มีประโยชน์มากๆครับ
@pannko8888
@pannko8888 Год назад
คุณหมอน่ารักที่สุดเลยโลกเลยค่ะ💏
@pannko8888
@pannko8888 Год назад
❤️❤️❤️
@suriyawong75
@suriyawong75 Год назад
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@tikykisong4893
@tikykisong4893 10 месяцев назад
ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ ที่สละเวลามาให้ความรู้ชาวบ้านอย่างพวกเราคร้า 🙏🏻🥰
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Год назад
สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอที่มาให้ความรู้ดีดีมีประโยชน์มากคะ.👍😊 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุจภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹💕
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Год назад
อีกหัวข้อสำคัญค่ะ "ไตรกลีเซอไรด์" ไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป ไม่ใช่ว่าไม่ดี และมีทั้งคุณและโทษค่ะ
@user-eb8yr3mr9t
@user-eb8yr3mr9t Год назад
ขอบคุณคุณหมอมากค้❤
@user-mr8fp6lo6g
@user-mr8fp6lo6g Год назад
สวัสดีเจ้าคุณหมอขอบคุณเจ้า👍👍👍👍👍
@comserveitserve7165
@comserveitserve7165 Год назад
ขอบคุณค่ะ คุณหมอฮีโร่
@saroch3585
@saroch3585 Год назад
ฟังเข้าใจง่ายขอขอบพระคุณ อาจารย์หมอ เป็นอย่างยิ่งที่ให้รายละเอียดมาโดยตลอด
@kanokpornmartinez9609
@kanokpornmartinez9609 Год назад
ขอบคุณค่ะ ตอนผอมๆมาอยู่นี้หนาวมากๆค่ะ ตอนนี้อ้วน ไขมันเยอะ ร้อนง่ายๆๆจ้าา หน้าหนาวดี หน้าร้อน สุดๆเลยจ้าาา
@Thanikul1976
@Thanikul1976 Год назад
ขอบคุณครับคุณหมอ
@monthonsriyoscharti2714
@monthonsriyoscharti2714 Год назад
ขอบคุณครับ
@sorattyahattapasu7765
@sorattyahattapasu7765 Год назад
กราบขอบคุณคะ ขอเป็นกำลังใจทำคลิปดีๆปล่อยๆนะเจ้า
@neerajthakur8011
@neerajthakur8011 Год назад
ดีมากครับ ผมฟัง 3 รอบ ครับ รายละเอียดเยอะ
@sousou2231
@sousou2231 Год назад
Thank you Dr TANY for talking about triglycerides is make me feel better I always worry about had some fat on the skin thank you so much 👍❤️😋
@user-ux5xu9lw8p
@user-ux5xu9lw8p Год назад
ขอบคุณคุณหมอมากค่ะได้ความรู้มาก ทำอย่างไรจะถามเรื่องสุขภาพกับคุณหมอได้ค่ะ เพราะคุณหมออธิบายแล้วเข้าใจได้มาก
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Год назад
สอบถามเข้ามาในคลิปต่างๆของอาจารย์หมอทาง RU-vid ได้เลยค่ะ เป็นช่องทางที่อาจารย์หมอสะดวกตอบมากที่สุดค่ะ
@witphron3585
@witphron3585 Год назад
ขอบคุณมากครับ
@user-nw2hh1gi7c
@user-nw2hh1gi7c Год назад
ขอบคุณค่ะ
@nattapolsrison2595
@nattapolsrison2595 2 месяца назад
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับผม จะนำไปปรับเปลี่ยนการกินให้ค่าไตรกลีเซอไรด์ลดลงครับ
@samnieng163
@samnieng163 8 месяцев назад
สวัสดีค่ะ ขออนุญาตติดตามนะค่ะ กำลังเป็นพอดีเลยค่ะ❤❤❤ ขอบคุณมากฯค่ะ
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn Год назад
Good morning Boston ค่ะ วันนี้อยู่เวรอีกแล้วค่ะ เนื้อหาดีมากค่ะ ฟังแล้ว ทำให้ มีความตระหนัก ในการกินอาหาร มากขึ้นเลยค่ะ วันนี้ Triglycerides ก็ไม่ใช่ ตัวร้าย ซะทีเดียว เลย 🔋🔋 🫀🫀 เป็นแหล่งพลังงาน ของหัวใจ มาถึงตรงนี้แล้ว นึกถึง เรื่อง เหรียญมักมี 2 ด้านเสมอ แต่ ลูกบอล มี 360 มุม 📐 และองศา ค่ะ ทำงานเสร็จแล้วจะมา จดเลคเชอร์ ค่ะ 🌤🌤☀️☀️🌞🌞🌤🌤 Have a happiness Friday forever because it is always be a Friday for a Thai government officers ค่ะ .
@EedWatcharapornTubrutn
@EedWatcharapornTubrutn Год назад
ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ 💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖 Have a happiness Friday with a lovely Rosy . & have a delicious & healthy meal & Take care of yourselves both Rosy & Tany. 🌸🌸🌤🌤🌸🌸🌤🌤⛱⛱🌤🌤⛱⛱ 🐶🐶🦴🦴👨‍⚕️🩺🫁🫁🫁🫁👨‍⚕️🩺🫀🫀🫀🫀🌤🌤⛱⛱
@puieunhey4088
@puieunhey4088 Год назад
Tks​ for information🙏
@Thiphayathida
@Thiphayathida Год назад
สวัสดีค่ะอาจารย์ พยายามศึกษาความรู้ที่มอบให้ทุกวันค่ะ โดยเฉพาะเรื่องวันนี้ใกล้ตัวดิฉันมาก อาจารย์สอนเป็นขั้นตอนและละเอียด แม้บางครั้งจะต้องย้อนดู แต่ที่สุดก็เข้าใจนะคะ ขอบคุณมากค่ะ จะติดตามขอความรู้จากอาจารย์หมอ Tany ต่อไปนะคะ
@silversilry2734
@silversilry2734 Год назад
ฟังแล้วก็รู้สึกไตรกรีเซอร์ไรน์ไม่ดีอยู่ดี จะดีก็ต่อเมื่อตัดคาร์โบไฮเดรตแล้วให้ร่างกายสร้างมาเองและใช้เท่าที่ร่างกายมันต้องการดีกว่า ไม่ควรกินมันเข้าไปเลยสักนิด คีโตที่ยังกินน้ำมันพืชอยู่อันนี้ก็ไม่ดี คีโตที่ดีที่สุดคือ kcd หรือ keto carnivore diet ที่อนุญาตปรุงด้วยพืชที่มีคาร์ปเล็กน้อยได้ไม่เกิน20กรัม และไม่กินน้ำมันพืชทุกชนิด
@theerapojboontee1835
@theerapojboontee1835 Год назад
ยอดเยี่ยมจริงๆ ครับ วิดีโอชุดไขมัน
@malinamwicha8262
@malinamwicha8262 Год назад
You are very good experts 👌👌👌👍👍❤️
@user-xq4ts1zu9n
@user-xq4ts1zu9n Месяц назад
ใช่ครับ ผมเห็นด้วย100%❤❤❤
@kanoky7076
@kanoky7076 Год назад
ขอบคุณนะคะ สำหรับความรู้เรื่องTGที่ละเอียดได้ทราบทั้งข้อดีและข้อเสียและคำแนะนำเรื่องของยา วิตามินและอาหารเสริม และเพิ่งทราบว่าHDLก้มีข้อเสียอยู่ด้วยจากที่เคยเข้าใจว่ามีแต่ข้อดีเท่านั้น 🙏
@noorgulzar8824
@noorgulzar8824 Год назад
เป็นคลิปที่ทำให้เข้าใจในเรื่องไขมันและคลอเรสเตอรอลในมุมมองที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเข้าใจผิดหมดเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ
@winyou7654
@winyou7654 Год назад
วันนี้คุณหมอหล่อมากเลยค่ะ
@siriratkasisedapan2500
@siriratkasisedapan2500 Год назад
ในประเด็นที่เข้าใจยาก อยากให้หมอช่วยทำกราฟิกประกอบ จะช่วยได้มากๆเลย ขอบคุณนะคะ ข้อมูลมีประโยชน์มาก
@DrTany
@DrTany Год назад
อาจจะทำบางครั้งที่ว่างพอครับ
@xxsuperuserxx
@xxsuperuserxx Год назад
ขอบคุณครับอาจารย์ นึกทวน Krebs cycle ไปในตัว
@pc7165
@pc7165 12 дней назад
ความคิดส่วนตัว คิดว่า คนที่เป็น ทั้งเบาหวาน และไขมัน อาจไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการ หรือบางคนอาจรู้แต่ตามใจปาก เมื่อเป็นแล้วก็ต้องกินยาตามที่หมอสั่ง ในขณะเดียวกัน ต้องปฏิวัติการกินของตัวเองใหม่ทั้งหมด เช่นการทำ IF 18/6 ช่วง 6 เดือนแรกควรงดอาหารชนิดหวาน มัน เค็ม หยุดให้หมด อาหารที่คิดเน้นผัก ปลา ทำอย่างนี้ประมาณ 6 เดือน หมอก็น่าจะลดยาได้ และต่อไปในชีวิตก็ต้องก็ต้องเปลี่ยนวิธีการกิน แค่นี้ก็ตะปราศจากโรค เบาหวาน ไขมันสูงได้แล้วคะ
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Год назад
คลิปนี้เพียงข้ามคืนเดียว ยอดวิวคลิปเกือบ 13,000 ครั้งแล้วค่ะอาจารย์💐💐💐💐💐💐💐💐 ยอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะคำว่า _ไตรกลีเซอไรด์_ เป็นคำที่เราคุ้นเคย ได้ยินชื่อมานานแสนนาน ส่วนใหญ่ก็เกิดจากอาหารการกินที่เราบริโภคเข้าไปในแต่ละวันนี่เอง ถ้ามีกำลังดีย่อมเป็นประโยชน์กับร่างกาย แต่ถ้ามีมากเกินไปเป็นโทษแน่นอน ต้องมาปรับพฤติกรรมการบริโภคและจำเป็นต้องใช้ยาช่วย...
@NT-ff2dp
@NT-ff2dp Год назад
คุณหมอน่าจะอธิบายเรื่อง cholesterol and triglyceride ได้ดีที่สุดที่นริสาเคยฟังมาเลยค่ะ ปล. ชื่อเรื่อง attractive ทำให้สนใจเข้าไปฟังค่ะ
@phuangphensapbanyat2624
@phuangphensapbanyat2624 Год назад
สวัสดีอาจารย์หมอธานีที่เคารพค่ะ ขอบพระคุณทุกคำบรรยายความรู้อันยอดเยี่ยมค่ะ
@AvecBella
@AvecBella Год назад
Wowww. Very thorough ka Doctor Tany! New things I learned here include: 1) how ingested TGs get cleared easier and faster than the body’s generated TGs obtained from eating extra calories, especially Carbohydrates. 2) how hi [TGs] => hi [VLDL] floating around in the plasma at longer intervals… can cause trouble by gaining Cholesterol from HDL => increased [CHOL] in VLDL => therefore, leads to endothelial accumulation resulted in coronary heart disease. 3) how Chylomicron Remnant, VLDL, LDL can all cause CHD. Not just LDL. 4) how recent evidence suggests that an elevated TGs alone is also an independent risk factor for CHD. The attached research paper link actually went into much more greater details. I “tried” to read but 😵‍💫. Therefore, thank you so much for keeping up with the latest info, digesting the paper, and spreading the knowledge ka Doctor Tany! ♥️❤️♥️
@AvecBella
@AvecBella Год назад
Hmm okay. So I now need to get my act together regarding my LDL and TG. Mine is borderline on both currently 😑. I exercise less HERE after moving! Also my last lab taken, they no longer asked for it to be fasting values. Are the result values differ much from fasting, Doctor Tany?
@DrTany
@DrTany Год назад
Well, I try to simplify things for people to understand but the actual science behind it is a lot more complicated than that
@PrasertChee
@PrasertChee Год назад
ผมคอเลสเตอร์รอล 321,ไตรกลีเซอไรด์ 619 ตั้งแต่อายุ 37 แล้วทิ้งระยะ ไม่ได้ตรวจเลือดและไม่ได้กินยาอะไรด้วย จนอายุ 44 น้ำหนักขึ้นไปถึง 75กก. (ผมสูง 169ซม.) รู้สึกมึนหัวบ่อย พอตรวจความดันก็เจอว่าสูงเล็กน้อย เลยไปตรวจเลือด ตอนนั้นค่าตับและน้ำดี เกินมาตรฐานหมดเลยครับ ส่วนไขมันก็ C278/T571 LDL ตรวจไม่ได้แล้วน่าจะเกินไปมาก HDL 35 กรดยูริกก็เกิน เลยตัดสินใจทำ IF 1 ปี เพราะเจอสัมภาษณ์คนๆ นึงบอกทำ IF แล้วไขมันพอกตับหาย และส่วนตัวผมยังไม่คิดจะหาหมอก่อน เพราะไม่อยากกินยาคิดว่าเรายังควบคุมการกินและออกกำลังกายก่อนได้ ผ่านไป 1 ปี ตรวจเลือดอีกครั้งค่าตับและน้ำดีลงมาปกติ ไขมันก็ลดลงมาเล็กน้อย แต่ก็ยังยังสูง C248/T500 HDL 40 ยูริกปกติ แต่ก็ยังไม่หาหมอนะครับ แล้วก็ไม่ได้ตรวจเลือดมา 2ปีแล้ว ฟังเรื่องกินยาลดไขมันของหมอตั้งแต่รอบก่อน เลยคิดว่า ปีนี้จะไปตรวจเลือดและเอาผลไปหาหมอ กินยาดูครับ อ่อ ผมยังทำ IF มาตลอด รักษาน้ำหนักอยู่ในระดับ 66-67 กก.มา 3 ปีแล้วครับ อ่อ ค่าน้ำตาลผมก็ยังปกติมาตลอดครับ ขอบคุณคุณหมอมากครับ ได้ความรู้มากๆ
@DrTany
@DrTany Год назад
ถ้า TG สูงขนาดนั้นส่วนมากเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมครับ IF อย่างเดียวไม่ลงครับ ควรลดอาหารพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันลง เพิ่มโปรตีนกับฟักเข้าไปแทนครับ และถ้าไม่ลงจริงๆน่าจะต้องใช้ยาครับ ทิ้งไว้นานๆเสี่ยงตับอ่อนอักเสบครับ
@user-zk1pm4bb7o
@user-zk1pm4bb7o Год назад
กินอาหารดีมีประโยชน์พอดีกับร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เลิกกินอาหารเสริม รู้ได้เลยว่าสบายกายสบายใจไม่กังวล ตรวจสุขภาพแล้วหมอบอกปีหน้าค่อยเจอกัน สุดยอดจริงๆ😀😍🤟❤️❤️❤️
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin Год назад
สวัสดีค่ะ คุณหมอ
@pisalpollok9815
@pisalpollok9815 Год назад
เราต้องทานผัก ผลไม้ ให้มากขึ้นครับ ถ้าปลูกได้ เองแบบ ออแกนิกส์ จะสุดยอดมาก
@ALL86898
@ALL86898 Год назад
สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอแทน🙏😊วันนี้มาคุยเรื่องTriglycerideต่อต้องฟังสองรอบเพราะคุณหมอบอกหลายอย่างและเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือด หัวใจเราจึงจำเป็นต้องทราบไว้ มาให้ประโยชน์แก่เราการมีไตรกีเซอรลายสูงจะมีLDLสูงไปด้วย คอลเลสเตอร์กับไขมันไม่เกี่ยวข้องกับความอ้วน ผอม เดี๋ยวฟังต่อขอบคุณค่ะ🙏👍❤
@oonphant3777
@oonphant3777 Год назад
ฟังคลิปคุณหมอคอเลสเตอรอล ldl และมาฟังคลิปไตรกลีเซอไรด์...ฟังหลายรอบเลยค่ะคุณหมอ..😀😁 และคงต้องฟังเพิ่มอีกหลายรอบ เพื่อความกระจ่าง ยิ่งขึ้น เพิ่งตรวจเลือด ไตรกลีเซอไรด์ 77 hdl 103 ldl 203 พยายามจะลด ldl ไม่เคยลดได้เลยค่ะคุณหมอ (ไม่ได้รับประทานยาอะไรสักอย่างค่ะ) และทุกครั้งที่ฟังคลิปคุณหมอก็จะชอบอ่านคอมเม้นใต้คลิป ที่คุณหมอได้กรุณามาตอบคำถามบางคำถาม ซึ่งได้ความรู้หลากหลายเพิ่มขึ้นมาอีก กราบขอบพระคุณคุณหมอมากๆ ที่ได้กรุณาเสียสละเวลามาให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้คนได้อีกมากมาย 🙏🙏🙏
@DrTany
@DrTany Год назад
ถ้าพยายามแล้ว LDL ยังสูงแบบนั้นก็ควรทานยาแล้วครับ
@oonphant3777
@oonphant3777 Год назад
@@DrTany 🙏🙏🙏..กราบขอบพระคุณคุณหมอค่ะ...
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 Год назад
สวัสดีคะคุณหมอ
@banphe3476
@banphe3476 Год назад
อจเปลี่ยนทรงผมดูดีมากมาก
@saranphon9647
@saranphon9647 Год назад
ขอบคุณ คุณหมอมากคะ ที่มาให้ข้อมูลดีๆ คุณหมอมาหลายคลิปแล้วค่ะ อยากถามว่ากินน้ำมันปลา 1 วันต้องกินปริมาณเท่าไหร่คะ ขอบคุณคะ
@DrTany
@DrTany Год назад
ขึ้นกับเหตุผลที่กินครับ ถ้ากินเพื่อลดไตรกลีเซอไรด์ ก็ต้องวันละ 4 กรัมครับ
@user-ux2zt7ux6j
@user-ux2zt7ux6j Год назад
สวัสดีคะ🙏🙏 อาจารย์หมอแทนแต่ละคลิปที่เกี่ยวกับการแพทย์ อาจารย์หมอแทนอธิบายได้เข้าใจง่ายและถูกต้องเสมอ ดีใจกับFCของอาจารย์หมอแทนคะที่ได้รับสิ่งดีๆๆและข้อมูลที่ถูกต้อง ขอให้อาจารย์หมอแทนและครอบครัวพร้อมน้องโรซี่มีความสุขสุขภาพแข็งแรงคะ💖💓❤
@user-ow4kj9kk6i
@user-ow4kj9kk6i Год назад
ผมอายุ43 ตรวจได้800+ กินยามา3ปีแล้ว ตอนนี้ค่าอยู่ที่180 แต่ออกกำลังกายประจำ
@user-qs1eq9xe9b
@user-qs1eq9xe9b Год назад
หนูมีไตรกีสไล แต่คุณหมอไม่ได้ให้กินยา แล้วหนูเป็นโรคหลอดเลือด หัวใจ แล้วหนูตรวจคลื่นไฟฟ้าไม่เจอ ทั้งที่อาการหนักคะ จนต้องไปพึ่งแพทย์ทางเลือก และแผนไทย คุณหมอให้ยา พื้นฟูตับ ให้ตับแข็งอ่อนตัวลง หนูพึ่งรู้ว่าคนเป็นโรคหัวใจ ต้องรักษาตับด้วยค่ะ
@DrTany
@DrTany Год назад
ไม่ได้จำเป็นเลยครับ อันนั้นมันไม่ถูกเหตุผลครับ
@Euang-Mali
@Euang-Mali Год назад
😊🌼🍃 สวัสดียามเย็นค่ะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับหัวข้อที่น่าสนใจ "ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ไม่ใช่ไม่ดี" ไตรกลีเซอไรด์ มีความสำคัญอย่างหนึ่งคือมันเป็นที่เก็บพลังงานให้กับร่างกาย คนเราเวลา ทานอาหารก็จะเป็นที่มาของไตรกลีเซอไรด์ได้ คือมันมาจากอาหาร อีกส่วนหนึ่งคือมาจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมา ด้วยการที่ถ้าทาน คาร์โบไฮเดรตมากจนเกินไป แล้วมันมีเหลือใช้ ร่างกายที่ตับมันก็จะสามารถสังเคราะห์ตัว คาร์โบไฮเดรตเพิ่มกลายเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้ มันสังเคราะห์ออกมาในรูปของ VLDL ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@napapornrosiri9314
@napapornrosiri9314 Год назад
Clips 2 วันนี้ดีมากค่ะ 👍🙏 ท่านที่ฟัง clip เดียวควร ย้อนไปฟัง 8/4/22 ด้วย thanks so much 🙏🙏🙏
@wonsilapattawee8134
@wonsilapattawee8134 11 месяцев назад
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ เช้านี้เปิดมาก็เห็นคลิปนี้เลยฟังอีกครั้ง เมื่อคืนฟังอาจารย์จนห้าทุ่มกว่าหลับไปเมื่อใหร่ไม่รู้ตื่นมาตีห้าแล้ว ฟังอาจารย์ตอบคำถามแฟนๆก็เพลินได้แง่มุมบางอย่างด้วยขอบคุณข้อคิดดีๆ และขออภัยที่หลับไปก่อนค่ะ
@kalyamonosathanond
@kalyamonosathanond Год назад
โอ้โห อธิบายเคลียร์กว่าคุณหมอโรคหัวใจเยอะเลยค่ะ 🙏🏻
@ALL86898
@ALL86898 Год назад
สวัสดีค่ะ ไตรกีเซอร์ลายไม่ใช้ผู้ร้าย เป็นไขมันชนิดหนึ่ง มีสองส่วน ไตรกีเซอร์ลายประกอบด้วยสามส่วน แบบสั้น แบบกลาง แบบตัวยาว ไตรกีเซอร์ลาย เกิดได้จาก1 คือจากอาหารที่ทานกับ2จากการสังเคราะห์ของร่างกาย เองและ ไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกายเช่นที่หน้าท้อง ก้น หน้าอก ไขมันตามส่วนต่างๆเช่นที่💥ไขมันใต้ผิวหนังจะมีหน้าที่เป็นฉนวนปกป้องเรื่องการสูญเสียอุณหภูมิส่วนที่💥ไขมันหน้าท้องจะเป็นผนังป้องกันการกระแทกของร่างกายป้องกันอวัยวะภายในช่องท้อง 💥และเก็บพลังแก่ร่างกาย เช่นหัวใจต้องใช้พลังงานจากไขมันมากในการเต้นอยู่ตลอดเวลา คนที่มีไขมันมากๆและอ้วนนั้นตกน้ำจะไม่ค่อยเสียชีวิตแต่คนที่มีไขมันน้อยกลับเสียชีวิตมากกว่า แหล่งพลังงานของห้วใจคือไขมัน จะใช้แบบตัวยาว บางคนบอกไตรกีเซอร์ลายไม่ดี นั้นที่จริงไม่ใช่ ร่างกายได้ไตรกีเซอร์จากการสร้างจากตับ และการกินอาหาร ตับสร้างไตรกีเซอรลาย คอลเลสเตอร์รอล...การทานยารักษาไขมันในเส้นเลือดคอลเลสเตอร์รอลนั้นกินยาในกลุ่มสแตนตินดีมากกับหลอดเลือดหัวใจมีงานวิจัยมากเลย🙏
@iamok905
@iamok905 Год назад
แวะฟัง ความรู้ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์. HDL ,LDL งงเล็กน้อย..ต้องฟังวนแระ🤗🙏🙏ขอบคุณค่า👨‍⚕️🩺🔆🔆HND ka💐💐💐💐💐💐
@maneeann
@maneeann Год назад
วนไปเลยค่าาา อิ อิ ฝนตกล่ะ
@iamok905
@iamok905 Год назад
@@maneeann ใกล้ เลิกงานยางง🧡🧡⛈️⛈️🚐⛈️⛈️
@maneeann
@maneeann Год назад
@@iamok905 ถึงบ้านแล้วค่าาา ฝนตกแบบเฉอะแฉะค่ะ จะฟังคลิปคุณหมอย้อนไปสัก 2-3 วันเลย เหนื่อยจัง! อยากให้คุณหมอร้องเพลงให้ฟัง อิ อิ 😝
@iamok905
@iamok905 Год назад
@@maneeann ให้🩺👨‍⚕️ทำอย่างอื่นเหอะ..ทำท่าฉลาม.งับ ในtt หน่อยคร้าา🦈🦈
@maneeann
@maneeann Год назад
@@iamok905 เพี้ยง ขอให้คุณหมออ่านตรงนี้ด้วยเถิด 😍
@vasunun
@vasunun Год назад
อ.หมอคะ คน ที่ระบบหัวใจเต้นไม่ปกติเป็น PVC จะหายเองได้หรือไม่คะ เคยทานยาไปปีกว่าไม่หาย จึงเลิกทานค่ะ มีบางคนเค้าบอกว่าเคยเป็นแต่เดี๋ยวนี้เขาหายแล้วค่ะ อ.มีวิธีะไรดีๆช่วยบอกด้วยนะคะขอบพระคุณมากค่ะ อดิตเคยเครียดแล้วนอนไม่พอ แต่เดี๋ยวนี้จิตใจสบายดีมากค่ะ ไม่มีโรคประจำตัวอื่นใดอีกค่ะ ร่างกายไม่อ้วน ไม่ผอมค่ะ นำ้หนักไม่ถึง50ก.ก.ค่ะ อ.คงมีคำตอบสำหนับดิฉันได้ค่ะ ขอบพระคุณอ. มากค่ะ
@DrTany
@DrTany Год назад
มันเป็นได้ถ้ามีอะไรไปกระตุ้น บางคนแก้ไขสิ่งที่กระตุ้นก็หายได้ แต่บางคนก็ไม่หายแล้วก็ต้องทานยาคุมอาการไปตลอด รายละเอียดตามนี้ครับ ru-vid.com/video/%D0%B2%D0%B8%D0%B4%D0%B5%D0%BE-g2q-jBdBHUk.html
@vasunun
@vasunun Год назад
ขอบพระคุณอ.หมอมากๆค่ะ
@nalineedeedee662
@nalineedeedee662 Год назад
ขอบคุณ คุณหมอที่ทำคลิปให้ความรู้เรื่องสุขภาพ กำลังหาข้อมูลและศึกษาอยู่ค่ะ ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบมา2ครั้งแล้ว คือตีบ4เส้นเลยค่ะ ใส่ขดลวดขยายไว้ ตอนนี้ก็ไม่เครียดค่ะแค่ดูแลตัวเองตามหมอสั่งค่ะ
@DrTany
@DrTany Год назад
รักษาตัวด้วยครับ
@nalineedeedee662
@nalineedeedee662 Год назад
@@DrTany ขอบพระคุณค่ะ 🥰
Далее
Who has won ?? 😀 #shortvideo #lizzyisaeva
00:24
Просмотров 25 млн
Cat Plays with Window Washer
00:22
Просмотров 1,5 млн
Who has won ?? 😀 #shortvideo #lizzyisaeva
00:24
Просмотров 25 млн